2009-05-31

ลักษณะอานของ ไทยหลังอาน

ลักษณะของอาน

อานของสุนัขเกิดจาก 2 ลักษณะ คือ เกิดจากขนที่ย้อนกลับไม่มีขวัญ และเกิดจากขวัญ ขวัญจะวนเป็นรูปก้นหอย จากไหล่ทั้ง 2 ข้าง แล้วจึงมาบรรจบกันที่หัวไหล่เป็นดวงกลมใหญ่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-5 ซม. จากนั้นจึงเรียวลงไปตามแนวกระดูกสันหลัง จรดไหล่ของขาคู่หลังหรือโคนหางเช่นเดียวกับอานม้า หลังอานมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แสดงว่าสุนัขไทยหลังอานมีอยู่ทั่วไป และน่าจะมีมาก่อนสมัยพระเจ้าทรงธรรมด้วยซ้ำ ซึ่งได้มีชื่อเรียกในสมัยก่อนว่า สุนัขใส่หลังอาน หรือสุนัขหลังมีอาน ต่อมาในปัจจุบัน เรียกว่า สุนัขหลังอาน หรือเรียกกันง่าย ๆ ว่า หมาหลังอาน โดยทั่วไปขนของอานจะมีสีเดียวกับขนของสุนัข และจะมีขวัญตั้งแต่ 2-5 ขวัญ สำหรับอานของสุนัขหลังอานนี้อานจะเล็กหรือใหญ่ ขึ้นอยู่กับชนิดของอานที่ใช้เรียกชื่อกัน ซึ่งแบ่งชนิดของอานได้ดังต่อไปนี้

1.อานเข็ม อานนี้ไม่มีขวัญ เป็นอานธรรมดาทั่วไป เกิดจากขนที่ย้อนกลับไปทางหัวเท่านั้น โดยขนนั้นจะยกตัวเป็นแผ่นเล็กมีขนาด 2-3 ซม. ที่สันหลัง แผ่นอานนี้จะเริ่มที่หัวไหล่ขาหน้า เรียบเล็กไปจรดโคนหาง

2.อานแผ่นหรืออานม้า เป็นอานธรรมดาทั่วไปและไม่มีขวัญเช่นกัน ลักษณะเช่นเดียวกับอานเข็ม คือขนที่หลังจะยกตัวขึ้นเป็นแผ่นขนาด 4-5 ซม. เต็มแผ่นหลังเหมือนอานม้าสุนัขที่มีอานเต็มแผ่นหลังนี้โดยมากอานจะมีขนาดใหญ่และหาได้ยาก เป็นที่นิยมเลี้ยง

3.อานเทพพนมหรืออานพรม อานชนิดนี้ไม่มีขวัญหรือไม่ได้เกิดจากขวัญ และขนบนหลังจะไม่ชี้ย้อนหลังไปทางหัว เพียงแต่ขนจะยกตัวขึ้นมาประสานกันเป็นแนวบนสันหลัง เหมือนกับการพนมมือไหว้พระ มักพบในสุนัขที่มีหลังอานที่มีขนยาว และเป็นลักษณะที่นิยม

4.อานธนูหรืออานลูกศร เกิดจากขวัญบริเวณหัวไหล่ของขาคู่หน้า ขดเป็นวงก้นหอย2 ขวัญบริเวณหัวไหล่ของขาคู่หน้า ขดเป็นวงก้นหอย 2 วง มาบรรจบกันที่สันหลัง แล้วเรียวเล็กปลายแหลมไปจดโคนหางหรือบั้นท้าย และยกเป็นแนวสันหลังสูงเห็นได้ชัดเจน อานเช่นนี้พบได้ในสุนัขหลังอานทั่วไปบางตำราถือว่าเป็นลักษณะแท้จริง ของสุนัขไทยหลังอาน และมักนิยมเลี้ยงไว้ผสมพันธุ์เอาลูก เพราะถึงแม้จะมีอานเล็ก แต่เวลาให้ลูกมักจะได้ลูกอานใหญ่ หรืออาน 4 ขวัญ ซึ่งเป็นอานพิณหรืออานใบโพธิ์

5.อานพิณ เกิดขวัญตั้งแต่ 3-4 ขวัญ โดยที่ตำแหน่งของขวัญจะอยู่ตรงหัวไหล่ของขาคู่หน้า 1-2 ขวัญมาบรรจบกัน แล้วเรียวไปถึงบริเวณหลัง ซึ่งบริเวณกลางหลงนี้ก็มักจะมีขัยอีก 2 ขวัญ แต่อยู่คนละฝั่งของสันหลังมาบรรจบกันป็นแผ่นกว้างที่กึ่งกลางหลังทำ ให้กลางสันหลังเป็นขนที่ชี้ย้อนกลังเป็นแผ่นใหญ่เต็มแผ่นหลัง จากนั้นก็จะเรียวเล็กปลายแหลมไปจดโคนหางมองแล้วดูเหมือนรูปพิณ

6.อานใบโพธิ์ ประกอบด้วยขวัญอย่างน้อยจำนวน 4-6 ขวัญเรียงเป็นระเบียบเหมือนกับอานพิณ แต่จะต่างกันตงที่ตำแหน่งของขวัญและบริเวณกึ่งกลางหลังเป็นแผ่นกว้างเต็มหลังจากกึ่งกลางสันหลัง และส่วนที่เรียวเล็กปลายแหลมนั้นถ้าเป็นอานพิณส่วนนี้จะเรียวยาวไปจดหางแต่อาน โพธิ์ส่วนนี้จะสั้นและยาวไม่ถึงโคนหาง มองดูแล้วมีลักษณะคล้ายใบโพธิ์อานแบบนี้หาได้ยาก ไม่ค่อยพบได้บ่อยนัก

7.อานไวโอลิน อานชนิดนี้เกิดจากขวัญจำนวนมากที่อยู่ห่างกันเป็นคู่ ๆ โดยคู่แรกจะอยู่ที่หัวไหล่ของขาคู่หน้า คู่ที่สองอาจเป็นขวัญคู่หรือขวัญเดี่ยว จะอยู่ห่างจากขวัญแรก ค่อนไปทางหางมากบ้างน้อยบ้างไม่แน่นอนตายตัวโดยจะยู่คนละข้างของแนวสันหลัง ตำแหน่งจะตรงกันหรือเกือบตรงกันจากนั้นจะเล็กเรียวไปจรดโคนหาง มีรูปร่างคล้ายไวโอลิน ที่นิยมมากคือชนิด 4 ขวัญ และขวัญอยู่ในตำแหน่งที่สมดุลเหมาะสม ดูแล้วสวยงาม จะหาดูได้ยาก ยิ่งถ้ามี5-6 ขวัญแบบนี้หาได้ยาก นาน ๆ จึงจะได้เห็นสักที

8.อานโบว์ลิ่ง อานชนิดนี้เกิดจากขวัญ 4-5 ขวัญ ที่บริเวณหัวไหล่หน้าอาจมีเพียง 1 ขวัญหรือไม่มีก็ได้ บริเวณสันหลังอาจมี 2 ขวัญ อยู่ตรงข้ามกันไม่ห่างมากนัก ส่วนที่หัวไหล่โคนขาจะมีอีกหนึ่งคู่ อยู่ตรงข้ามเช่นกัน แต่กว้างกว่าขวัญคู่แรก หรือขวัญบริเวณตอนกลางหลัง ลักษณะขวัญเช่นนี้มอดูแล้วจะมีลักษณะคล้ายรูปโบว์ลิ่ง

9.อานหูกระต่าย อานนี้มีลักษณะเป็นรูปวงรี อยู่บริเวณกลางหลัง ทางส่วนด้านบนตรงหัวไหล่ของขาคู่หน้าจะเป็นอานรูปหูกระต่าย 2 หู แยกออกจากกันดูคล้ายกับตัวกระต่ายนั่งหันหลัง อานแบบนี้หาดูได้ยากอีกแบบหนึ่ง

No comments:

Post a Comment