2009-06-09

ลักษณะขนและสี

สีของคอลลี่จะมีอยู่ด้วยกันหลักๆ 4 สีด้วยกัน ได้แก่ Sable and White, Tri Color, Blue Merle และ White แต่ตามมาตรฐาน FCI ที่ประเทศไทยใช้อยู่ ไม่ได้จัด White ไว้ในมาตรฐาน (ต่างกับมาตรฐาน AKC ของอเมริกาที่จัดให้มาตรฐานมีทั้ง 4 สีด้วยกัน)

Sable and White(สีน้ำตาล และขาว)

โดยสีน้ำตาลนั้นอาจจะเป็นสีน้ำตาลอ่อน หรือน้ำตาลแก่ก็ได้ แต่ต้องไม่ใช่สีครีม สามารถแบ่งย่อยๆได้ตามเฉดสีและยีนส์แฝงได้แก่Pure for Sable เป็นสีน้ำตาลแท้ๆที่ไม่มียีนส์สีอื่นมาปน พวกนี้มักจะมีสีที่ตัวที่อ่อน หรือเป็นสีส้มแดง อาจจะมีหรือไม่มีหน้ากากเฉดสีที่เข้มกว่าที่หน้า
  • Trifactored Sable เป็นสีน้ำตาลที่มียีนส์ของสี tri อยู่ในตัว พวกนี้จะมีสีน้ำตาลเข้มกว่า pure sable อาจจะเป็นน้ำตาลเข้มไปจนถึงเป็นสีมะฮอกกานี โดยมีหน้ากากสีน้ำตาลเข้มบนใบหน้า
  • Sable Merle เป็นสีน้ำตาลที่มียีนส์ merle แฝงอยู่ (ส่วนใหญ่เพราะมีพ่อแม่ หรือบรรพบุรุษเป็น Blue Merle แต่ว่า sable merle ไม่ได้เห็นชัดเจนหรือจำแนกง่ายๆว่าใช่หรือไม่ใช่ sable merle ส่วนใหญ่เราเพียงแค่บอกว่าเป็น sable and white เท่านั้น แต่มีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนบางอย่างที่บ่อยครั้งจะพบกับ sable merle คือมีตาสีฟ้า ซึ่งอาจจะฟ้าทั้งตา หรือว่าเป็นเพียงบางส่วนในตาก็ได้ คอลลี่สี sable ที่มีตาฟ้านั้นถือว่าผิดมาตรฐาน ไม่สามารถประกวดได้ sable merle มักจะมีลาย merle เป็นจุดเป็นดวงตามหัว, หู หรือตัว


Tri color (ดำ น้ำตาล ขาว)

สีที่หัวและที่ตัวจะต้องเป็นสีดำ โดยมีสีขาวตามมาตรฐานคือ ที่อก เท้าทั้ง 4 และปลายหาง โดยจะต้องมีสีน้ำตาลที่ข้างปากทอดมาตลอดแนว จนไปถึงข้างแก้ม และมีจุดสีน้ำตาลที่คิ้ว ส่วนที่ขาอาจจะมีสีน้ำตาล หรือไม่มีก็ได้









Blue Merle

สำหรับใน blue merle จะมีมาร์กกิ้งสีน้ำตาลเหมือนกับในสี tri แต่ในส่วนที่สี tri เป็นสีดำนั้นใน blue merle จะเป็นสีเทา โดยในสีเทานั้นจะมี merle สีดำแซม เป็นหย่อมๆ










White (สีขาว) (ไม่อยู่ใน FCI Standard)

สำหรับคอลลี่สีขาวจริงๆ ก็คือมีสีขาวเป็นส่วนใหญ่ แต่ที่หัวจะเป็นสี sable หรือ tri หรือ blue ก็ได้ ส่วนที่ตัวเป็นสีขาว จะเป็นขาวล้วนๆ หรือมีสีสีเดียวกับที่หัวเป็นจุด หรือเป็นวง วงเดียว หรือหลายๆวงก็ได้









ลักษณะนิสัยสุนัข คอลลี่

คอลลี่เป็นสุนัขขนาดกลาง – ขนาดใหญ่ มีทั้งคอลลี่ขนสั้น และขนยาว แรกเริ่มเดิมทีมีไว้ใช้งานในปศุสัตว์ แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาสายพันธุ์และนิสัยใจคอให้เหมาะสมกับการประกวด และการเลี้ยงเล่น แต่ก็ยังคงมีนิสัยการไล่ต้อนสัตว์แฝงอยู่ลึกๆ

คอลลี่เป็นสุนัขที่เหมาะสมกับครอบครัวอย่างแท้จริง เพราะสุนัขในกลุ่มคอลลี่ (บอร์เดอร์ คอลลี่, คอลลี่, เช็ทแลนด์ ชีพด็อก) มีความฉลาดและไอคิวเป็นยอด สามารถจดจำคำสั่งต่างๆ มากมาย มีความซื่อสัตย์ ไม่ดุ ไม่ก้าวร้าว สุภาพ เข้าได้ดีกับเด็กๆ และคนชรา สามารถเป็นเพื่อนเล่นที่กระปรี้กระเปร่านอกบ้าน (วิ่งออกกำลังกายด้วยกัน โยนบอล จานร่อน หรืออื่นๆ) หรือเป็นสุนัขที่เรียบร้อยเวลาอยู่ในบ้าน คุณสามารถฝึกสอนการขึ้นรถตั้งแต่ยังเด็ก แล้วจะพบว่าการมีคอลลี่ขนยาวๆ นั่งรถไปไหนมาไหนด้วยนั้นมันช่างมีความสุขจริงๆ

คอลลี่สามารถเฝ้าบ้านได้โดยอาศัยได้แค่เสียงเห่า คอลลี่จะเห่าคนแปลกหน้าที่เดินผ่านไปมาหน้าบ้าน แต่ไม่สามารถปกป้องทรัพย์สินหรือกัดโจรขโมย บางครั้งคอลลี่จะเห่าแมวของเพื่อนบ้าน วิ่งไล่มอเตอร์ไซด์ วิ่งไล่สัตว์เล็กๆ ทั้งนี้จะเป็นมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับแต่ละตัวรวมทั้งการฝึกสอนด้วย คอลลี่ตอนเด็กๆ มักจะซนมาก แต่คุณจะเห็นพัฒนาการทางด้านจิตใจและอารมณ์ที่ดีขึ้น รวมทั้งความสงบเรียบร้อยมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่ออายุมากขึ้น อย่าเพิ่งปลงหรือเหนื่อยใจกับการซนของเค้า เพราะวัยหนึ่งความซนเหล่านี้ก็หายไป คุณควรให้เวลากับเค้ามากๆ

ลักษณะของสุนัข คอลลี่

หมายเหตุ : เมื่อสมัยก่อนประเทศไทยได้ใช้มาตรฐานตามในอเมริกาคือ AKC แต่ในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลง โดยใช้มาตรฐาน ตาม FCI ทำให้มีนอกจากจะมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของการแบ่งกรุ๊ปแล้ว ยังจะมีการเปลี่ยนแปลงในมาตรฐานบางอย่างของคอลลี่ ได้แก่ ขนาดที่เล็กลงกว่า AKC และสีที่น้อยกว่า โดยจะได้กล่าวถึงในรายละเอียดต่อไปในหัวข้อนั้นๆ

คอลลี่จะมีอยู่ 2 ชนิดคือ Rough Collie (คอลลี่ขนหยาบ หรือที่เราเรียกกันว่าคอลลี่ขนยาว) และ Smooth Collie (คอลลี่ขนเรียบ หรือที่เราเรียกกันว่าคอลลี่ขนสั้น) คอลลี่ทั้งสองมีมาตรฐานที่เหมือนกันทุกๆ อย่าง จะต่างกันเพียงเรื่องเดียว คือ เรื่องขน กล่าวคือ smooth collie จะมีขนที่สั้น แข็ง เต็มไปด้วยขนชั้นใน แต่ว่าเรียบไปกับลำตัว หางไม่ฟู


ลักษณะโดยรวม Rough Collie

คอลลี่แข็งแรง ตื่นตัว กระปรี้กระเปร่า ความกว้างและลึกของอกที่พอสมควรจะแสดงให้เห็นถึงกำลัง ส่วนความลาดเอียงของไหล่และมุมที่พอดีของขาหลัง จะแสดงถึงความเร็วและความสง่างาม ส่วนใบหน้าจะแสดงออกถึงความฉลาด

ขนและสี: โดยทั่วไปขนของคอลลี่จะฟูและหยาบ ยกเว้น บริเวณหัว และขา คอลลี่มีขน 2 ชั้น ขนชั้นนอกจะตรงและสากเวลาสัมผัส ขนที่อ่อนนุ่มหรือหยิกเป็นลอนๆถือเป็นข้อด้อย ส่วยขนชั้นในจะอ่อนนุ่มคล้ายสำลี แน่น และเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ขนโดยรวมดูหนา ฟู โดยเฉพาะแผงคอและระบายตรงก้นจะหนาและฟูเป็นพิเศษ ขนที่ใบหน้าจะเรียบเช่นเดียวกับขนที่หน้าขาทั้ง 4 ข้าง แต่ด้านหลังของขาหน้าจะมีขนเป็นระบายๆออกไป ขนหางยาวจะพองฟู ขนตรงสะโพกจะยาวและแน่น คอลลี่ที่ไม่มีขนชั้นในถือว่าผิดมาตรฐาน

สีตามมาตรฐาน FCI จะมีอยู่ 3 สี ได้แก่ Sable and White, Tricolour และ Blue Merle โดยทั้ง 3 สี จะต้องมีมาร์กกิ้งสีขาวตามส่วนต่างๆต่อไปนี้ ได้แก่ ที่อก ที่คออาจจะขาวรอบคอหรือไม่รอบคอก็ได้ เท้าทั้ง 4 ข้าง และปลายหาง บางครั้งอาจจะมีสีขาวที่ดั้งจมูก หรือที่หัว(ดูรูปได้ที่หน้าขนและสี)

แต่สีตามมาตรฐาน AKC มีอยู่ 4 สี คือ Sable and White, Tricolour , Blue Merle และ White
  • พวกที่มีสี Sable and White นั้นต้องมีสี sable เป็นพื้น แล้วมีสีขาวแซมบริเวณอก คอ ขา เท้าและปลายหาง บางตัวอาจมีแถบสีขาวพาดอยู่กลางหน้าไล่จากกะโหลก ผ่านระหว่างตามาจรดจมูก
  • พวกที่มีสี Tri-color คือมีสีพื้นเป็นสีดำ แซมสีขาวบริเวณอก คอ ขา เท้าและปลายหาง มีเฉดสีดำบนหัวและขา
  • พวกที่มีสี Blur Merle คือมีสีพื้นเป็นสีน้ำเงิน-เทา และ ดำ แซมสีขาวบริเวณอก คอ ขา เท้าและปลายหาง ปกติมีเฉดสีแทนบนหัวและขาเหมือนพวก Tri-color
  • พวกที่มีสีขาว คือมีสีพื้นเป็นสีขาว แซมด้วยสี Sable หรือ Tri-color หรือ Blur Merle ก็ได้
หัว: หัวจะต้องมีขนาดที่เหมาะสมกับตัว หัวที่เทอะทะจะทำให้ดูไม่คล่องแคล่ว สดใส ด้านข้างของใบหน้าจากหูจะต้องคล่อยๆ เรียวเล็กลงไปจนถึงจมูกโดยไม่มีแก้มป่องออกมา และ2 ข้างต้องสมมาตรกัน จมูกสีดำ หัวกะโหลกแบน และเส้นสันจมูกจะต้องเป็นเส้นตรงเมื่อมองจากด้านข้าง ไม่แอ่น ไม่งุ้ม ไม่โค้ง ความยาวของ 2 ส่วนนี้จะต้องเท่ากันโดยแบ่งออกจากกันโดย stop (จุด stop ที่ถูกต้องจะต้องอยู่ที่จุดกึ่งกลางของมุมตาด้านใน) stop ในคอลลี่จะบางมากๆ แต่ก็ยังมองเห็น ต่างกันกับ stop ในพันธุ์เช็ทแลนด์ที่เห็นชัดเสมือนขั้นบันได สันจมูกคอลลี่จะต้องยาวตรงแต่ไม่เห็นเป็นเหลี่ยม ความลึกของกะโหลกจะต้องพอดี ไม่มากจนเกินไป ฟันควรจะแข็งแรง และสบกันแบบกรรไกร คือด้านหน้าของฟันล่างจะสัมผัสกับด้านในของฟันบน ขนาดฟันพอเหมาะ ช่องว่างระหว่างฟันเล็กน้อยไม่ถือเป็นเรื่องจริงจังนัก คิ้วจะนูนออกมาพียงเล็กน้อย หัวกระโหลกแบน และท้ายทอยไม่สูงเกินไป ความกว้างของกระโหลกจะต้องน้อยกว่าความลึก

ตา: ตาเป็นรูปแอลมอนต์ขนาดกลาง และควรจะอยู่ลึกลงไปในกระโหลก ไม่นูนออกมา ตาสีเข้ม ไม่ควรมีสีเหลือง ตาจะต้องดูดีสุขภาพดี แสดงออกถึงความฉลาด กระตือรือร้น ในสี Blue merle ควรจะมีตาสีน้ำตาลเข้ม แต่บางครั้งก็อาจจะมีสีฟ้าในบางส่วนของตา ข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งหมด

หู: หูควรมีขนาดเล็กและไม่ชิดกันจนเกินไป หูจะต้องตั้งขึ้นและปลายตกลงมา 1/4 ของหู สำหรับตัวที่หูตั้งหรือว่าหูตูบถือเป็นข้อด้อย ปกติหูลู่ไปทางด้านหลังได้ แต่ว่าตื่นตัวหูจะต้องหันมาทางด้านหน้า

คอ: คอแข็งแรง มีกล้ามเนื้อ ล่ำ มีแผงคอที่หนา คอยาวพอสมควร คอที่ยาวจะแสดงถึงความสง่างาม คอสั้นจะดูเทอะทะ

ลำตัว: ลำตัวแข็งแรง แน่น เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ ความยาวของลำตัวจะสัมพันธ์กับความสูง ซี่โครงโค้งเหมาะสม ไหล่ลาดเอียงพอเหมาะ อกลึกถึงศอก หลังแข็งแรงได้ระดับ รองรับโดยสะโพกและต้นขาที่แข็งแรง

ขา: ขาหน้าเมื่อมองจากด้านหน้าจะต้องเป็นเส้นตรง ไม่คด หรือแอ่นเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ 2 ข้างห่างกันพอเหมาะ สำหรับขาที่แคบหรือกว้างเกินไปเป็นข้อด้อย ท่อนขาหน้ามีเนื้อมีหนังไม่แห้งลืบ ข้อเท้ายืดหยุ่นแต่แข็งแรง ท่อนขาหลังมีเนื้อน้อยกว่านิดนึง แต่แน่นไปด้วยกล้ามเนื้อ และเอ็น ขาหลังท่อนล่างและเข่าขาหลังโค้งทำมุมได้รูป เวลามองจากทางด้านหลัง ขาควรจะขนานกันห่างกันเท่ากับสะโพก ถ้าขาชิดเข้าแล้วบานออกตรงท่อนล่างเรียกว่า cow hock ถือว่าผิดมาตรฐาน สำหรับตัวที่เข่าตรงไม่มีมุมถือเป็นข้อด้อย เท้าควรเป็นรูปไข่ นิ้วโค้งได้รูปและนิ้วชิดติดกัน สำหรับเวลาที่สุนัขไม่ได้เคลื่อนไหว หรือยืนอยู่นิ่งๆ เท้าจะต้องชี้ตรงไปทางด้านหน้าเสมอทั้ง 4 เท้า

การเคลื่อนไหว: การเดินหรือวิ่งต้องนุ่นมนวล สง่างาม ไม่ติดขัด ดูกลมกลืน เวลาวิ่งเหยาะๆ ขาหน้าจะต้องสาดไปข้างหน้า ศอกไม่กาง ไม่วิ่งไขว้ไปมา ขาหลังเป็นตัวขับเคลื่อน เมื่อมองด้านข้าง ย่างก้าวยาวพอประมาณหลังตรงได้ระดับ เมื่อมองด้านหน้าขาหน้าและขาหลังควรเป็นแนวเดียวกันกับลำตัว

หาง: กระดูกหางควรยาวถึงข้อขาหลังหรือต่ำกว่า หางตรงถึงงอเล็กน้อย แต่ปลายต้องไม่ตวัดขึ้นมาคล้ายตะขอ เวลาปกติหางตก แต่ว่าเวลาวิ่งหางจะยกขึ้นแต่ไม่ควรสูงเกินระดับหลัง

ขนาด: การวัดความสูงจะวัดที่หัวไหล่

ตามมาตรฐาน FCI ตัวผู้สูง 22- 24 นิ้ว ( 56- 61 ซม. ) ส่วนตัวเมียสูง 20- 22 นิ้ว (51- 56 ซม. )

น้ำหนักตาม FCI ตัวผู้ หนัก 20.5- 29.5 กก. ตัวเมียหนัก 18- 25 กก.

แต่มาตรฐาน AKC ตัวผู้จะสูง 24-26 นิ้ว ส่วนตัวเมียสูง 22-24 นิ้ว

คอลลี่ขนสั้น ใช้มาตรฐานในการพิจารณาเหมือนกับคอลลี่ขนยาวทุกประการ ยกเว้นว่าต้องมีขนสั้น หนา เรียบ นุ่ม และมีขนชั้นในที่ยาว

ข้อบกพร่องร้ายแรง:
  • จมูกงุ้ม
  • หูตั้ง หรือหูตูบ
  • ไม่มีขนชั้นใน
  • สูงหรือเตี้ยกว่ามาตรฐาน

คอลลี่ (Collie)

จริง ๆ แล้วคอลลี่ไม่ได้มีแต่แบบขนยาวเท่านั้น แต่ยังมีคอลลี่ขนสั้นด้วย ขนที่ยาวจะให้สัมผัสที่หยาบกว่าขนสั้น จึงเรียกคอลลี่ขนยาวว่า rough-coated (ขนหยาบ) ส่วนคอลลี่ขนสั้นเรียกว่า smooth-coated (ขนเรียบลื่น) ในสมัยก่อนผู้คนคุ้นเคยและนิยมคอลลี่ขนยาว แต่ปัจจุบันมีคอลลี่ขนสั้นพันธุ์ดี ๆ มากมาย และได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

คอลลี่เป็นสุนัขพันธุ์เก่าแก่มีมานานแล้ว ในสมัยโบราณมนุษย์ใช้มันคุมฝูงแกะไปตลาด คอลลี่ขนสั้นนั้นได้ชื่อว่าเป็นสุดยอดแห่งสุนัขต้อนปศุสัตว์เลยทีเดียว มีการบันทึกมาตรฐานสายพันธุ์คอลลี่ทั้งสองชนิดไว้ด้วย แต่เมื่อประมาณ 200 ปีที่แล้ว เจ้าคอลลี่ทั้งสองชนิดต่างถูกตราว่าเป็นสุนัขใช้งานเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องมีการบันทึกมาตรฐานอะไรและไม่จำเป็นต้องมีเพดดีกรีด้วย ทั้งที่จริง ๆ แล้วพวกมันเป็นสุนัขสายพันธุ์ที่มีเอกลักษณ์และดีพอที่จะถูกบันทึกไว้ใน stud book (หนังสือรวบรวมสายพันธุ์สุนัข)ได้

หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดของสุนัขพันธุ์คอลลี่นั้นเป็นรูปภาพพิมพ์ไม้ ปรากฏอยู่ในหนังสือชื่อ The History of Quadrupeds เขียนโดย Thomas Bewick ในช่วงก่อนปีค.ศ.1800 หนังสือนี้บรรยายถึงคอลลี่ขนยาวว่า เป็นสุนัขเลี้ยงแกะ สูงแค่ 14 นิ้ว ตัวเล็ก กะโหลกกว้าง ปกติมีสีดำหรือดำ-ขาว ส่วนคอลลี่ขนสั้นนั้นเรียกกันว่า "ban dog" ตัวสูงใหญ่กว่าพวกขนยาวมาก สืบเชื้อสายมาจากพวกสุนัขตัวใหญ่แบบพวกมาสตีฟ
ต่อมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 นักผสมพันธุ์สุนัขเริ่มสนใจคอลลี่ ประกอบกับเริ่มมีการบันทึกเพดดีกรีกันอย่างจริงจัง สุนัขพันธุ์คอลลี่จึงพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ไม่เพียงแต่ตัวสูงขึ้นเท่านั้นแต่ยังมีลักษณะสายพันธุ์แบบบริสุทธิ์ หมายถึงไม่มีลักษณะของสายพันธุ์อื่นเข้ามาเจือปนอีกด้วย

ในปี 1867 คอลลี่ขนยาวชื่อ "Old Cookies" ถือกำเนิดขึ้น เจ้าตัวนี้ได้รับเครดิตว่าเป็นคอลลี่ขนยาวที่ลักษณะสวยงามโดดเด่น ทั้งยังนำชื่อเสียงและความนิยมชมชอบมาสู่สุนัขพันธุ์นี้อย่างมากมายจนนำไปสู่การพัฒนาให้มีคอลลี่สีน้ำตาลเข้มเกิดขึ้น

ต่อมาไม่นานคอลลี่ก็มีหลากสีสันมากขึ้น เช่น แดง buff , mottle ในหลายๆ เฉด, น้ำตาลเข้ม แต่ที่มีมากคือได้แก่สีดำ สีแทนและขาว สีดำและขาว และสี tortoise shell ที่ปัจจุบันนี้เรียกกันว่าสี blue merles

การบันทึกเพดดีกรีของคอลลี่ในช่วงแรก ๆ นั้นสั้นแสนสั้น หนังสือ Stud Book ของอังกฤษชุดแรกมี "หมาเลี้ยงแกะและ Scotch Collies" อยู่ 78 ตัว ลงทะเบียนกันต่างปีต่าง ค.ศ.มาเรื่อย ตัวสุดท้ายที่ลงทะเบียนใน Stud Book เล่มนี้คือเมื่อ ค.ศ.1874 ในจำนวนนี้มี 15 ตัวเท่านั้นที่มีการบันทึกเพดดีกรี แต่กระนั้นก็ไม่สมบูรณ์เท่าที่ควรเพราะย้อนประวัติของพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ได้เพียงสามรุ่นเท่านั้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะเจ้าของสุนัขภูมิใจในตัวมันมากจนไม่เห็นความจำเป็นต้องบันทึกเพดดีกรีไว้ เข้าทำนองว่า สำเนียงส่อภาษากิริยาส่อสกุล เพราะฉะนั้นแค่ดูจากลักษณะท่าทางก็จะรู้ได้ว่าสุนัขของข้าของดี

หลังจากนั้นไม่นาน วาสนาก็มาถึงคอลลี่เพราะจากที่เคยเป็นสุนัขวิ่งไล่แกะอยู่ตามท้องทุ่ง ก็ได้มาเฉิดฉายอยู่ในพระราชวัง เนื่องจากวันหนึ่งควีนวิคตอเรียได้เสด็จมาที่บัลมอรัล ทอดพระเนตรเห็นคอลลี่น่ารักจับใจ ซินเดอเรลล่าภาคหมา ๆ ก็ได้เริ่มต้น ณ จุดนี้

ในปี 1886 ได้มีการแบ่งชนิดของคอลลี่เป็นพวกขนยาวและขนสั้นอย่างชัดเจน เพราะเดิมไม่มีการแบ่งทำให้มันถูกจัดให้อยู่ในชนิดเดียวกันเมื่อมีการแข่งขัน เมื่อแบ่งแล้วกลายเป็นว่าพวกนักผสมพันธุ์สุนัขชาวอังกฤษก็ไม่เห็นว่ามีความจำเป็นใด ๆ ต้องปรับปรุงรูปร่างและขนาดของคอลลี่อีกต่อไป ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของคอลลี่ส่วนใหญ่จึงเกิดขึ้นจากฝั่งอเมริกามากกว่า แต่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวก็ไม่ได้มากมายอะไรนัก เพียงแต่อเมริกาทำให้คอลลี่ตัวใหญ่และหนักขึ้นนิดหน่อยเท่านั้น

สำหรับสถานะของคอลลี่ในอเมริกานั้น เดิมก็เป็นเพียงสุนัขเลี้ยงแกะเช่นกัน แต่เมื่อปี 1877 มีการนำคอลลี่ออกแสดงในงานโชว์ในนิวยอร์คโดย Westminster Kennel Club ในคราวนั้นพวกมันถูกจัดให้อยู่ในประเภท "Shepherd Dogs, or Collie Dogs" มีคอลลี่สองสามตัวเข้าร่วมโชว์ตัว ถือเป็นจุดเริ่มต้นแนะนำตัวในฐานะสุนัขมีเชื้อมีแถวในอเมริกา เหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นในปีถัดมา คือมีคอลลี่สองตัวถูกสั่งตรงมาจาก Queen Victoria's Royal Balmoral Kennel เพื่องานโชว์นี้โดยเฉพาะ สร้างความตื่นเต้นสนใจแก่ชาวอเมริกาผู้รักหมาอย่างมาก ในไม่ช้ามันก็กลายเป็นหมาของผู้ดีในอเมริกาไป และแน่นอนว่าหลังจากนั้นก็มี kennels สำหรับคอลลี่เกิดขึ้นมากมายในอเมริกา คอลลี่จากอังกฤษถูกนำเข้าด้วยราคาที่แพง มหาศาล ห้าสิบปีต่อมาเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นซ้ำรอยที่ญี่ปุ่น นักผสมพันธ์สุนัขชาวอเมริกันหลายคนถูกชักชวนให้ขายคอลลี่ตัวงาม ๆ ให้ชาวญี่ปุ่นด้วยราคาที่สูงลิบลิ่ว ในขณะเดียวกันความนิยมสั่งซื้อคอลลี่จากอังกฤษก็ค่อย ๆ ลดลงจนเกือบจะไม่มีการสั่งซื้อจากอังกฤษอีกเลย

ปัจจุบันนี้คอลลี่เปลี่ยนสถานะจากสุนัขสำหรับฟาร์มมาเป็นสุนัขสำหรับครอบครัว เปลี่ยนความสามารถเฉพาะตัวจากการเลี้ยงแกะมาเป็นเลี้ยงเด็กได้อย่างน่าอัศจรรย์ เพราะมันมีนิสัยซื่อสัตย์จงรักภักดี มีสัญชาตญาณของการระแวดระวังและปกป้อง นอกจากนี้ยังมีบุคลิกท่วงท่าที่สง่างาม จากสถิติของ American Kennels Club ชาวอเมริกันโหวตให้คอลลี่เป็น 1 ใน 20 ยอดสุนัขในดวงใจติดต่อกันมาหลายปีแล้ว คอลลี่เป็นตัวอย่างของสุนัขที่มีการประชาสัมพันธ์ดี มีชมรมผู้เลี้ยงที่สนับสนุนดูแลสุนัขพันธุ์นี้อย่างเป็นจริงเป็นจังชื่อ Collie Club of America ตั้งขึ้นในปี 1886 (สองปีหลังจากมีการตั้ง American Kennels Club) ชมรมนี้กระตือรือร้นที่จะโฆษณาประชาสัมพันธ์ทุก ๆ ข่าวคราวของคอลลี่ มีจุดประสงค์ให้คนรู้จักและอยากเลี้ยงกันมาก ๆ ปัจจุบันมีสมาชิกอยู่ 3,500 กว่าคน งานโชว์แต่ละปีจะมีคอลลี่ถึง 400 กว่าตัวทั่วอเมริกามาเข้าร่วม

อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จสูงสุดในการสร้างชื่อเสียงให้คอลลี่เกิดจากหนังสือชุดของ Albert Payson Terhune ชื่อ Lad : A Dog คนอเมริกันรุ่นแล้วรุ่นเล่านิยมอ่านหนังสือชุดนี้ จนในที่สุดก็ได้มีการนำมาสร้างเป็นซีรีส์ทางโทรทัศน์ ชื่อเรื่องว่า Lassie เคยมาฉายในเมืองไทยอยู่พักหนึ่ง ทำเอาลูกเด็กเล็กแดง (รวมทั้งผู้ใหญ่หลายคน) ร่ำร้องอยากได้หมาอย่างแลสซี่กันเป็นแถว เรียกได้ว่าซีรีส์ทางโทรทัศน์เรื่องนี้ทำให้คอลลี่มัดใจคนทั่วโลกไว้ได้อย่างแท้จริง จนชื่อสายพันธุ์ที่ถูกต้องว่าคอลลี่ถูกเรียกแทนที่ว่าแลสซี่ไปเลย.


รายละเอียดที่จัดทำในส่วนของ คอลลี่

คอลลี่ (Collie)

ลักษณะของสุนัข คอลลี่

ลักษณะนิสัยสุนัข คอลลี่

ลักษณะขนและสี

เทคนิคการป้อนยาเม็ดสุนัขแบบง่ายๆ

ในการให้ยาเม็ด (Pill) ทางปากแก่สุนัข เมื่อสุนัขอ้าปากให้วางยาที่โคลนลิ้น สุนัขจะกลืนยาเม็ดลงคอไปได้ ถ้าวางยาเม็ดที่ปลายลิ้นหรือบริเวณอื่นในปาก สุนัขจะสามารถขย้อนยาเม็ดนั้นออกมาและคายทิ้งไป ทำให้เสียยาไป ในการป้อนยาเม็ดด้วยมือจะต้องจับยาเม็ดเข้าไปในปากต้องมีโอกาสสัมผัส กับน้ำลายสุนัขภายในปากซึ่งมีโรคติดต่อบางอย่างผ่านมาในน้ำลายสุนัขและติดถึงคนได้ เช่น โรคพิษสุนัขบ้า ฉะนั้นการที่จะป้อนยาเม็ดด้วยมือนั้นต้องทราบประวัติสุนัขตัวนั้นอย่างแน่นอนว่า ไม่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า ทางที่ดีควรป้อนยาเม็ดโดยใช้เครื่องมือ เช่น Balling Gun หรือปากคีบเป็นต้น ซึ่งการใช้เครื่องมือดังกล่าวนี้มือคนป้อนสุนัขจะไม่สัมผัสน้ำลายสุนัขเลยวิธีการป้อนยาเม็ดด้วยมือ ในการป้อนยาเม็ดด้วยมือนั้น อาจใช้มือไหนจับหัวสุนัขก็ได้ ขึ้นอยู่กับความถนัด สมมุติว่าใช้มือขวาเป็นมือที่ใช้จับหัวสุนัข โดยใช้ฝ่ามือคว่ำและคร่อมสันจมูกบริเวณ Interdental Space ให้สันจมูกอยู่ระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วที่เหลือทั้ง 4 ท่อน แขนของมือขวาวางทาบไปบนหน้าผากของสุนัขซึ่งท่อนแขนนี้จะช่วยยกให้หัวสุนัขแหงนขึ้นด้วย แต่ทั่ว ๆ ไป สุนัขไม่ยอมอ้าปาก ต้องใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วที่เหลือทั้ง 4 กดริมฝีปากให้แรงพอที่จะให้ริมฝีปากนั้น กดกับเหงือกและฟันทำให้สุนัขยอมอ้าปากได้บางรายแทนที่จะใช้ฝ่ามือคร่อมขากรรไกรกลับมาจับที่ขากรรไกรล่างแทนก็ได้ เมื่อสุนัขอ้าปากแล้วใช้นิ้วชี้กับนิ้วกลางของมือซ้ายคีบยาเม็ดค่อย ๆ ไปวางที่โคนลิ้นสุนัข รีบชักมือออกพร้อมกับหุบปากสุนัขทันที พยายามอย่าให้สุนัขอ้าปาก เพราะว่าจะขย้อนยาเม็ดดังกล่าวออกมา สังเกตดูว่าสุนัขกลืนยาหรือไม่โดยดูที่คอสุนัข ไม่ควรใช้มือไปขยำหรือนวดที่คอเพื่อช่วยให้กลืนยาเม็ด เพราะไม่ได้ประโยชน์อะไรและยังอาจทำให้สุนัขไม่สามารถกลืนยาได้บางครั้งการให้ยาเม็ดไม่จำเป็นต้องป้อน ในกรณีนี้ทำได้ง่ายมาก เพียงแต่นำยาเม็ดนั้นแทรกลงไปในก้อนเนื้อกล้วย หรือฮอทด็อกหรืออาหารที่สุนัขชอบกินและโปรดปรานนำมาสอดไส้ใส่ยาเข้าไปแล้ววางให้สุนัขกินก็ได้ แต่สุนัขบางตัวมีความฉลาดและรู้ทัน จะไม่ยอมกินซึ่งจำเป็นต้องป้อน อาจจะด้วยมือ หรือใช้เครื่องมือป้อนยาเม็ดนั้นช่วยในการป้อนยาเม็ดนั้นถ้ามือไปสัมผัสกับน้ำลายสุนัข หลังจากเสร็จแล้ว ควรล้างมือทันทีเพื่อรักษาความสะอาดการจับบังคับสุนัขเพื่อให้กินยาประเภทน้ำ ในการป้อนยาประเภทน้ำนั้นค่อนข้างจะง่ายกว่า การป้อนยาประเภทเม็ดเพราะว่าไม่จำเป็นต้องอ้าปากสุนัขแต่อย่างใด สามารถป้อนได้ในขณะที่สุนัขยังถูกผูกปากอยู่ได้ โดยอาศัยหลักทางกายภาพที่ว่า มุมฝีปากด้านข้างสุนัขนั้น มีความยืดหยุ่นได้ ใช้มือหนึ่งจับที่ปลายปากโดยรอบทั้งขากรรไกรล่างและขากรรไกรบนไว้อีกมือหนึ่งแยกริมฝีปากล่างและดึงมุมปากออกมา ก็จะเกิดเป็นลักษณะกระพุ้งหรือถุง ของแก้มสามารถที่จะใช้ช้อน กระบอกฉีดยาหรือใช้เครื่องใส่ยาน้ำ สำหรับป้อนฉีดเข้าไปในกระพุ้งแก้ม ขณะเดียวกันก็พยายามยกหน้าสุนัขให้เชิดขึ้นเล็กน้อย ข้อสำคัญ เครื่องมือที่ใช้ใส่ยาสำหรับป้อนนั้นไม่ควรทำด้วยวัสดุประเภทแก้วหรือสิ่งที่แตกง่าย เพราะว่าสุนัขอาจจะกัดหรือดิ้นและหล่นแตก อาจจะบาดปากสุนัขหรือมือผู้ป้อนได้ เครื่องมือเฉพาะสำหรับป้อนยาน้ำเรียกว่า”Drenchong Spoon” จึงจะปลอดภัยทั้งตัวท่านและสัตว์เลี้ยง

วิธีดูแลสุนัขช่วงหน้าร้อน

ร่างกายของสุนัขจะระบายความร้อนทางปาก ลิ้นและที่อุ้งเท้าโดยไม่มีต่อมเหงื่อตามรูขุมขนตามผิวหนังเหมือนคนเรา ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจหากสุนัขทำลิ้นห้อยอยู่ตลอดเวลาและบางครั้งก็เอาเท้าจุ่มน้ำก็ปล่อยให้ทำไปเพราะเป็นการระบายความร้อนโดยธรรมชาติ อาการฮีทสโตรกเกิดจากร่างกายไม่สามารถปรับตัวได้กับอากาศร้อนได้ทัน การวิ่งออกกำลังกายมากๆ ในช่วงอากาศร้อน หรืออาการขาดน้ำ หรืออยู่ในที่ที่มีอากาศร้อนสูงกว่าอุณหภูมิของร่างกายเป็นเวลานานๆ ร่างกายไม่สามารถปรับระบบระบายความร้อนได้ทัน โดยปกติอุณหภูมิของสุนัขจะอยู่ที่ 38-39 องศาเซลเซียส หากอุณหภูมิร่างกายสูงถึง 40 องศาที่เกิดจากอากาศไม่ใช่เกิดจากอาการไข้ติดเชื้อก็จะมีอาการหายใจแรง หอบ น้ำลายเยอะมาก เหงือกแดงมาก หัวใจเต้นเร็ว หายใจลำบาก อาเจียนออกเป็นเลือด ถ่ายเป็นเลือด มีจุดแดงตามร่างกาย กล้ามเนื้อกระตุก อุณหภูมิร่างกายสูง จนเกิดอาการชัก หยุดหายใจและตายได้ ซึ่งจะมีผลทำให้อวัยวะต่างๆได้รับผลกระทบดังนี้
  • เซลล์ระบบประสาทถูกทำลาย มีเลือดออกที่สมอง
  • ระบบหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  • เยื่อบุลำใส้ขาดเลือดและเป็นแผล อาจเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้
  • ตับและท่อน้ำดี เซลล์ตับตาย
  • ระบบขับถ่ายผิดปกติ ทำให้เกิดโรคร้ายแรงเฉียบพลันได้
  • เลือดเข้มข้นเกินไป เกล็ดเลือดต่ำ ระบบเลือด น้ำเหลือง และภูมิคุ้มกัน
  • บกพร่อง มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด
  • เกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อที่ขาดเลือดและน้ำหล่อเลี้ยงเพียงพอ
เมื่อมีอาการเช่นนี้ต้องพาไปหาแพทย์โดยเร็วที่สุด การปฐมพยาบาลก่อนนำพบแพทย์ทำได้โดยการลดอุณหภูมิร่างกายลงโดยการนำน้ำมาชโลมให้ทั่วทั้งร่างกายหรือทำให้สุนัขชุ่มน้ำ ใช้สารระเหยทำให้เกิดความเย็นเช่นแอลกอฮอล์เช็ดบริเวณอุ้งเท้า ใต้รักแร้ และบริเวณขาหนีบ เปิดพัดลมช่วยถ่ายเทความร้อน

การป้องกันคือสิ่งที่ดีที่สุดเราสามารถทำได้โดย
  • ต้องมีน้ำให้กินตลอดเวลาไม่ให้ขาด
  • ไม่พาออกกำลังกายในช่วงบ่ายหรือเวลาที่อากาศร้อนจัด
  • หาที่ร่มหรือที่หลบแดดมีอากาศถ่ายเทให้อยู่ในช่วงกลางวัน
  • เมื่อไปไหนกับสุนัขไม่ให้เก็บไว้ในรถโดยเด็ดขาด หรือถ้าจำเป็นต้องจอดในที่ร่มมีอากาศถ่ายเทได้ เปิดกระจกออกให้มีอากาศระบายและมีน้ำดื่มไว้ให้ด้วย มีสุนัขจำนวนมากที่ตายโดยที่เจ้าของคิดว่าไปไม่นานและเป็นสาเหตุที่ใหญ่สุดที่เจอบ่อยที่สุด
  • การให้อาหารในตอนเย็นต้องให้หลังจากแดดร่มแล้วหรือยืดเวลาออกไปให้หลังพระอาทิตย์ตก เนื่องจากสุนัขจะไม่กินอาหารหากอากาศร้อน
  • อาบน้ำให้หรือราดน้ำให้ทั่วและเช็ดตัวให้หมาดๆ ปล่อยให้แห้งเองโดยไม่ต้องไดร์
  • อาจใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำหมาดๆ ปูให้นอนในช่วงกลางวัน แต่ต้องเอาออกในช่วงกลางคืนป้องกันปอดบวม
  • ใช้พัดลมเป่าหรือให้อยู่ในห้องแอร์เลย
การที่สุนัขจะกลับมาหายดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าอวัยวะถูกทำลายลงไปมากน้อยเพียงไร ดังนั้นเราควรป้องกันไว้ก่อนที่จะเกิดอาการเช่นนี้ เพราะไม่มีอะไรที่จะดีไปกว่า “กันไว้ดีกว่าแก้”


ไฮเปอร์เทอเมีย Hyperthermia หรือ ฮีทสโตรก Heat Stroke

คืออาการที่อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น เนื่องจากร่างกายได้รับความร้อนจากภายนอกมากขึ้น หรือเนื่องจากร่างกายเกิดความร้อนภายในมากขึ้น หรือเนื่องจากการระบายความร้อนออกจากร่างกายน้อยลง สาเหตุสำคัญก็คือ
  • การที่อากาศภายนอกร้อนจัดเป็นเวลานาน
  • เกิดจากให้สัตว์ออกกำลังกายมากเกินไป โดยเฉพาะเมื่อขณะมีความชื้นในอากาศสูง
  • สัตว์อ้วนเกินไป
  • สัตว์มีขนดก หนา และจำเป็นต้องอยู่ในที่ที่การระบายอากาศไม่ดีพอ เช่น การขนส่งสัตว์โดยทางเรือ
  • เนื่องจาก Dehydration ซึ่งทำให้การระบายอากาศโดยการระเหยของน้ำในเนื้อเยื่อต่างๆ ลดลง
  • การให้ยาสงบประสาท กับสัตว์ในขณะที่มีอากาศร้อน จะทำให้เกิด ไฮเปอร์เทอร์เมียได้ Metabolic rate จะสูงขึ้นประมาณ 40-50% Glycogen ที่เก็บสะสมไว้ในตับจะถูกนำมาใช้ไปอย่างรวดเร็ว และพลังงานพิเศษของร่างกายจะได้มาจากการเพิ่ม Protein metabolism สูงขึ้น เนื่องจาก Hyperthermia ทำให้สัตว์ปากแห้ง และการทำงานของระบบการหายใจผิดไป จึงทำให้เกิดการเบื่ออาหาร ซึ่งมีผลทำให้น้ำหนักตัวลดลง และกล้ามเนื้อขาดพลัง เกิดภาวะ hypoglycemia และ non-protein nitrogen ในเลือดสูง
สัตว์จะกระหายน้ำเนื่องจากปากแห้ง อัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้นเนื่องจากอุณหภูมิของเลือดสูงขึ้น และเนื่องจากความดันเลือดตกอันเป็นผลมาจากการขยายตัวของเส้นเลือดส่วนปลาย อัตราการหายใจสูงขึ้นเนื่องจากการที่อุณหภูมิสูงขึ้นจะไปมีผลต่อ respiratory centre ปัสสาวะจะลดน้อยลงเนื่องจากจำนวนเลือดที่ผ่านไตน้อยลง อันเป็นผลสือเนื่องมาจากการขยายตัวของเส้นเลือดส่วนปลาย

เมื่อเกิด Hyperthermia ถึงขั้นอันตรายสูงสุด จะมีผลคือระบบประสาทจะถึงขั้นอันตรายสูงสุด จะมีผลคือระบบประสาทจะถูกกดการทำหน้าที่ตามปกติของมัน และระบบการหายใจก็จะถูกกดเช่นเดียวกันอันเป็นผลทำให้สัตว์ตาย เนื่องจากกการล้มเหลวของระบบการหายใจ ระบบการไหลเวียนของเลือดก็จะล้มเหลวเช่นกัน เนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนกำลำง ถ้าภาวะ Hyperthermia ไม่สูง และนานเกินไปก็จะมีผลกระทบกระเทือนต่อ metabolism ภายในร่างกายเท่านั้น และมักจะเกิด degenerative changes ของเนื้อเยื่อต่างๆ ด้วย 

อาการที่สัตว์แสดงให้เห็น คือ
  • ในระยะแรกๆ ก็คืออุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นกว่าปกติ อัตราการเต้นของหัวใจ และการหายใจจะเพิ่มขึ้น ชีพจรอ่อนลง ในระยะแรกจะมีเหงื่อออกมาก 
  • ระยะต่อไปจะไม่มีเหงื่อออกมาเลย น้ำลายไหล กระวนกระวายต่อมาก็จะเริ่มซึม เดินโซเซ ในระยะแรกสัตว์จะกระหายน้ำจัด และจะพยายามอยู่ในที่เย็น เช่นนอนแช่น้ำ ต่อมาเมื่ออุณหภูมิของร่างกายสูงถึง 106 F. จะถึงขั้นหายใจหอบ ต่อจากนั้นจะหายใจตื้นไม่เป็นจังหวะ ชีพจรเร็วมาก และอ่อน 
  • สุดท้ายถึงขั้น collapse ชัก และโคม่า ส่วนมากสัตว์ทุกชนิดตายเมื่ออุณหภูมิในร่างกายสูงถึง 107-109 F. ส่วนสัตว์ท้องอาจจะแท้งได้ถ้าระยะเวลาที่เกิด Hyperthermia นาน
การวินิจฉัยโรค

ต้องแยกให้ออกระหว่าง Hyperthermia กับ อาการไข้ และโลหิตเป็นพิษ (Septicemia) สำหรับโลหิตเป็นพิษจะพบมีจุดเลือดออกที่ muscous membrane และบางครั้งพบที่ผิวหนังด้วย และในการเพาะเชื้ออาจจะพบแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคนอกจากนี้การตรวจ และสังเกตสิ่งแวดล้อมมีส่วนช่วยอย่างมากในการหาสาเหตุของ Hyperthermiaการรักษา

ใช้วิธีประคบเย็น(cold applications) จะได้ผลดีนอกจากนี้การให้ยาพวกซาลิซีเอท (Salicyate) เช่น แอสไพริน ก็ช่วยได้มากในกรณีเช่นนี้ โดยให้กินสำหรับม้า และโคให้ในขนาด 8-60 กรัม สุกร 1-3 กรัม สุนัข 0.3-1 กรัม นอกจากนี้ควรให้ยาสยบประสาท (Tranqulizing drugs) เช่น Largactil (chlorpromazine hydrochloride) เพื่อระงับอาการกระวนกระวาย นอกจากนั้นควรให้ยาช่วยประกอบการรักษาด้วย เช่นการฉีดกลูโคส และโปรตีน และให้สัตว์ป่วยอยู่ในที่ร่ม มีการระบายอากาศดี มีน้ำให้กินเพียงพอ

ลำดับไอคิวสุนัข

ในความเฉลียวฉลาดหรือที่เรียกว่าไอคิวของสุนัขหรือนั้นกล่าวกันว่ามีสติปัญญาเทียบเท่ากับเด็กอายุกว่าสิบขวบเลยทีเดียว เชื่อกันว่าเค้าก็ฝันได้เหมือนคนเหมือนกัน ตอนนี้เค้าก็อาจกำลังฝันหวานถึงเราหรือฝันน้ำลายยืดว่ากำลังแทะกระดูกชิ้นโตอยู่ก็ได้นะ แล้วสังเกตุมั้ยว่าบางครั้งเค้าก็ยิ้มให้เรา

ความน่ารักและนิสัยของเค้านั้นก็มีความแตกต่างกันไปในแต่ละสายพันธุ์ ซึ่งเป็นคุณลักษณะเฉพาะที่ได้มาจากปู่ย่าตาทวดที่สืบทอดกันมา บางสายพันธุ์ก็อาจสอนให้ทำอะไรได้หลายอย่างหรือยากง่ายแตกต่างกันไป ซึ่งก็เป็นความสามารถเฉพาะตัวกันไป อย่างเช่นเจ้าโกลเดนนี่แทบไม่ต้องสอนก็วิ่งไปเก็บของมาให้เราได้แล้ว บางตัวก็ดื้อแสนดื้อกันจังก็เพราะสัญชาติญาณสัตว์ป่าของเค้านั่นเอง

ดร.สแตนเลย์ โคเรนท์ แห่งมหาวิทยาลัยบริติช โคลัมเบีย ในแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา ได้จัดอันดับไอคิวสุนัขตามความสามารถในการเรียนรู้จากการฝึก ส่วนพันธุ์ต่างๆนั้นมีหน้าตาอย่างไรก็ลองคลิ๊กไปดูจากลิ้งหมาพันธุ์ต่างๆซ้ายมือกันเอาเองนะ เจ้าโกลเดนหรือสุนัขของคุณจะอยู่อันดับไหนบ้าง ลองไปดูกันดีกว่า

1. บอเดอร์ คอลลี่
2. พุดเดิล
3. เยอรมัน เชฟเฟอร์ด
4. โกลเดน รีทรีฟเวอร์
5. โดเบอร์แมน
6. เชทแลนด์ ชีพด็อก
7. ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์
8. ปาปิยอง
9. ร็อตไวเลอร์
10. ออสเตรเลี่ยน แคทเทิลด็อก
11. เวลช์คอร์กี้
12. มินิเอเจอร์ ชเนาเซอร์
13. อิงลิช สปริงเกอร์ สแปเนียล
14. เบลเจียนเทอร์เชน
15. เบลเจียนชีพด็อก
16. คอลลี่ คีชอนด์
17. เยอรมัน ชอร์ทแฮร์ พอยเตอร์
18. อิงลิชค็อกเกอร์ สแปเนียล,
19. สแตนดาร์ด ชเนาเซอร์
20. บริตตานี สแปเนียล
21. คอกเกอร์ สแปเนียล
22. ไวมาราเนอร์
23. เบลเจียน มาลิโนส์,
24. เปอร์นีส เมาน์เทนด็อก
25. ปอมเมอเรเนียน
26. ไอรีสวอเตอร์ สแปเนียล
27. วิสซิลล่า
28. คอร์ดิแกน เวลช์ คอร์กี้
29. พูลิ
30. ยอร์คเชียร์ เทอร์เรีย
31. ไจแอนท์ ชเนาเซอร์
32. แอร์เดล
33. บอเดอร์ เทอร์เรีย
34. เวลช์ สปริงเกอร์ สแปเนียล
35. แมนเชสเตอร์ เทอร์เรีย
36. เวลช์ สปริงเกอร์ สแปเนียล
37. ฟิลด์ สแปเนียล,
38. นิวฟาวแลนด์,
39. ออสเตรเลียน เทอร์เรีย,
40. เบียร์เด็ด คอลลี่
41. ไอริส เซทเตอร์
42. นอร์วีเจียน เอลค์ฮาวด์
43. ซิลกี้ เทอร์เรีย,
44. มินิเอเจอร์ พินช์เชอร์
45. นอร์วิด เทอร์เรียล
46. ดัลเมเชียน
47. ฟ็อก เทอร์เรีย
48. ไอริช วูล์ฟฮาวด์
49. ออสเตรเลียน เชฟเฟอร์ด
50. ซาลูกิ,
51. ฟินนิช สปิทซ์,
52. พอยเตอร์
53. อเมริกัน วอเตอร์ สแปเนียล
54. ไซบีเรียน ฮัสกี้
55. อิงลิช ฟ็อกซ์ฮาวด์,
56. อเมริกัน ฟ็อกซ์ฮาวด์,
57. เกรย์ฮาวด์
58. สก็อตติช เดียฮาวด์
59. บ็อกเซอร์,
60. เกรทเดน
61. ดัชชุนต์
62. อลาสกัน มาลามูท
63. วิพเพท
64. โรดีเชียน ริดจ์แบ็ค
65. ไอริช เทอร์เรีย
66. บอสตัน เทอร์เรีย,
67. อากิตะ
68. สกาย เทอร์เรีย
69. นอร์โฟล์ค เทอร์เรีย
70. ปั๊ก
71. เฟรนช์บูลด็อก
72. มอลทีส เทอร์เรีย
73. อิตาเลียน เกรย์ฮาวด์
74. ไชนีส เครสเต็ด
75. เจแปนนีส ชิน
76. โอลด์ อิงลิช ชีพด็อก
77. เกรท พิเรนี
78. สก็อตติช เทอร์เรีย,
79. เซนต์เบอร์นาร์ด
80. บูล เทอร์เรีย
81. ชิวาว่า
82. ลาซา แอปโซ
83. มาสทิฟฟ์
84. ชิสุ
85. บาสเซท ฮาวด์
86. บีเกิ้ล
87. ปักกิ่ง
88. บลัดฮาวด์
89. บอร์ซอย
90. เชาเชา
91. บูลด็อก
92. บาเซนจิ
93. อาฟกัน ฮาวด์

ที่มา: http://www.mylovegolden.com/mcontents/marticle.php?headtitle=mcontents&id=67338&Ntype=1

2009-06-08

โรคหัวใจในสุนัข

ภัยเงียบของสุนัข...สัตว์เลี้ยงแสนรักของคุณอาจเป็นโรคหัวใจล้มเหลวโดยที่คุณไม่รู้

ผลวิจัยล่าสุดเปิดเผยให้เห็นว่าเจ้าของสุนัขกว่า 50% ไม่เคยตระหนักว่าสุนัขของตนมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจล้มเหลว ทั้งที่มีสุนัขอายุ 7 ปีขึ้นไปมากถึงหนึ่งในสี่ที่เป็นโรคหัวใจ ดังนั้นเจ้าของสุนัขควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค การสังเกตอาการของโรค และการดูแลสุนัขที่เป็นโรค เพื่อให้สุนัขมีชีวิตที่ยืนยาวต่อไป
สถิติที่น่าเป็นห่วงดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจในสุนัขเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง หากเจ้าของสุนัขมีความรู้เกี่ยวกับโรคและสามารถสังเกตอาการของโรคได้ สุนัขก็จะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีและมีชีวิตที่ยืนยาวกว่าเดิม
ข้อมูลดังกล่าวซึ่งได้รับการนำเสนอ ณ ที่ประชุมสัตวแพทย์โลกครั้งที่ 29 (29th World Veterinary Congress) ระบุว่า สุนัขที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวซึ่งเกิดจากโรคลิ้นหัวใจ MMVD (Myxomatous Mitral Valve Disease) จะสามารถมีชีวิตยืนยาวขึ้นหากได้รับการรักษาด้วยยา Pimobendan (Vetmedin(R)) เมื่อเทียบกับการรักษาด้วยยา ACE inhibitor อย่างที่ทำกันมานาน ทั้งนี้ผลการวิจัยในนาม QUEST ซึ่งเป็นศึกษาครั้งใหญ่ที่สุดในหมู่สุนัขที่เป็นโรคหัวใจล้มเหลว จะได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Veterinary Internal Medicine (JVIM) ในปลายปีนี้ กว่า 75% ของสุนัขที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวมีสาเหตุมาจากโรค MMVD ซึ่งเป็นอาการลิ้นหัวใจไมทรัลอุดตันจนส่งผลกระทบต่อการไหลเวียนของเลือดจากหัวใจไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย แม้ว่าปัจจุบันยังไม่มีหนทางรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวที่เกิดจากโรค MMVD แต่ก็มียาหลายตัวที่สามารถประคองอาการเพื่อยืดชีวิตให้กับสุนัขได้
ศาสตราจารย์เจนส์ แฮ็กสตอร์ม จากมหาวิทยาลัยอุปป์ซาลา ประเทศสวีเดน ซึ่งเป็นผู้นำการทดลองในครั้งนี้ กล่าวว่า “การวิจัย QUEST เป็นการศึกษาครั้งสำคัญที่จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งยวดต่อสัตวแพทย์และเจ้าของสุนัข โดยผลการทดลองแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ายา Pimobendan ช่วยยืดเวลาอันมีค่าระหว่างสุนัขและเจ้าของได้จริง”
การวิจัย QUEST เป็นการวิจัยแบบสุ่มของศูนย์วิจัย 28 แห่ง ใน 11 ประเทศทั่วโลก และถือเป็นการวิจัยโรคหัวใจในสัตว์ครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบกลุ่มสุนัขที่ได้รับการรักษาด้วยยา Pimobendan กับกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยยา Benazepril Hydrochloride โดยมีประวัติการใช้ยาขับปัสสาวะมาก่อน การศึกษาครั้งนี้กินเวลา 3 ปี และจะมีการติดตามผลจนกว่าสุนัขจะตายโดยธรรมชาติ, ถูกฉีดยาให้ตายเพื่อให้พ้นจากความทรมาน หรือการรักษาล้มเหลวจนเจ้าของสุนัขขอถอนตัวจากการทดลอง

เบอริงเกอร์ อินเกลไฮม
เบอริงเกอร์ อินเกลไฮม แอนิมอล เฮลท์ (Boehringer Ingelheim Animal Health) และ เบอริงเกอร์ อินเกลไฮม เว็ทเมดิกา (Boehringer Ingelheim Vetmedica) เป็นบริษัทในเครือเบอริงเกอร์ อินเกลไฮม กรุ๊ป (Boehringer Ingelheim Group) ซึ่งเป็น 1 ใน 20 บริษัทเภสัชภัณฑ์ชั้นนำของโลก โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองอินเกลไฮม ประเทศเยอรมนี และพนักงานรวมกว่า 39,800 คน ใน 135 สาขา ใน 47 ประเทศทั่วโลก บริษัทได้ทุ่มเทให้กับการวิจัย พัฒนา ผลิต และทำการตลาดผลิตภัณฑ์ยาคุณภาพสูงทั้งสำหรับคนและสัตว์มาโดยตลอดนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทขึ้นในปี พ.ศ.2428
ในปี พ.ศ.2550 บริษัทมียอดขายสุทธิเกือบ 1.1 หมื่นล้านยูโร โดยหนึ่งในห้าของเงินดังกล่าวได้ถูกนำไปลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาในแผนก Prescription Medicine ซึ่งเป็นธุรกิจใหญ่ที่สุดของบริษัท
ธุรกิจสุขอนามัยสัตว์ของบริษัทมีการดำเนินงานในกว่า 20 ประเทศทั่วโลก อาทิ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี สหราชอาณาจักร อิตาลี สเปน เม็กซิโก กลุ่มประเทศแถบสแกนดิเนเวีย ญี่ปุ่น และจีน โดยนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2498 เป็นต้นมา เบอริงเกอร์ อินเกลไฮม แอนิมอล เฮลท์ ได้ทุ่มเทให้กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของสัตว์ เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างมนุษย์และสัตว์
ท่านที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ http://www.boehringer-ingelheim.com

เกี่ยวกับผลสำรวจ
ผลสำรวจนี้จัดทำขึ้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2551 จากการสอบถามความคิดเห็นของเจ้าของสุนัขรวม 1,531 คนในออสเตรเลีย แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา
สถิติที่น่าสนใจ
- 80% ของผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่าสุนัขเป็น “ส่วนหนึ่งในครอบครัว”
- 81% ของผู้ตอบแบบสอบถามทำตามคำแนะนำของสัตวแพทย์
- 49% ของผู้ตอบแบบสอบถามไม่คิดว่าตนเองมีความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับโรคหรืออาการของโรคที่สุนัขของตนอาจเป็นได้

ข้อควรระวัง
ข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้มาจากสำนักงานใหญ่ของบริษัท เบอริงเกอร์ อินเกลไฮม คอร์ปอเรท ซึ่งอยู่ในประเทศเยอรมนี ดังนั้นข้อมูลเกี่ยวกับยารวมถึงลิขสิทธิ์ต่างๆ อาจมีความแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ผู้อ่านจึงต้องใช้ความระมัดระวังในการรับข้อมูลดังกล่าว ทั้งนี้ ข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้ไม่มีจุดมุ่งหมายที่จะเผยแพร่ในสหรัฐอเมริกา

อ้างอิง
1) Evans T, Johnson C, Wernham J. Cardiovascular Insight: A global study of category prospects. Wood Mackenzie. July 2007.
2) Haggstrom J, Kvart C and Pedersen H. "Acquired valvular heart disease" in Ettinger SJ, Feldman EC (Eds). Textbook of veterinary internal medicine: diseases of the dog and cat. 2005 (6th edition).
3) Haggstrom J, Boswood A, O'Grady M, et al. Effect of pimobendan on survival in dogs with congestive heart failure due to myxomatous mitral valve disease. Abstract presented at the American College of Veterinary Internal Medicine 2008 congress, June 4-7, San Antonio, Texas.

ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจในสุนัขในประเทศดังต่อไปนี้พร้อมที่จะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับท่าน

ท่านที่ต้องการข้อมูลเฉพาะของแต่ละประเทศ กรุณาติดต่อ:
ออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์
แองเจล่า ฮินช์ลีย์
สปินิเฟ็กซ์ คอมมิวนิเคชั่นส์
โทร: +61-2-9954-4051
อีเมล์: angela.hinchley@spinifexcommunications.com.au

แคนาดา
คริสเตียน โดเฮอร์ตี
เดลต้า มีเดีย อิงค์
โทร: +1-613-233-9191
อีเมล์: Cristiane@DeltaMedia.ca

ฝรั่งเศส
โดมินิค เคอฟอร์น
ไอ แอนด์ อี คอนซัลแทนท์
อีเมล์: dkerforn@i-e.fr

เยอรมนี
เปตรา วอน เดอ ลาจ
มาสเตอร์มีเดีย
โทร: +49-40-507-113-44
อีเมล์: vonderlage@mastermedia.de

สหราชอาณาจักร
แดนนี่ สเต็ปโต
เร้ด ดอร์ คอมมิวนิเคชั่นส์
อีเมล์: dstepto@rdcomms.com

ที่มา: เบอริงเกอร์ อินเกลไฮม จีเอ็มบีเอช


โรคหัวใจในสุนัขคืออะไร

โรคหัวใจที่พบในสุนัขสามารถพบได้เช่นเดียวกับในคน คือสามารถพบได้ตั้งแต่เกิด หรือหลังเกิด แต่โดยทั่วไปมักพบว่าโรคหัวใจในสุนัขมีการพัฒนาขึ้นในช่วงกลางๆ ชีวิตโรคหัวใจของสุนัขที่เกิดขึ้นภายหลัง (acquired heart disease) เป็นลักษณะที่พบได้บ่อยที่สุด, สุนัขที่พบว่าเป็นโรคหัวใจมักเป็นสุนัขที่มีอายุมาก 


โรคหัวใจในสุนัขที่พบได้เสมอมี 2 ชนิด

โรคหัวใจชนิดที่เกี่ยวกับลิ้วหัวใจ โดยที่ลิ้นหัวใจมีการปิดไม่ดี ทำให้มีการรั่ว ยังผลทำให้การไหลเวียนของเลือดผิดปกติ 
โรคหัวใจที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อหัวใจ โดยมักพบว่าผนังห้องหัวใจบางและมีความอ่อนแอ บีบตัวไม่ดี
โรคหัวใจทั้งสองชนิดจะค่อยพัฒนาขึ้น โดยใช้ระยะเวลา แต่ผลในที่สุดก่อให้เกิดภาวะที่มีความรุนแรงต่อการทำงานของหัวใจที่เรียกว่า หัวใจล้มเหลว(heart failure)


ปัจจัยโน้มนำให้เกิดโรคหัวใจในสุนัข
  • อายุ  สุนัขอายุมาก สุนัขชรา ย่อมมีโอกาสเรื่องเป็นโรคหัวใจสูงเช่นเดียวกับ
  • ความอ้วน 
  • พันธุ์สุนัข
  • อัตราการออกกำลังกายหรือใช้งานที่หักโหม
  • ปัญหาความเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อต่างๆ อย่างรุนแรง โดยเฉพาะโรคติดเชื้อแบคทีเรีย 
  • พันธุกรรม ฯลฯ

อาการของโรคหัวใจในสุนัขเป็นอย่างไร

อาการของโรคหัวใจในสุนัขค่อนข้างผันแปร หรือไม่แน่นอน อาจจะพบได้ตั้งแต่ประเภทที่ไม่สามารถสังเกตอาการได้จนถึงสามารถ สังเกตพบอาการได้ แต่อาการจะมีความเด่นชัด หรือมีความรุนแรงมากขึ้นเมื่อการพัฒนาของโรคหัวใจมีมากขึ้น อาการโรคหัวใจในสุนัขที่พบได้ส่วนใหญ่ได้แก่ :
  • อ่อนเพลียง่าย หรือขาดพลังงาน (lack of energy) 
  • หายใจลำบาก 
  • ไม่กินอาหารและน้ำหนักตัวลดลง 
  • มีการไอบ่อยๆ 
  • อ่อนแอ 
  • เป็นลม(fainting) 
  • ท้องขยายใหญ่(abdominal swelling) 

ทราบได้อย่างไรว่าสุนัขเป็นโรคหัวใจ

ผู้ที่จะให้คำตอบที่ดีที่สุดว่าสุนัขเป็นโรคหัวใจคือ สัตวแพทย์ประจำตัวสุนัขของท่าน การนำสุนัขของท่านไปตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อตรวจร่างกาย เป็นสิ่งที่สำคัญในการที่จะทำให้ตรวจพบปัญหาทางสุขภาพ หรือโรคหัวใจในระยะเริ่มต้นได้
เมื่อนำสุนัขไปพบสัตวแพทย์ สัตวแพทย์อาจจะถามเจ้าของถึงอาการ หรือข้อมูลที่จำเพาะเกี่ยวกับสุนัขของท่าน (การซักประวัติสัตว์ป่วย) ก่อนที่จะทำการตรวจร่างกายสุนัข ถ้าสัตวแพทย์สงสัยว่ามีปัญหาทางสุขภาพ หรือโรคหัวใจ อาจจะต้องมีการตรวจพิเศษเพื่อการวินิจฉัยโรคที่จำเพาะมากขึ้น เช่น การตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ เอ็กซเรย์ ตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) หรือตรวจวิธีการอื่นๆที่จำเป็น การตรวจร่างกายเป็นประจำ(ทุกปี)จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะทำให้ สามารถตรวจพบโรคหัวใจในสุนัขในระยะเริ่มต้นได้


โรคหัวใจของสุนัขสามารถรักษาได้หรือไม่

โรคหัวใจของสุนัขสามารถรักษาได้ แม้ว่าไม่มีการรักษาแบบใดๆ ที่สามารถรักษาโรคหัวใจของสุนัขได้ทุกชนิด การรักษาด้วยวิธีการต่างๆ หรือสมัยใหม่สามารถทำได้ ความสำเร็จของการรักษาโรคหัวใจสุนัขขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ ประการ แต่การตรวจพบปัญหาโรคหัวใจในระยะแรกๆจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพราะจะเป็นการช่วยรักษาชีวิตสุนัขของท่านให้ยืนยาวต่อไปและมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

2009-06-07

5 ข้อดีของสุนัข บีเกิ้ล

มีใบหน้าที่น่ารัก หูตูบ และดวงตากลมโตสีน้ำตาลอ่อน ซึ่งทำให้คุณหลงรักเค้าได้ง่ายๆ ที่สำคัญคือบีเกิ้ลจะรักเด็ก ผู้ใหญ่ สัตว์เลี้ยงอื่นๆ และทุกๆ คนในครอบครัว

ด้วยจุดประสงค์ดั้งเดิมในการใช้เป็นสุนัขล่าสัตว์ ทำให้บีเกิ้ลถูกพัฒนาให้มีจมูกไว จึงมีทักษะการดมกลิ่นที่ดีเยี่ยม สามารถปฏิบัติงานได้หลากหลายรูปแบบ

สุนัขสายพันธุ์บีเกิ้ลมักไม่ค่อยกลัวตัวประหลาด ดังนั้นจึงไม่ต้องกลัวว่าเค้าจะตกใจจนเกินไปเวลาที่คุณถือตุ๊กตาหน้าตาแปลกๆ เข้าบ้าน

บีเกิ้ลมีพลังเห่าหอนอันรุนแรงซึ่งอาจทำให้ขโมยแสบแก้วหู และช่วยให้คุณสามารถตื่นขึ้นมาได้ทันการณ์

ถึงจะเสียงดีแค่ไหนเค้าก็ไม่ปากเปราะ สุนัขสายพันธุ์บีเกิ้ลจะไม่เห่าพร่ำเพรื่อนอกจากว่ามีคนแปลกหน้าเดินรุกล้ำเข้ามาในบ้าน


รายละเอียดที่ได้จัดทำในส่วนของบิเกิ้ล

บีเกิ้ล (Beagle)

ลักษณะของสุนัข บิเกิ้ล

การเลี้ยงและดูแลสุนัข บีเกิ้ล

ลักษณะนิสัยสุนัข บีเกิ้ล

5 ข้อดีของสุนัข บีเกิ้ล

ลักษณะนิสัยสุนัข บีเกิ้ล

ปกติตามธรรมชาติบีเกิ้ลเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีความจงรักภักดี สุภาพ แข็งแรงและอึดได้เท่าที่คุณจะใส่ใจฝึกให้พวกเขาเป็น และเขายังเป็นเพื่อนเล่นของเด็กได้เป็นอย่างดี ความจริงบีเกิ้ลจะกลายเป็น"มนุษย์"ถ้าคุณแกล้งลืมเตือนเขาว่าจริงๆ แล้วเขาเป็นสุนัขด้วยความที่รักและเชื่อฟังผู้เป็นเจ้านายบีเกิ้ลไม่เคยแสดงความหงุดหงิด หรือก้าวร้าวไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ใดๆ บีเกิ้ลคือสุนัขล่าสัตว์ที่มีแต่ความสุขมีความสามารถมากมาย และปรับตัวง่ายไม่ว่าจะถูกใช้ในการไล่ล่าสัตว์ในตอนเช้า เป็นเพื่อนเล่นของเด็กๆ ในตอนบ่ายแล้วยังนำมาอุ้มเล่นในตอนเย็นได้อีก

ความเข้ากันได้กับสัตว์เลี้ยงอื่นๆ

บีเกิ้ลเป็นสุนัขที่ล่าสัตว์เป็นฝูง ดังนั้นคุณจึงไม่ควรปล่อยเขาให้เหงาอยู่ตัวเดียว


ความต้องการการเอาใจใส่ดูแล

บีเกิ้ลต้องการการดูแลเพียงเล็กน้อย แต่ต้องมีการคอยควบคุมน้ำหนักเนื่องจากนิสัยชอบกินของเขา อย่าใจอ่อนกับสายตาที่วิงวอนขออาหารขณะที่คุณกำลังกินอาหาร การฝึกให้เชื่อฟังคำสั่งและการเข้าสังคมเป็นสิ่งสำคัญกับบีเกิ้ลทุกตัวเพื่อให้เขาอยู่ร่วมกับเราอย่างมีความสุขภายใต้การควบคุมที่เหมาะสมบีเกิ้ลคือสุนัขล่าสัตว์ด้วยการดมกลิ่น คุณไม่ควรปล่อยเขาเดินโดยไม่มีการควบคุม เพราะถ้าพวกเขาได้กลิ่นยั่วยุที่โชยมาเขาจะทำตามธรรมชาติของสายพันธุ์นักล่าทันที คือตามกลิ่นไป และพูดได้ว่าเมื่อบีเกิ้ลเปิดจมูก หูของมันก็จะปิดทันที! สุนัขเหล่านี้ต้องอยู่ในบริเวณที่มีรั้วรอบขอบชิด เพราะพวกมันช่างไม่มีสัญญาณระวังภัยบนท้องถนนเอาเสียเลยและมักมีความเข้าใจอย่างผิดๆ ว่ารถทุกคันจะหยุดรอให้พวกมันไปก่อน


2009-06-06

การเลี้ยงและดูแลสุนัข บีเกิ้ล

การให้อาหารบีเกิ้ลที่ถูกต้อง

อายุระหว่าง 2-3 เดือน ควรให้อาหารเม็ดวันละ 4 มื้อ มื้อละ 1 ถ้วย (ทุกๆ 4-6 ชั่วโมง) โดยอาจใช้ถ้วยกาแฟขนาดเล็กตวง ผสมกับอาหารกระป๋อง 1 ช้อนโต๊ะ คลุกเคล้าให้ทั่ว

อายุระหว่าง 3-4 เดือน ควรให้อาหารเม็ดวันละ 3 มื้อ มื้อละ 1 ถ้วย (ทุกๆ 6-8 ชั่วโมง) ผสมอาหารกระป๋อง 1 ช้อนโต๊ะ

อายุระหว่าง 4-12 เดือน ควรปรับมาให้อาหารเม็ดวันละ 2 มื้อ มื้อละ 1 ถ้วย หรืออาจจะมากน้อยกว่านั้นเล็กน้อย โดยให้สังเกตดูรูปร่าง ถ้าท้องป่องมากเกินไปควรลดจำนวนอาหารแต่ละมื้อลงบ้าง และต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับระดับการออกกำลังกายของเค้าด้วย หากบีเกิ้ลของคุณมีโอกาสออกกำลังกายน้อย ปริมาณอาหารที่ให้ก็ควรปรับลดลง

อายุครบ 12 เดือนขึ้นไป สามารถลดปริมาณการให้อาหารเหลือวันละ 1 มื้อ มื้อละ 1-1/2 ถ้วย ก็เพียงพอแล้ว

นม ไม่จำเป็นต้องให้นมลูกสุนัขอีกหลังจากอายุครบ 2 เดือนขึ้นไป เพราะเมื่ออายุพ้น 2 เดือนแล้วเค้าจะสามารถหาแคลเซียมทดแทนจากการกินอาหารสำเร็จรูปได้

อาหารเสริม สำหรับบีเกิ้ลป่วยอาจให้อาหารเสริมบ้าง แต่ไม่มีความจำเป็นต้องให้อาหารเสริมในยามที่เค้ามีสุขภาพปกติ

อาหารสด ไม่ควรให้อาหารสด (อาหารคน) กับบีเกิ้ลโดยเด็ดขาด เพราะเค้าอาจติดใจรสชาติ กลิ่นของอาหารคน และไม่อยากกินอาหารเม็ดอีกต่อไป นอกจากนั้นการให้อาหารสดยังอาจทำให้เค้าได้รับสารอาหารไม่เพียงพอหรือได้รับมากเกินไปจนทำให้มีปัญหาสุขภาพตามมาภายหลัง โดยเฉพาะเมื่อเค้าอายุมากขึ้น เช่น ปัญหาด้านการเจริญเติบโต ปัญหาสุขภาพขน การให้อาหารสดอาจให้บ้างเล็กน้อยเพื่อใช้เป็นรางวัลสำหรับการฝึกเท่านั้น (ซึ่งอาจเป็นจำพวกตับ ไส้กรอก แฮม หรือชีส ก็ได้)

ห้ามให้สุนัขกินช็อกโกแลตและหัวหอม เป็นอันขาด เพราะอาจทำให้สุนัขเป็นอันตรายถึงตายได้


การดูแลทำความสะอาด

การดูแลทำความสะอาดให้สุนัขขนสั้นอย่างบีเกิ้ลนั้นแสนง่าย แค่อาบน้ำให้เค้าอาทิตย์ละครั้งก็เพียงพอ จากนั้นก็เช็ดหรือเป่าตัวของเค้าให้แห้งพร้อมๆ กับแปรงขนไปด้วย หรือถ้าไม่สกปรกมากอาจใช้แค่ผ้าสะอาดชุบน้ำเช็ดตัวให้เค้าก็ได้
ส่วนเรื่องการแปรงขนให้บีเกิ้ลสามารถทำได้โดยง่าย เนื่องจากว่าเค้ามีขนสั้นและสีเข้ม ควรแปรงขนให้แก่เค้าทุกๆ 3-4 วัน เพื่อกำจัดเส้นขนที่ตายแล้วออกไปและช่วยเพิ่มความเงางามแข็งแรงแก่เส้นขน


การออกกำลังกาย

แม้ว่าสุนัขสายพันธุ์นี้จะมีขนาดเล็ก แต่ด้วยเหตุที่จุดประสงค์ดั้งเดิมที่เค้าถูกพัฒนาขึ้นมาคือการเป็นสุนัขสำหรับล่าสัตว์ ทำให้พวกเค้ามีพลังงานในตัวมากและชื่นชอบการออกกำลังกายเป็นอย่างยิ่ง จึงควรพาเค้าไปออกกำลังกายบ้างอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งเช้า-เย็น และหากคุณอาศัยอยู่ในพื้นที่ซึ่งไม่มีบริเวณกว้างขวางนัก อย่างเช่น คอนโดมิเนียม อพาร์ทเมนต์ คุณก็จะต้องพิจารณาให้ดีว่าคุณพอมีเวลาและมีสวนสาธารณะใกล้เคียงซึ่งคุณสามารถพาเค้าไปเดินเล่นออกกำลังได้หรือไม่


การดูแลทั่วๆ ไป

หู บีเกิ้ลมีใบหูยาวปรกลงมา จึงควรหมั่นเช็ดทำความสะอาดบริเวณใบหูทั้งภายในและภายนอกรูหูเป็นประจำ

ตา ควรหมั่นตรวจเช็คนัยน์ตาของบีเกิ้ลว่ามีสิ่งผิดปกติใดๆ บ้างหรือไม่ เช่น มีแผลบนกระจกตา มีฝ้าขาว หรือมีขี้ตา เกรอะกรังมากกว่าปกติ หากพบเห็นก็ควรรีบพาเค้าไปพบสัตวแพทย์ทันที

จมูก จมูกของสุนัขที่มีสุขภาพดีจะเรียบชื้น เป็นมัน หากพบว่าบีเกิ้ลของคุณจมูกแห้งหรือชื้นเกินไป มีน้ำมูกไหล ให้สันนิษฐานว่าเค้าคงไม่สบายเสียแล้ว

ฟัน อาหารที่เหมาะสมสำหรับให้บีเกิ้ลที่สุดควรเป็นอาหารเม็ด เพราะจะช่วยขัดฟันได้และมีสารอาหารครบถ้วน นอกจากนั้นก็ต้องแปรงฟันให้เค้าเป็นประจำ โดยควรฝึกฝนให้เค้าเคยชินกับการแปรงฟันตั้งแต่ยังเล็ก


รายละเอียดที่ได้จัดทำในส่วนของบิเกิ้ล

บีเกิ้ล (Beagle)

ลักษณะของสุนัข บิเกิ้ล

การเลี้ยงและดูแลสุนัข บีเกิ้ล

ลักษณะนิสัยสุนัข บีเกิ้ล

5 ข้อดีของสุนัข บีเกิ้ล

2009-06-05

ภาวะโรคอ้วนในสุนัข

การบ่งชี้ว่าสัตว์มีปัญหาโรคอ้วน

เราสามารถตรวจสอบสุนัขว่ามีปัญหาโรคอ้วนได้โดย

1. เปรียบเทียบน้ำหนักตัวกับน้ำหนักมาตรฐานของสายพันธุ์ 
โดยปกติถ้าสูงกว่าร้อยละ 15 แปลว่าสัตว์มีปัญหาภาวะอ้วนแล้ว และอยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะมีโรคอื่นๆ ตามมาด้วย

2. สุนัขพันธุ์ผสม 
อาจจะไม่มีน้ำหนักตัวมาตรฐานของสายพันธุ์ก็อาจจะใช้การคลำบริเวณ ซี่โครง และท้องด้านล่างก็ได้

วิธีการคลำกระดูกซี่โครง คือ ยืนด้านหลังสุนัข วางหัวนิ้วโป้งของมือทั้ง 2 ข้าง ไว้ตรงบริเวณกลางหลัง แล้วกางมือออกไปด้านข้างบริเวณกระดูกซี่โครงทั้ง 2 ข้างลำตัว แล้วลูบกลับไปมาหน้า-หลัง วิธีการคลำในลักษณะนี้จริงๆ แล้วสามารถใช้ได้กับทุกตัวไม่ว่าจะเป็นพันธุ์แท้ หรือพันธุ์ผสม โดยมีการเรียกค่าที่ได้จากการบ่งชี้ด้วยวิธีนี้ว่า ค่าคะแนนความสมบูรณ์ของร่างกาย (body condition score : (BCS)) ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ระดับ คือ

1. ผอมมาก สามารถคลำพบกระดูกซี่โครงได้อย่างง่าย บริเวณดังกล่าวไม่มีชั้นไขมันปกคลุมเลย บริเวณโคนหางก็มีปุ่มกระดูกโผล่ขึ้นมาให้เห็นอย่างชัดเจน เมื่อมองจากด้านบนในสัตว์ที่อายุมากกว่า 6 เดือน พบว่าจะมีลักษณะเอวคอดคล้ายกับนาฬิกาทราย และเมื่อมองจากด้านข้างจะพบรอยคอดอย่างชัดเจนบริเวณท้อง

2. น้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน บริเวณกระดูก ซี่โครงมีชั้นไขมันปกคลุมเล็กน้อย บริเวณโคนหางก็เริ่มคลำพบชั้นของเนื้อเยื่อปกคลุมระหว่างผิวหนังกับกระดูกได้บ้าง เมื่อมองจากด้านบนในสัตว์ที่อายุมากกว่า 6 เดือนยังคง
พบลักษณะเอวคอดคล้ายกับนาฬิกาทราย และเมื่อมองจากด้านข้างจะพบรอยคอดอย่างชัดเจนบริเวณท้อง

3. น้ำหนักมาตรฐาน บริเวณกระดูกซี่โครงมีชั้นไขมันปกคลุม บริเวณโคนหางจะมองไม่เห็นปุ่มกระดูก แต่พอคลำจะสัมผัสพบกระดูกได้โดย ผ่านชั้นของผิวหนังและเนื้อเยื่อไขมันบางๆ เมื่อมองจากด้านบนในสัตว์ที่อายุมากกว่า 6 เดือนพบว่าจะมีลักษณะเอวคอดเล็กน้อย และเมื่อมองจากด้านข้างจะพบรอยคอดเล็กน้อยเช่นกันบริเวณท้อง

4. น้ำหนักเกินมาตรฐาน บริเวณกระดูกซี่โครง จะเริ่มคลำพบได้ยากเนื่องจากมีชั้นไขมันมาปกคลุมมากขึ้น บริเวณโคนหางจะพบว่ามีขนาดใหญ่ขึ้นเนื่องจากมีชั้นของเนื้อเยื่อมาปกคลุมหนาตัวขึ้น เมื่อมองจากด้านบนจะพบว่าแผ่นหลังมีขนาดกว้างมากขึ้น แต่เมื่อมองจากด้านข้างพบรอยคอดได้เล็กน้อยจนถึงมองไม่เห็นเลย 

5. อ้วน บริเวณกระดูกซี่โครงและโคนหางมีชั้นไขมันมาปกคลุมหนามาก ทำให้คลำพบตัวกระดูกได้ยาก เมื่อมองจากด้านบนในสัตว์ที่อายุมากกว่า 6 เดือนพบว่าจะแผ่นหลังกว้างมาก และเมื่อมองจากด้านข้างจะพบว่าท้องห้อยขยายลงมาทางด้านล่างมากขึ้น มองไม่พบรอยคอดของเอวเลยเนื่องจากมีชั้นไขมันมาปกคลุมด้านข้างมาก 

3. ลักษณะที่เห็นได้ชัด
  • มองเห็นท้องแกว่งไปมา หรือยื่นออกมาจากด้านข้าง เมื่อมองจากด้านบนของตัวสัตว์ลงมา
  • มีชั้นเนื้อเยื่อไขมันมาปกคลุม บริเวณโคนหางและปุ่มสะโพก
  • เดินอุ้ยอ้าย
  • ทำตัวเฉื่อยชา เชื่องช้า หรือเกียจคร้าน
ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดภาวะอ้วน

1. อายุ ยิ่งอายุมากขึ้น ปัญหาภาวะอ้วนก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยพบว่าในสัตว์ที่อายุต่ำกว่า 2 ปี จะไม่ค่อยมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน แต่เมื่ออายุเพิ่มมากกว่านี้จะพบว่าเกิดภาวะอ้วนเพิ่มสูงขึ้นจนกระทั่งอายุที่พบมาก
ที่สุดคือ 6-8 ปี หลังจากนั้นจะค่อยๆ คงที่ และลดลงอีกครั้งหลังจากอายุ 12 ปี

2. เพศ มีการสังเกตพบว่า เพศเมียจะอ้วนง่ายกว่าเพศผู้ แต่ถ้าทำหมันแล้วก็จะมีความเสี่ยงต่อภาวะอ้วนสูงกว่าในสัตว์ที่ยังไม่ได้ทำหมันถึง 2 เท่า

3. พันธุกรรม มีรายงานว่าอาจจะมีความเกี่ยวข้องกับภาวะอ้วน ตั้งแต่ร้อยละ 30-70 โดยส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับขบวนการ เผาผลาญพลังงานที่แตกต่างกันไปในสัตว์แต่ละตัว เป็นต้น

4. พันธุ์ มีผลเกี่ยวข้องค่อนข้างมากพันธุ์สุนัขที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะอ้วน คือ
  • ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ (Labrador retrievers)
  • Cairn Terriors
  • ค็อกเกอร์ สเปเนียล (Cocker Spanials)
  • ดัชชุน (Dachshunds)
  • เซตแลนด์ ชีพด๊อก (Shetland Sheepdogs)
  • Basset Hounds
  • บิเกิ้ล (Beagles)
  • ปั๊ก (Pug)
และพันธุ์ที่มีความเสี่ยงต่ำ คือ
  • เยอรมัน เชฟเฟิร์ด (German Shepherds)
  • เกรย์ฮาวด์ (Grayhounds)
  • ยอร์คเชียร์ เทอร์เรีย (Yorkshire Terriers)
  • โดเบอร์แมน (Dobermans)
  • Lurchers
  • วิปเพ็ท (Whippets)
  • บ็อกเซอร์ (Boxers)
5. พฤติกรรม เห็นได้ค่อนข้างชัดเจน จะเกี่ยวข้องทั้งในส่วนของตัวสัตว์เอง และเจ้าของสัตว์ด้วย คือ
ด้านตัวสัตว์
  • ชอบร้องขออาหารจากเจ้าของ
  • ชอบขโมยกินอาหารจากในชามของตัวอื่น ๆ
ด้านเจ้าของ
  • ชอบให้อาหารที่มีแคลอรี่สูงๆ เช่น เนย มันฝรั่งทอด หรือเนื้อติดมัน เป็นต้น
  • ให้อาหารมากเกินความต้องการของสัตว์
  • ชอบให้ขนมพร่ำเพรื่อ
  • ไม่ค่อยพาไปออกกำลังกาย
นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า ถ้าเจ้าของสัตว์อ้วนจะส่งผลให้สัตว์เลี้ยงมีความเสี่ยงต่อภาวะอ้วนสูงตามไปด้วย โดยเฉพาะในเจ้าของที่มีอายุอยู่ในช่วงวัยกลางคนจนถึงอายุมาก ก็มีส่วนทำให้สัตว์เลี้ยงมีภาวะอ้วนสูงด้วย ซึ่งอาจจะเนื่องมาจากการที่เจ้าของเกษียณอายุแล้ว มีเวลาอยู่บ้านทำอาหารและรับประทานอาหารมากขึ้น และมีลักษณะของรูปแบบการใช้ชีวิตที่ไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหว หรือออกกำลังกายมากนัก

6. การให้อาหารแบบ ad libitum ปัจจัยนี้จะเกี่ยวเนื่องกับอาหารสำเร็จรูป เนื่องจากอาหารสำเร็จรูปไม่ค่อยเกิดการบูดเสียเมื่อตั้งทิ้งไว้ และง่ายต่อการให้ ทำให้เจ้าของส่วนใหญ่ตั้งอาหารเม็ด ไว้ให้สัตว์กินตลอดเวลา หิวเมื่อไรก็ไปทาน จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้สัตว์ได้รับอาหารมากเกินความต้องการของร่างกาย แล้วเกิดภาวะอ้วนตามมาได้

7. ที่อยู่อาศัย โดยปัจจุบันคนส่วนใหญ่นิยมอยู่ในคอนโด หรือหอพักที่มีบริเวณน้อยลง และอาจไม่มีที่ให้สัตว์ได้เคลื่อนไหวหรือออกกำลังกายมากนัก จนเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลทำให้สัตว์อ้วนตามมาได้


ผลกระทบของภาวะอ้วน

1. ปัญหาข้อต่อ หรือปัญหาด้านการ เคลื่อนไหว มากกว่าร้อยละ 24 ของสุนัขที่มีภาวะอ้วน จะมีปัญหารุนแรงเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวด้วย โดยปัญหาหลักๆ ที่พบก็คือ arthritis, herniatedintervertebral disks, hip osteoarthritis และ ruptered of anterior cruciate ligament เนื่องจากต้องรับน้ำหนักที่มากเกินไป มีรายงานว่าถ้าลดน้ำหนักสุนัขที่มีปัญหา hip osteoarthritis ได้ประมาณร้อยละ 11-18 จากน้ำหนักเริ่มต้นก็จะ
ทำให้ปัญหาข้างต้นลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

2. ปัญหาหายใจลำบาก โดยเฉพาะในระหว่างออกกำลังกาย เนื่องจากร่างกายต้องการออกซิเจนมากขึ้น เนื่องจากมีส่วนเกินของเนื้อเยื่อไขมันที่เพิ่มมากกว่าปกติ นอกจากนี้เนื้อเยื่อไขมันที่มาปกคลุมบริเวณช่องอกจะทำให้มีการยืดขยายของช่องอกยากกว่าปกติด้วย ทำให้สัตว์ต้องใช้ความพยายามในการหายใจเข้าออกเพิ่มขึ้น ทำให้ประสิทธิภาพของการหายใจลดลง และเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะ alveolar hypoventilation ด้วย
ทำให้เกิดภาวะ dyspnea, impaired endurance และ fatique ตามมา

3. ความดันโลหิต Hypertension จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากภาวะอ้วน การกินอาหารมากเกินความต้องการจะทำให้ระบบ sympathetic ถูกกระตุ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจได้ นอกจากนี้ภาวะความดันโลหิตสูงจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคไต หรือทำให้โรคมีความรุนแรงมากขึ้นได้

4. Congestive heart disease สัตว์ที่เป็นโรคอ้วนจะมีภาวะความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ เนื้อเยื่อไขมันเข้าไปแทรกตามกล้ามเนื้อหัวใจมากขึ้น ทำให้เกิดโรค congestive heart disease ได้ ซึ่งความเสี่ยงต่อโรคนี้จะสูงขึ้นเป็น 2 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์ปกติ

5. ความสามารถในการทำงานของตับลดลง เนื่องจากมีภาวะ hepatic lipidosis 

6. ทำให้ความสามารถในการสืบพันธุ์ บกพร่องทั้งในเพศผู้และเพศเมีย ในเพศผู้ระดับของ plasma testosterone concentration จะลดลง และความสามารถในการเจริญเติบโตของ sperm ก็จะบกพร่องด้วย ซึ่งเนื่องจากการไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิในบริเวณถุงอัณฑะและลูกอัณฑะได้ เพราะมีไขมันไปแทรกในถุงหุ้มอัณฑะ ทำให้เป็นฉนวนความร้อน โดยสุนัขที่เป็นโรคอ้วนจะมีความเสี่ยงต่อภาวะนี้มากกว่าสุนัขปกติถึงร้อยละ 64 ในเพศเมีย จะทำให้มีความเสี่ยงต่อภาวะคลอดยากมากขึ้น

7. ไม่ทนต่ออากาศร้อน เนื่องจากมีชั้น subcutaneous fat มากขึ้น

8. เกิดโรคผิวหนังได้ง่าย มากกว่าสุนัขปกติถึงร้อยละ 40 เนื่องจากไม่สามารถเลียทำความสะอาดบริเวณต่างๆ ของร่างกายได้อย่างทั่วถึงเพราะเอี้ยวตัวไม่ได้ กับมีรอยพับของชั้นผิวหนังที่เกิดขึ้นเนื่องจากภาวะอ้วนด้วย ทำให้เป็นที่หมักหมมของสิ่งสกปรก และเกิดโรคผิวหนังมากขึ้น

9. เกิดเนื้องอกของเต้านม ชนิด adenocarcinoma ได้ง่ายกว่าสุนัขปกติถึงร้อยละ 50 และเอื้อต่อการเกิดเนื้องอกชนิด transitional cell carcinoma ที่กระเพาะปัสสาวะ ได้อีกด้วย

10. มีความเสี่ยงต่อการผ่าตัดสูงขึ้น และทำให้การผ่าตัดยากมากกว่าปกติเนื่องจากยาสลบ จะถูกดูดซึมเข้าไปในเนื้อเยื่อไขมัน ทำให้จำเป็นต้องใช้ยาสลบในขนาดที่สูงกว่าขนาดปกติ เพื่อเหนี่ยวนำให้สัตว์เข้าสู่ภาวะสลบ มีการลดลงของขบวนการเมตาบอลิซึมของตับและไต ทำให้มีการขับยาสลบออกจากร่างกายลดลงกว่าปกติ ปอดทำหน้าที่ได้ไม่ดี นอกจากนี้ภาวะอ้วนยังมีความเสี่ยงต่อการที่แผลจะติดเชื้อหรือแผลแตก
มากขึ้น และเพิ่มโอกาสเกิด thrombophlebitis และ pulmonary embolism มากขึ้น

11. ขัดขวางต่อการตรวจวินิจฉัยโรค เช่น การเคาะ และการฟังเสียง เป็นต้น

12. ทำให้ท้องผูก มีแก๊สในกระเพาะมากกว่าปกติ รวมทั้งเกิดแผลหลุม เนื่องจากการทำหน้าที่ของระบบทางเดินอาหารผิดปกติไป

13. มีความต้านทางต่อการติดเชื้อน้อยลง

14. มีการหลั่ง growth hormone ที่ผิดปกติ

15. มีระดับการหลั่ง adrenocortical สูงขึ้น

16. มีความเสี่ยงต่อภาวะ metabolic bone disease สูงขึ้น และภาวะขาดวิตามินดี เนื่องจากไขมันที่เข้ามาปกคลุมลำตัวจะลดโอกาสการได้รับแสง ultraviolet น้อยลง

17. ทำให้มีรูปร่างไม่น่าดู

18. ทำให้เพิ่มความเสี่ยงและความรุนแรงของโรคเบาหวาน โดยเฉพาะ type II


การจัดการแก้ไขภาวะอ้วน

สามารถทำได้โดย แบ่งเป็นหลักใหญ่ๆ ได้ 3 หลัก คือ

1. ให้อาหารที่ถูกต้อง
1.1 ลดปริมาณแคลอรี่ที่สัตว์ได้รับลง เช่น ให้อาหารที่มีแคลอรี่ต่ำ มีเยื่อใยสูง หรือใช้อาหารสำเร็จรูป เฉพาะสูตรที่ทำมาสำหรับการลดน้ำหนักโดยเฉพาะ
1.2 ไม่ให้สัตว์อยู่ในห้องที่มีการทำอาหารหรือ ในห้องรับประทานอาหาร
1.3 ไม่ให้อาหารสุนัขที่มีภาวะโรคอ้วนรวมกับสุนัขตัวอื่นๆ เพราะอาจจะไปขโมยกินอาหารจากชามของตัวอื่นๆ ได้
1.4 ไม่ให้อาหารอื่นๆ ที่นอกเหนือจากอาหารที่คำนวณแล้วว่าเหมาะสมในแต่ละวันและระวังภาวะอดอาหารอาจจะทำให้เกิดภาวะhepatic lipidosis ทำให้ต้องปรับลดระดับอาหารลงอย่างช้าๆ
1.5 อาจจะแบ่งให้อาหารเป็นมื้อเล็กๆ วันละหลายๆ มื้อ

2. ออกกำลังกาย ออกกำลังกายให้สัตว์เลี้ยงเป็นประจำสม่ำเสมอ เช่น พาจูงเดิน โดยจะค่อยๆ เพิ่มปริมาณระยะทางขึ้น โดยอาจคงเวลาเท่าเดิมก่อนในช่วงแรก พอสัตว์เริ่มมีการปรับตัวได้ จะทำให้สัตว์สามารถเดินในอัตราที่เร็วขึ้นได้ ทำให้จำนวนระยะทางที่ใช้ในการออกกำลังกายเพิ่มขึ้นและทำให้เพิ่มปริมาณพลังงานที่ใช้ไปในขณะที่ใช้เวลาเท่าเดิม หรืออาจใช้การโยนจานบินพลาสติก หรือกิ่งไม้ แล้วให้วิ่งไปเก็บมาก็ได้ ในรายที่มีปัญหาเกี่ยวกับขาก็อาจใช้การว่ายน้ำก็ได้ 

3. พฤติกรรมของเจ้าของ
3.1 ชั่งน้ำหนักสัตว์เลี้ยง อาทิตย์ละ 1 ครั้ง และจดบันทึกเป็นกราฟ เพื่อให้ง่ายต่อการสังเกตการขึ้นลงของน้ำหนักตัว
3.2 ต้องมีความตั้งใจจริงที่จะลดน้ำหนักให้กับสัตว์เลี้ยง
3.3 ไม่ให้ขนมขบเคี้ยวของคนแก่สัตว์
3.4 ให้อาหารในชามอาหารเท่านั้น

2009-06-04

ลักษณะของสุนัข บีเกิ้ล

ลักษณะทั่วไป: บีเกิ้ลถูกจัดอยู่ในกลุ่ม "สุนัขไล่หมาจิ้งจอกขนาดเล็ก" ขนสั้นเรียบลำตัวมีความยาวของลำตัวมากกว่าด้านสูงเล็กน้อย หูชิดกับหัว ปกติสีของบีเกิ้ลมี 3 สี ขาว ดำและแทน แต่สีที่เด่นและเป็นที่ยอมรับ คือสีผสมกันทุกสีจะเป็นที่ยอมรับ สุนัขบีเกิ้ลเป็นสุนัขที่อยู่ในกลุ่มต้นๆ ของสุนัขล่าสัตว์ แผลเป็นส่วนใหญ่มักเกิดจากการล่าสัตว์ รอยตัด รอยแหว่งที่หู ที่อาจเกิดจากหญ้า หนาม ใบไม้เป็นพิษ เป็นต้น

ลักษณะพิเศษ: เป็นสุนัขที่มีลักษณะเด่น คือความเป็นอิสระ ซึ่งเป็นลักษณะของสุนัขล่าสัตว์ แม้ว่าอาจจะแตกต่างไปบ้างในแต่ละตัว และอีกอย่างคือความเป็นมิตร เป็นสัตว์เลี้ยงที่ดีในบ้านหรือนอก

ขนาด: สูง 33-40 เซนติเมตร น้ำหนัก 12-14 กิโลกรัม

ศีรษะ: กะโหลกค่อนข้างยาว ท้ายทอยเป็นรูปโดม หน้าผากกว้างและเต็ม จมูกยาวปานกลาง ส่วนปลายจมูกเห็นชัดเจน

ฟัน: ฟันแข็งแรง สีขาว สบกันพอดี

ตา: ดวงตากลมใหญ่ สายตานุ่มนวล แต่แววตาแสดงออกถึงความกระตือรือร้น ดวงตามีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลแดง

หู: หูอยู่ต่ำเล็กน้อย ชิดกับหัว ขอบหน้าของใบหูชิดกับแก้ม หูมีความยาวมากถ้าจับกางออก ใบหูบาง ขนาดค่อนข้างกว้างและกลม หูไม่ตั้ง

คอ: ลำคอยาวปานกลาง แข็งแรง ไม่ควรมีรอยย่นของผิวหนัง (อาจมีบ้างเล็กน้อยในตำแหน่งด้านล่างตรงมุมของกราม ซึ่งลักษณะเช่นนี้ยังยอมรับได้)

ลำตัว: ลำตัวสะอาด เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ เส้นโค้งของไหล่จะทำให้การเดินและท่าทางของบีเกิลเต็มไปด้วยความแข็งแรง ดูไม่หนาเทอะทะ

ขาหน้า: ขาตรง เต็มไปด้วยกระดูกซึ่งเป็นลักษณะของกลุ่มสุนัขล่าสัตว์ ข้อเท้าสั้นและแข็งแรง

ขาหลัง: เข่าแข็งแรง ลาดลงพอดี ข้อเท้าสมดุลและแบะออกปานกลาง

เท้า: เท้ากลมได้รูป หุบแน่น อุ้งเท้าแข็งและเต็ม

หาง: หางอยู่ตำแหน่งปานกลาง ปลายหางโค้งขึ้นเล็กน้อย แต่ไม่ไปด้านหน้ามากนัก หางมีขนเป็นพวง ลักษณะที่บกพร่องคือขนหางยาวเกินไป หางยาว โค้งไปทางด้านหน้ามาก หรือหางไม่มีขน

ขน: ขนแน่น สั้น และแข็ง

สีขน: มี 3 สีร่วมกันโดยไม่มีสีใดเด่น

ข้อบกพร่อง: หนังบริเวณคอย่น คอสั้นเกินไป อกลีบ ลำตัวยาว เอวลีบ หางยาวเกินไป สูงเกิน 15 นิ้ว


บีเกิ้ล (Beagle)

สุนัขสายพันธุ์ บีเกิล (Beagle) เป็นสุนัขที่ขึ้นชื่อในเรื่องของความเฉลียวฉลาด ซุกซน คล่องแคล่วว่องไว ซึ่งก็เป็นเพราะพวกเค้าสืบสายเลือดมาจากบรรพบุรุษนักล่ากระต่ายฝีมือฉกาจ
ปัจจุบันนี้แม้จะไม่ได้ทำหน้าที่ผู้ช่วยนายพรานเหมือนสมัยก่อน แต่เค้าก็ได้รับการยอมรับในฐานะสุนัขสำหรับเลี้ยงไว้เป็นเพื่อนที่สุดแสนน่ารัก โกรธใครไม่เป็น เหมาะสำหรับสร้างความสุขให้แก่สมาชิกทุกเพศทุกวัยในครอบครัว จนหากให้จัดอันดับสายพันธุ์สุนัขซึ่งเลี้ยงเป็นเพื่อนได้ดีที่สุด เชื่อแน่ว่าบีเกิลคงถูกจัดอยู่ในอันดับต้นๆ

ความเป็นมาของบีเกิ้ล

ต้นกำเนิดของสุนัขสายพันธุ์บีเกิลนั้นไม่เป็นที่แน่ชัด แต่เชื่อกันว่าสุนัขกลุ่ม Hound สายพันธุ์นี้น่าจะมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอังกฤษตั้งแต่ยุคสมัยก่อนที่จักรวรรดิโรมันจะเข้ายึดครอง บางรายงานกล่าวว่ามีการพบสุนัขสายพันธุ์นี้ในสมัยฝรั่งเศสและกรีกโบราณ และมีหลักฐานที่แน่ชัดชิ้นหนึ่งซึ่งบ่งชี้ว่ามีการใช้สุนัขสายพันธุ์นี้สำหรับล่าสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ตัวเล็กๆ อย่างกระต่าย ตั้งแต่ยุคสงครามครูเสด

สุนัขสายพันธุ์บีเกิลสามารถพบเจอได้เกือบทุกพื้นที่ของประเทศอังกฤษเนื่องจากเป็นสายพันธุ์ซึ่งชาวอังกฤษนิยมเพาะมากที่สุดสายพันธุ์หนึ่ง ความสามารถพิเศษอย่างหนึ่งของพวกเค้าคือมีความคล่องแคล่วปราดเปรียวอย่างสูงในการไล่ล่าและแกะรอยกระต่ายป่า ดังนั้นนายพรานชาวอังกฤษจึงมักพาพวกเค้าออกไปเป็นฝูงแต่เช้ามืดเพื่อดมกลิ่นหาเหยื่อ เมื่อพวกเค้าได้กลิ่นเป้าหมายก็จะเห่าบอกเจ้านายและตามตีวงล้อมอย่างไม่ลดละ บีบให้เหยื่อเหลือทางหนีน้อยที่สุด (และหากเจ้ากระต่ายตัดสินใจหนีออกทางที่เหลืออยู่ก็มักต้องพบนายพรานดักรออยู่นั่นเอง) ซึ่งวิธีการดังกล่าวนี้เป็นที่นิยมของนายพรานชาวอังกฤษเป็นอย่างมาก

ในเวลาต่อมา ได้มีผู้นำสุนัขสายพันธุ์บีเกิลไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือว่าได้รับความนิยมในระดับหนึ่ง หากแต่บีเกิลที่เข้ามาในสหรัฐอเมริกาช่วงแรกๆ นั้นก็ยังไม่มีรูปร่างสวยงามตรงตามมาตรฐานสายพันธุ์เหมือนอย่างบีเกิลของประเทศอังกฤษ กระทั่งถึงปี ค.ศ.1870 จึงมีนักพัฒนาสายพันธุ์สุนัขชาวสหรัฐฯ กลุ่มหนึ่งเริ่มหันมาสนใจพัฒนาสายพันธุ์ของบีเกิลอย่างจริงจัง จนทำให้ได้บีเกิลซึ่งมีลักษณะดี เป็นที่ยอมรับ ถูกต้องตามมาตรฐานในที่สุด ซึ่ง American Kennel Club ก็ได้ทำการจดทะเบียนรับรองสุนัขสายพันธุ์บีเกิลตัวแรกเมื่อปี ค.ศ.1885 และต่อมาในปี ค.ศ.1888 จึงได้มีการก่อตั้งชมรมผู้เพาะพันธุ์บีเกิลแห่งสหรัฐฯ ขึ้นอย่างเป็นทางการ

ปัจจุบันสุนัขสายพันธุ์บีเกิลยังคงเป็นสุนัขซึ่งมีผู้นิยมเลี้ยงเป็นจำนวนมาก เนื่องด้วยความน่ารัก คล่องแคล่ว และเป็นมิตรกับทุกคน อย่างไรก็ตามบีเกิลอาจไม่เหมาะนักสำหรับการเป็นสุนัขเฝ้าบ้าน เพราะความที่เค้าต้องการสังคมสูง ชอบเล่นสนุก ชอบผูกมิตรกับสมาชิกในครอบครัวและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ดังนั้นหากปล่อยให้เค้าต้องอยู่ตามลำพังเป็นเวลานานจนเกินไปอาจทำให้เค้าเกิดความเครียดและนำไปสู่พฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์หลายๆ ประการ