2009-06-08

โรคหัวใจในสุนัข

ภัยเงียบของสุนัข...สัตว์เลี้ยงแสนรักของคุณอาจเป็นโรคหัวใจล้มเหลวโดยที่คุณไม่รู้

ผลวิจัยล่าสุดเปิดเผยให้เห็นว่าเจ้าของสุนัขกว่า 50% ไม่เคยตระหนักว่าสุนัขของตนมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจล้มเหลว ทั้งที่มีสุนัขอายุ 7 ปีขึ้นไปมากถึงหนึ่งในสี่ที่เป็นโรคหัวใจ ดังนั้นเจ้าของสุนัขควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค การสังเกตอาการของโรค และการดูแลสุนัขที่เป็นโรค เพื่อให้สุนัขมีชีวิตที่ยืนยาวต่อไป
สถิติที่น่าเป็นห่วงดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจในสุนัขเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง หากเจ้าของสุนัขมีความรู้เกี่ยวกับโรคและสามารถสังเกตอาการของโรคได้ สุนัขก็จะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีและมีชีวิตที่ยืนยาวกว่าเดิม
ข้อมูลดังกล่าวซึ่งได้รับการนำเสนอ ณ ที่ประชุมสัตวแพทย์โลกครั้งที่ 29 (29th World Veterinary Congress) ระบุว่า สุนัขที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวซึ่งเกิดจากโรคลิ้นหัวใจ MMVD (Myxomatous Mitral Valve Disease) จะสามารถมีชีวิตยืนยาวขึ้นหากได้รับการรักษาด้วยยา Pimobendan (Vetmedin(R)) เมื่อเทียบกับการรักษาด้วยยา ACE inhibitor อย่างที่ทำกันมานาน ทั้งนี้ผลการวิจัยในนาม QUEST ซึ่งเป็นศึกษาครั้งใหญ่ที่สุดในหมู่สุนัขที่เป็นโรคหัวใจล้มเหลว จะได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Veterinary Internal Medicine (JVIM) ในปลายปีนี้ กว่า 75% ของสุนัขที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวมีสาเหตุมาจากโรค MMVD ซึ่งเป็นอาการลิ้นหัวใจไมทรัลอุดตันจนส่งผลกระทบต่อการไหลเวียนของเลือดจากหัวใจไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย แม้ว่าปัจจุบันยังไม่มีหนทางรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวที่เกิดจากโรค MMVD แต่ก็มียาหลายตัวที่สามารถประคองอาการเพื่อยืดชีวิตให้กับสุนัขได้
ศาสตราจารย์เจนส์ แฮ็กสตอร์ม จากมหาวิทยาลัยอุปป์ซาลา ประเทศสวีเดน ซึ่งเป็นผู้นำการทดลองในครั้งนี้ กล่าวว่า “การวิจัย QUEST เป็นการศึกษาครั้งสำคัญที่จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งยวดต่อสัตวแพทย์และเจ้าของสุนัข โดยผลการทดลองแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ายา Pimobendan ช่วยยืดเวลาอันมีค่าระหว่างสุนัขและเจ้าของได้จริง”
การวิจัย QUEST เป็นการวิจัยแบบสุ่มของศูนย์วิจัย 28 แห่ง ใน 11 ประเทศทั่วโลก และถือเป็นการวิจัยโรคหัวใจในสัตว์ครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบกลุ่มสุนัขที่ได้รับการรักษาด้วยยา Pimobendan กับกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยยา Benazepril Hydrochloride โดยมีประวัติการใช้ยาขับปัสสาวะมาก่อน การศึกษาครั้งนี้กินเวลา 3 ปี และจะมีการติดตามผลจนกว่าสุนัขจะตายโดยธรรมชาติ, ถูกฉีดยาให้ตายเพื่อให้พ้นจากความทรมาน หรือการรักษาล้มเหลวจนเจ้าของสุนัขขอถอนตัวจากการทดลอง

เบอริงเกอร์ อินเกลไฮม
เบอริงเกอร์ อินเกลไฮม แอนิมอล เฮลท์ (Boehringer Ingelheim Animal Health) และ เบอริงเกอร์ อินเกลไฮม เว็ทเมดิกา (Boehringer Ingelheim Vetmedica) เป็นบริษัทในเครือเบอริงเกอร์ อินเกลไฮม กรุ๊ป (Boehringer Ingelheim Group) ซึ่งเป็น 1 ใน 20 บริษัทเภสัชภัณฑ์ชั้นนำของโลก โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองอินเกลไฮม ประเทศเยอรมนี และพนักงานรวมกว่า 39,800 คน ใน 135 สาขา ใน 47 ประเทศทั่วโลก บริษัทได้ทุ่มเทให้กับการวิจัย พัฒนา ผลิต และทำการตลาดผลิตภัณฑ์ยาคุณภาพสูงทั้งสำหรับคนและสัตว์มาโดยตลอดนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทขึ้นในปี พ.ศ.2428
ในปี พ.ศ.2550 บริษัทมียอดขายสุทธิเกือบ 1.1 หมื่นล้านยูโร โดยหนึ่งในห้าของเงินดังกล่าวได้ถูกนำไปลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาในแผนก Prescription Medicine ซึ่งเป็นธุรกิจใหญ่ที่สุดของบริษัท
ธุรกิจสุขอนามัยสัตว์ของบริษัทมีการดำเนินงานในกว่า 20 ประเทศทั่วโลก อาทิ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี สหราชอาณาจักร อิตาลี สเปน เม็กซิโก กลุ่มประเทศแถบสแกนดิเนเวีย ญี่ปุ่น และจีน โดยนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2498 เป็นต้นมา เบอริงเกอร์ อินเกลไฮม แอนิมอล เฮลท์ ได้ทุ่มเทให้กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของสัตว์ เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างมนุษย์และสัตว์
ท่านที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ http://www.boehringer-ingelheim.com

เกี่ยวกับผลสำรวจ
ผลสำรวจนี้จัดทำขึ้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2551 จากการสอบถามความคิดเห็นของเจ้าของสุนัขรวม 1,531 คนในออสเตรเลีย แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา
สถิติที่น่าสนใจ
- 80% ของผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่าสุนัขเป็น “ส่วนหนึ่งในครอบครัว”
- 81% ของผู้ตอบแบบสอบถามทำตามคำแนะนำของสัตวแพทย์
- 49% ของผู้ตอบแบบสอบถามไม่คิดว่าตนเองมีความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับโรคหรืออาการของโรคที่สุนัขของตนอาจเป็นได้

ข้อควรระวัง
ข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้มาจากสำนักงานใหญ่ของบริษัท เบอริงเกอร์ อินเกลไฮม คอร์ปอเรท ซึ่งอยู่ในประเทศเยอรมนี ดังนั้นข้อมูลเกี่ยวกับยารวมถึงลิขสิทธิ์ต่างๆ อาจมีความแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ผู้อ่านจึงต้องใช้ความระมัดระวังในการรับข้อมูลดังกล่าว ทั้งนี้ ข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้ไม่มีจุดมุ่งหมายที่จะเผยแพร่ในสหรัฐอเมริกา

อ้างอิง
1) Evans T, Johnson C, Wernham J. Cardiovascular Insight: A global study of category prospects. Wood Mackenzie. July 2007.
2) Haggstrom J, Kvart C and Pedersen H. "Acquired valvular heart disease" in Ettinger SJ, Feldman EC (Eds). Textbook of veterinary internal medicine: diseases of the dog and cat. 2005 (6th edition).
3) Haggstrom J, Boswood A, O'Grady M, et al. Effect of pimobendan on survival in dogs with congestive heart failure due to myxomatous mitral valve disease. Abstract presented at the American College of Veterinary Internal Medicine 2008 congress, June 4-7, San Antonio, Texas.

ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจในสุนัขในประเทศดังต่อไปนี้พร้อมที่จะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับท่าน

ท่านที่ต้องการข้อมูลเฉพาะของแต่ละประเทศ กรุณาติดต่อ:
ออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์
แองเจล่า ฮินช์ลีย์
สปินิเฟ็กซ์ คอมมิวนิเคชั่นส์
โทร: +61-2-9954-4051
อีเมล์: angela.hinchley@spinifexcommunications.com.au

แคนาดา
คริสเตียน โดเฮอร์ตี
เดลต้า มีเดีย อิงค์
โทร: +1-613-233-9191
อีเมล์: Cristiane@DeltaMedia.ca

ฝรั่งเศส
โดมินิค เคอฟอร์น
ไอ แอนด์ อี คอนซัลแทนท์
อีเมล์: dkerforn@i-e.fr

เยอรมนี
เปตรา วอน เดอ ลาจ
มาสเตอร์มีเดีย
โทร: +49-40-507-113-44
อีเมล์: vonderlage@mastermedia.de

สหราชอาณาจักร
แดนนี่ สเต็ปโต
เร้ด ดอร์ คอมมิวนิเคชั่นส์
อีเมล์: dstepto@rdcomms.com

ที่มา: เบอริงเกอร์ อินเกลไฮม จีเอ็มบีเอช


โรคหัวใจในสุนัขคืออะไร

โรคหัวใจที่พบในสุนัขสามารถพบได้เช่นเดียวกับในคน คือสามารถพบได้ตั้งแต่เกิด หรือหลังเกิด แต่โดยทั่วไปมักพบว่าโรคหัวใจในสุนัขมีการพัฒนาขึ้นในช่วงกลางๆ ชีวิตโรคหัวใจของสุนัขที่เกิดขึ้นภายหลัง (acquired heart disease) เป็นลักษณะที่พบได้บ่อยที่สุด, สุนัขที่พบว่าเป็นโรคหัวใจมักเป็นสุนัขที่มีอายุมาก 


โรคหัวใจในสุนัขที่พบได้เสมอมี 2 ชนิด

โรคหัวใจชนิดที่เกี่ยวกับลิ้วหัวใจ โดยที่ลิ้นหัวใจมีการปิดไม่ดี ทำให้มีการรั่ว ยังผลทำให้การไหลเวียนของเลือดผิดปกติ 
โรคหัวใจที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อหัวใจ โดยมักพบว่าผนังห้องหัวใจบางและมีความอ่อนแอ บีบตัวไม่ดี
โรคหัวใจทั้งสองชนิดจะค่อยพัฒนาขึ้น โดยใช้ระยะเวลา แต่ผลในที่สุดก่อให้เกิดภาวะที่มีความรุนแรงต่อการทำงานของหัวใจที่เรียกว่า หัวใจล้มเหลว(heart failure)


ปัจจัยโน้มนำให้เกิดโรคหัวใจในสุนัข
  • อายุ  สุนัขอายุมาก สุนัขชรา ย่อมมีโอกาสเรื่องเป็นโรคหัวใจสูงเช่นเดียวกับ
  • ความอ้วน 
  • พันธุ์สุนัข
  • อัตราการออกกำลังกายหรือใช้งานที่หักโหม
  • ปัญหาความเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อต่างๆ อย่างรุนแรง โดยเฉพาะโรคติดเชื้อแบคทีเรีย 
  • พันธุกรรม ฯลฯ

อาการของโรคหัวใจในสุนัขเป็นอย่างไร

อาการของโรคหัวใจในสุนัขค่อนข้างผันแปร หรือไม่แน่นอน อาจจะพบได้ตั้งแต่ประเภทที่ไม่สามารถสังเกตอาการได้จนถึงสามารถ สังเกตพบอาการได้ แต่อาการจะมีความเด่นชัด หรือมีความรุนแรงมากขึ้นเมื่อการพัฒนาของโรคหัวใจมีมากขึ้น อาการโรคหัวใจในสุนัขที่พบได้ส่วนใหญ่ได้แก่ :
  • อ่อนเพลียง่าย หรือขาดพลังงาน (lack of energy) 
  • หายใจลำบาก 
  • ไม่กินอาหารและน้ำหนักตัวลดลง 
  • มีการไอบ่อยๆ 
  • อ่อนแอ 
  • เป็นลม(fainting) 
  • ท้องขยายใหญ่(abdominal swelling) 

ทราบได้อย่างไรว่าสุนัขเป็นโรคหัวใจ

ผู้ที่จะให้คำตอบที่ดีที่สุดว่าสุนัขเป็นโรคหัวใจคือ สัตวแพทย์ประจำตัวสุนัขของท่าน การนำสุนัขของท่านไปตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อตรวจร่างกาย เป็นสิ่งที่สำคัญในการที่จะทำให้ตรวจพบปัญหาทางสุขภาพ หรือโรคหัวใจในระยะเริ่มต้นได้
เมื่อนำสุนัขไปพบสัตวแพทย์ สัตวแพทย์อาจจะถามเจ้าของถึงอาการ หรือข้อมูลที่จำเพาะเกี่ยวกับสุนัขของท่าน (การซักประวัติสัตว์ป่วย) ก่อนที่จะทำการตรวจร่างกายสุนัข ถ้าสัตวแพทย์สงสัยว่ามีปัญหาทางสุขภาพ หรือโรคหัวใจ อาจจะต้องมีการตรวจพิเศษเพื่อการวินิจฉัยโรคที่จำเพาะมากขึ้น เช่น การตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ เอ็กซเรย์ ตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) หรือตรวจวิธีการอื่นๆที่จำเป็น การตรวจร่างกายเป็นประจำ(ทุกปี)จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะทำให้ สามารถตรวจพบโรคหัวใจในสุนัขในระยะเริ่มต้นได้


โรคหัวใจของสุนัขสามารถรักษาได้หรือไม่

โรคหัวใจของสุนัขสามารถรักษาได้ แม้ว่าไม่มีการรักษาแบบใดๆ ที่สามารถรักษาโรคหัวใจของสุนัขได้ทุกชนิด การรักษาด้วยวิธีการต่างๆ หรือสมัยใหม่สามารถทำได้ ความสำเร็จของการรักษาโรคหัวใจสุนัขขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ ประการ แต่การตรวจพบปัญหาโรคหัวใจในระยะแรกๆจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพราะจะเป็นการช่วยรักษาชีวิตสุนัขของท่านให้ยืนยาวต่อไปและมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

No comments:

Post a Comment