2009-05-31

ตู้ยาสามัญประจำบ้านของสุนัข

สมัยนี้เกือบทุกบ้านมักจะมีสัตว์เลี้ยงอยู่ที่บ้าน โดยเฉพาะสุนัข ที่นับว่าเป็นเพื่อนที่ดีที่สุดของมนุษย์ ( The man best friend) บางบ้านมีเพียง 1-2 ตัว บางบ้านมีเป็นสิบ การมีตู้ยาประจำบ้านเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เราต้องนึกถึง ถ้าหากเจ้าตัวน้อยของเราเกิดป่วย หรือได้รับอุบัติเหตุตอนดึก ๆ เราคงต้องขับรถตระเวนหาโรงพยาบาลสัตว์ที่เปิด 24 ชั่วโมง ที่มีอยู่ไม่ถึง 10 แห่ง กว่าจะปลุกหมอมาตรวจพอดีเช้าเสียก่อน ถ้าอย่างนั้นเรามาลองตระเตรียมตู้ยาประจำบ้านสำหรับสุนัขกันบ้าง ซึ่งรายการของที่ต้องเตรียมก็หาไม่ยาก ดังต่อไปนี้

1. เกลือป่น (เกลือแกง)
ใช้ป้อนที่โคนลิ้น เพื่อกระตุ้นให้อาเจียร ใช้ในกรณีที่หมาได้รับสารพิษ หรือกินสัตว์พิษ ถ้าไม่มีใช้น้ำมันพืชหรือไข่ขาวเพื่อให้อาเจียนก็ได้เหมือนกัน

2. เกลือแร่ผงชนิดละลายน้ำ (ORS)
ใช้ปฐมพยาบาลในกรณีท้องเสียหรือถ่ายท้อง กรณีฉุกเฉินไม่สามารถหาน้ำเกลือแร่ได้ น้ำแดงผสมน้ำสามารถให้แทนสารเกลือแร่ได้ เวลาน้องหมาช๊อค หรือ อ้วก จะช่วยให้น้องหมาสดชื่นได้

3. ปรอทวัดไข้ ชนิดสวนทวาร
วัดอุณหภูมิของสัตว์ทางทวาร สุนัขมีอุณหภูมิปกติ 102 F หากสุนัขช็อคหรืออุณหภูมิตก ต้องใช้กระเป๋าน้ำร้อนเพื่อเพิ่มอุณหภูมิ หรือ มีไข้ อาจต้องให้ยาลดไข้

4. น้ำเกลือล้างแผล (Normal Saline Solution)
เป็นน้ำที่มีความเข้มข้นเท่าน้ำในร่างกาย ราคาประมาณ 20-40 บาท ใช้ล้างแผลให้สะอาดโดยไม่ทำให้เนื้อเยื่อรอบข้างถูกทำลาย

5. แอลกอฮอล์
ใช้ฆ่าเชื้อโรค ต่อจากน้ำเกลือล้างแผล

6. ทิงเจอร์ไอโอดีน หรือ เบตาดีน
ใช้ฆ่าเชื้อโรค และยังกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อ

7. สำลี และผ้ากอซ
ใช้ซับและปิดแผล

8. น้ำยาเช็ดหู
ใช้ทำความสะอาดใบหู และช่องหู

9. ยาลดไข้ เช่น พาราเซตามอล , ไอโปรบูเฟน , บูเฟน
ต้องระมัดระวังเพราะ แมว แพ้ พาราเซตามอลอย่างรุนแรง ส่วน ไอโปรบูเฟน หรือ บูเฟน ค่อนข้างปลอดภัยมาก ขนาดที่ใช้คือ 200 mg หรือ จะใช้แบบน้ำเชื่อมก็ได้

10. ยาปฏิชีวนะ (วงกว้าง)
แอมพิซิลิน 250 mg ค่อนข้างออกฤทธิ์ได้ดีในโรคทางเดินหายใจ ออกซีเตตร้าซัยคลิน 250 mg ใช้ดีกับบาดแผลทั่วไป ส่วนยาปฏิชีวนะอื่น ๆ ควรปรึกษาสัตวแพทย์

11. น้ำยาฆ่าเชื้อโรค
ใช้ผสมน้ำฆ่าเชื้อโรคตามพื้น หรือสิ่งรองนอน หรือล้างมือหากมีโรคระบาด เช่นลำไส้อักเสบติดต่อ , ไข้หัดสุนัข 


การผสมพันธุ์สุนัข ไทยหลังอาน

ความมุ่งหมายของนักเพาะสัตว์เลี้ยงก็คือ การส่งเสริมคุณภาพของสัตว์เลี้อยงและส่งเสริมต่อไปไม่เฉพาะรูปลักษณะ แต่รวมทั้งอุปนิสัยใจคอและการขยายพันธุ์ของมันด้วย ดังนั้นการผสมพันธุ์หมาหมายถึง การนำเอาพ่อพันธุ์แม่พันธุ์มาผสมกัน จะโดยวิธีธรรมชาติหรือการผสมเทียมก็ตาม แล้วเกิดลูกหมาออกมาความพยายามในการผสมพันธุ์หมาไทยหรือ การพยายามที่จะรักษาลักษณะพันธุ์แท้และพัฒนาลักษณะที่ดีจากพ่อแม่ให้ถ่ายทอดไปยังลูก ดังนั้นขั้นตอนสำคัญ คือการคัดเลือกและศึกษาข้อเด่น ข้อด้อย ของหมาที่จะนำมาเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์

การคัดพันธุ์หมาไทยที่จะนำมาผสมพันธุ์ทั้งเพศผู้และเพศเมียต้องมีคุณสมบัติที่ดีครบถ้วนเพื่อพัฒนาพันธุ์และสายเลือดที่ดีสิ่งที่ควรพิจารณาคือ ลักษณะของพ่อแม่พันธุ์ที่จะนำมาผสม ซึ่งต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์มาประกอบในการผสมพันธุ์ให้ได้ลักษณะที่ต้องการออกมามีอัตราสูง เนื่องจากการคัดพันธุ์ุ์จนได้พ่อแม่ที่สามารถถ่ายทอดลักษณะที่ต้องการมากที่สุดและมีลักษณะที่ไม่ต้องการน้อยที่สุดวิธีการง่ายๆก็คือ คัดตัวทีมีรูปร่างลักษณะที่ดีนำมาผสมพันธุ์กันหลายๆ สายพันธุ์(ครอก)แล้วเอาลูกหลานที่มีลักษณะที่ต้องการมาผสมกันอีกจนได้ลูกที่มีลักษณะคงที่แน่นอน ไม่มีลักษณะอื่นที่ไม่ต้องการออกมามากนักถือว่าได้สายพันธุ์ที่ค่อนข้างบริสุทธิ์ พ่อแม่พันธุ์ที่ว่านี้จะถ่ายทอดลักษณะที่พึงต้องการเป็นเปอร์เซ็นต์สูง ดังนั้น การคัดพันธุ์หมาไทยสำหรับนำมาผสมพันธุ์จำเป็นต้องทราบถึงประวัติความเป็นมาอย่างละเอียดของพ่อแม่ปู่ย่า ตายายนอกจากนี้ยังต้องการทราบถึง วัน เดือน ปีเกิด สี ขนาดรูปร่างชื่อและที่อยู่ของเจ้าของเดิม ในต่างประเทศจะมีแหล่งข้อมูลทางพันธุกรรมของหมา ซึ่งบอกลักษณะรายละเอียดทั้งหมดไว้ในคอมพิวเตอร์ เมื่อมีแม่พันธุ์ไปผสมก็สามารถเลือกได้ หรือบอกได้ดีตามต้องการ สำหรับในประเทศไทยเรานั้นยังไม่ค่อยมีระเบียบในเรื่องดังกล่าวข้างต้นมากนัก เพียงแต่ใช้ความเชื่อถือระหว่างเจ้าของเดิมและเจ้าของใหม่เท่านั้นพ่อแม่พันธุ์ หมาที่เป็นพันธุ์แท้ เมื่อคัดพันธุ์มาผสมส่วนใหญ่ก็จะได้ลูกออกมาตรงตามพันธุ์ แต่บางครั้งลูกที่ออกมาก็อาจมีส่วนที่ไม่ดีแฝงอยู่ ดังนั้นผู้เลี้ยงจึงจำเป็นต้องหาจุดอ่อนโดยการพิจารณาคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ตัวอื่นที่มีลักษณะเด่นมาเสริมหรือแก้ไขต้องรู้ถึงข้อเด่นและข้อด้อยของพันธุ์ และตั้งวัตถุประสงค์เพื่อแก้ข้อด้อยหาข้อเด่น เช่น ถ้าพ่อพันธุ์มีอานสวย สีสวย แต่หูไม่สวย แม่พันธุ์รูปร่างดี หูสวย แต่อานไม่สวย มื่อผสมกันแล้วลูกที่ออกมาก็ย่อมดึงลักษณะเด่นของพ่อและแม่ออกมา แต่สิ่งที่ต้องระมัดระวังก็คือ ไม่ควรผสมพันธุ์ระหว่างหมาที่มีสายเลือดใกล้ชิดกัน เช่น พ่อหรือแม่กับลูก หรือพี่กับน้องท้องเดียวกันที่เร้ยกว่าการผสมในสายสัมพันธุ์ เพราะจะทำให้ลูกที่เกิดขึ้นรวมเอาสิ่งที่ไม่ดีจากสายเลือดให้มีมากขึ้น เช่น โรคต่างๆ ความไม่สมบูรณ์ของอวัยวะต่างๆ เป็นต้น

หมาตัวผู้จะแสดงอาการกระตือรือร้นในเรื่องเพศเมื่ออายุประมาณ 6-8 เดือน แต่ควรรอให้โตเต็มที่ คือมีอายุประมาณ 1 ปีีขึ้นไป โดยเฉลี่ยจะถึอว่าหมาโตเต็มที่เมื่อมีอายุ 12-18 เดือนหมาที่จะนำมาผสมนั้นควรมีอายุอย่างน้อย 12 เดือนขึ้นไปถึงจะเหมาะสม ทั้งนี้เพราะต่อมผลิตฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกายมีการทำงานอย่างเต็มที่ เวลาตั้งท้องฮอร์โมนเหล่านี้จะมีบทบาทในการควบคุมกลไกการทำงานของร่างกาย ถ้าผสมพันธุ์กันตั้งแต่อายุยังน้อยลูกที่เกิดมาจะไม่สมบูรณ์ อ่อนแอ ติดโรคง่ายและเลี้ยงยาก

การจัดการก่อนผสมพันธุ์ ช่วงก่อนการผสมพันธุ์จำเป็นต้องได้มีการเลี้ยงดูเป็นพิเศษ เพราะช่วงนี้มีความสำคัญและมีบทบาทไม่น้อย ถึงแม้จะได้คัดสายพันธุ์ดีแล้วก็ตาม แต่ถ้าการเลี้ยงดูไม่ดีพอหมาก็จะไม่สมบูรณ์ ศัพท์ในวงการนักเลี้ยงจะใช้คำว่า “น้ำเลี้ยงไม่ดี หรือน้ำเลี้ยงสู้กันไม่ได้” หลักทั่วไปในการที่จะเลี้ยงหมาให้สมบูรณ์พร้อมที่จะได้รับการผสมพันธุ์ก็คือ
  1. ควรบำรุงพ่อพันธุ์ให้กันอาหารที่มีโปรตีนมากๆ เช่น เนื้อหรือไข่ และต้องให้ออกกำลังสม่ำเสมอ เพื่อให้แข็งแรงและมีเชื้อที่แข็งแรงด้วย
  2. แม่พันธุ์ที่จะทำการผสมควรมีสุขภาพดี การเลี้ยงดูแม่พันธุ์มีความสำคัญมาก ความสมบูรณ์ของแม่จะมีผลโดยตรงต่อลูก จึงควรบำรุงแม่พันธุ์ให้ได้รับสารอาหารครบถ้วน ทั้งโปรตีนวิตามินและเกลือแร่ แต่ไม่ควรให้อ้วนจนเกินไป
  3. ควรถ่ายพยาธิก่อนการผสมพันธุ์ประมาณ 1 เดือนเพราะอาจมีตัวอ่อนของพยาธิบางชนิคติดต่อไปถึงลูกในครรภ์ได้
  4. นำหมาไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ เช่น โรคดิสเทมเปอร์ พาร์โวไวรัส โรคตับอักเสบ ควรไปฉีดวัคซีนตามกำหนดเวลาอย่างสม่ำเสมอก่อนการผสมพันธุ์ การฉีดวัคซีนในระยะเวลาที่เหมาะสมนี้จะเกิดภูมิคุ้มกันโรค และภูมิคุ้มกันนี้บางส่วนสามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกหมาได้ ซึ่งจะพบว่าแม่หมาที่ฉีดวัคซีนแล้วเมื่อลูกออกมามักจะรอดตายจากโรคที่ได้รับการฉีดวัคซีนมาก่อน ข้อควรระวังก็คือ ไม่ควรฉีดวัคซีนให้กับแม่หมาในขณะที่เป็นสัด เพราะวัคซีนบางชนิดมีผลทำให้ติดลูกยากจึงควรฉีดวัคซีนตามที่สัตว์แพทย์แนะนำ
  5. จัดเตรียมสถานที่คลอด ควรเป็นห้องที่กันแดดกันฝนได้ดีและไม่มีสิ่งรบกวน พื้นห้องต้องสะอาด ปูด้วยเศษผ้าหรือกระสอบเพื่อให้ความอบอุ่น

วิธีการผสมพันธุ์


ตามปกติหมาตัวเมียเป็นสัดปีละ 2 ครั้งหรือทุกๆ 6 เดือน ระยะที่เป็นสัดประมาณ 20-21 วัน และในช่วงระหว่างนี้เท่านั้นที่มันจะยอมรับการผสมพันธุ์จากตัวผู้
  • ระยะที่ 1ใน 9 วันแรก แม่พันธุ์เพียงแต่แสดงอาการเป็นสัดอวัยวะเพศบวมขยายใหญ่ อาจเห็นว่าหมาตัวผู้ให้ความสนใจมากกว่าปกติ แต่แม่พันธุ์จะยังไม่ยอมให้พ่อพันธุ์ผสม
  • ระยะที่ 2 ใน 9 วันหลังจากระยะที่ 1 แม่พันธุ์จะมีหยดเลือดออกมาจากอวัยวะเพศ มีอาการชอบเล่นกับตัวผู้ อวัยวะเพศขยายใหญ่เต็มที่ มักจะยอมให้ตัวผู้ผสมพันธุ์ เป็นระยะที่มีไข่ตกออกจากรังไข่ ดังนั้นจึงควรผสมพันธุ์ในระยะที่ 2 นี้ วันที่เหมาะในการผสมพันธุ์ควรจะอยู่ในระหว่างวันที่ 10-13 หลังจากแม่พันธุ์เป็นสัดทำเพียงครั้งเดียวก็พอ แต่ส่วนมากจะผสมสองครั้งเพื่อให้ได้ผลแน่นอน ผสมในตอนเย็นของวันที่ 10 หนึ่งครั้ง และเช้าของวันที่ 13 อีกหนึ่งครั้งเพราะในช่วงนี้จะเป็นระยะที่ไข่สุกพร้อมที่จะรับเชื้อตัวผู้ปกตินิยมให้พ่อพันธุ์ผสมในช่วงหลังอาาหารเช้าและหลังอาหารเย็นเพราะช่วงเวลาดังกล่าวมีอากาศเย็นสบาย การผสมต้องปล่อยให้พ่อแม่พันธุ์เป็นอิสระไม่ต้องใช้สายล่าม บริเวณที่ี่ผสมพันธุ์ต้องเป็นที่กว้างพอสมควร ปล่อยให้พ่อแม่พันธุ์สร้างความคุ้นเคยสนิทสนมกันเสียก่อน จะผสมกันเองตามธรรมชาติ แต่อย่าปล่อยให้พ่อพันธุ์ผสมกันบ่อยครั้งมากเกินไปเพราะจะทำให้ร่างกายทรุดโทรมได้ผสมเสร็จแล้วจึงนำกลับไปให้พักผ่อน ระยะเวลาที่เหลืออีก 3 วันแม่พันธุ์จะมีอวัยวะเพศกลับสู่สภาพเดิมหรือหมดสัด แม่พันธุ์จะไม่ยอมรับการผสมอีก


กว่าจะเกิดออกมาเป็นสุนัขไทยหลังอาน

ก่อนอื่นเราจะต้องรู้เสียก่อนหมาตั้งท้องอยู่ประมาณ 2 เดือน หรือ 60-62 วัน ฉะนั้นเมื่อก่อนคลอดหรือใกล้คลอดมากๆ นี่ อุณหภูมิของหมาซึ่งปกติราวประมาณ 38.5 องศาเซลเซียส จะลดลงและก่อนคลอด 24 ชั่วโมง อาจมีน้ำเมือกสีขาวขุ่นไหลออกมาจากปากช่องคลอก ก็จะเข้าสู่ระยะเบ่งคลอดต่อไป
ระยะเบ่งคลอดลูกของหมานั้นสามารถแบ่งออกได้ 3 ระยะดังต่อไปนี้

การเบ่งระยะแรก

การเบ่งระยะเรี่มต้นนี้กินเวลา 6- 12 ชั่วโมง บางครั้งบางคราวอาจถึง 24 ชั่วโมง ซึ่งมักเกิดกับแม่หมาสาวท้องแรกเสมอๆ แม่หมาจะแสดงอาการกระสับกระส่ายเบื่อจนถึงไม่กินอาหาร อาเจียน สั่น เสาะหาสถานที่หรือบริเวณคลอดลูก อาจขุดคุ้ยพื้นเพื่อทำรัง และนั้งๆ นอนๆ พลิกไปมาเพื่อหาความสบายและคงตรวจดูว่าเหมาะสมกับการคลอดลูกหรือไม่นั่นเอง มีบางตัวพยายามหาที่หลบซุกซ่อนตามใต้ตู้เตียงด้วยสัณชาตญาณปกป้องลูกที่กำลังจะออกมาจากศัตรูนั่นเอง อาจมีปัสสาวะกะปริดกะปรอยเล็กน้อย ขณะนี้อาจมีการเบ่งและเกร็งตัวของมดลูกเป็นระยะๆ แต่ไม่รุนแรงนัก มองดูไม่มีความผิดปกติแต่ประการใด

การเเบ่งระยะที่สอง

การเริ่มรุนแรงและเห็นเด่นชัดขึ้น ใช้เวลาราวประมาณ 15-30 นาที เราจะเห็นถุงน้ำคร่ำผลุดโป่งออกมาทางปากช่องคลอดคล้ายลูกโป่งแล้วแตกออก ของเหลวภายในจะไหลออกมาเพื่อการหล่อลื่นให้ตัวลูกหมาเคลื่อนผ่านออกอย่างสะดวก จากนั้นลูกหมาจึงโผ่ลออกมา โดยปกติแล้วหัวออกมาก่อนเสมอ แม่หมาเริ่มเลียเยื่อหุ้มตัวลูกและกัดสายสะดือ รวมถึงการเลียเพื่อทำความสะอาดตัวลูกและตัวแม่เองด้วย การที่แม่หมากินรก เยื่อหุ้มต่างๆ หรือแม้แต่ตัวลูกที่ตายแล้วเข้าไปนั้นไม่ได้ทำให้เกิดอันตรายต่อตัวเขาเลย กลับเป็นการกระตุ้นให้แสดงความเป็าแม่และเลี้ยงดูลูกออกมาตามธรรมชาติ

ดังนั้นการรบกวนหมาขณะกำลังคลอดลูกโดยพยายามช่วยทุกๆ ทาง ทั้งๆ ที่ยังไม่มีความจำเป็นนั้น ถือเป็นอันตรายและไม่พึงกระทำอย่างยิ่ง เพราะจะเป็นการสร้างความรบกวน หวาดระแวงแก่แม่หมาจนถึงกับกัดกินลูกหรือหยุดการเบ่งได้ แต่ก็มีข้อยกเว้นสำหรับหมาบางตัวที่ต้องการความอบอุ่นและกำลังใจจากเจ้าของตลอดเวลาที่เบ่งคลอด แต่ก็มีเป็นจำนวนน้อย บางคนอนามัยจัดกลัวความสกปรกเลยเอาน้ำยาฆ่าเชื้อไปเช็ด ตัวลูกอ่อน ตัวแม่ หรือพื้นบ้าง แม่หมารู้สึกผิดปรกติหรือผิดกลิ่น อาจพาลเลิกเบ่งและย้ายที่คลอดได้ ซึ่งไม่เป็นการดีเลย

การเเบ่งระยะที่สาม

แม่หมาจะหยุดพักการเบ่งหลังจากคลอดลูกแต่ละตัวประมาณ 15-30 นาที ทั้งนี้ขึ้นกับความเหนื่อยอ่อนและความล้าของกล้ามเนื้อมดลูกจนถึงจำนวนลูกด้วย ลูกมากเบ่งมากก้เหนื่อยล้ามาก ยิ่งตัวท้ายๆ แล้วการเบ่งย่อมลดน้อยถอยลงไปเรื่อยๆ หลังจากคลอดลูกจนหมดแล้วแม่หมาจะนอนพักให้ลูกดูดนมและเลียทำความสะอาดทั้งลูกและตัวเอง เป็นไงครับกว่าจะเกิดออกมาเป็นลูกหมาแต่ละตัว ยากเย็นแสนเข็ญเอาการอยู่นะครับ


การดูแลสุนัขไทยหลังอานแรกเกิด

หลังจากแม่สุนัขคลอด น้ำนมของแม่สุนัขในช่วง 2-3 วันแรก จะช่วยให้ลูกสุนัขมีภูมิคุ้มกันไปจนถึง 6-10 สัปดาห์แรก เราจะต้องเป็นคนคอยดูว่า ลูกสุนัขทุกตัวได้รับน้ำนมเพียงพอหรือไม่ หลังจากนั้นเราจะต้องเริ่มให้ลูกสุนัขกินอาหารอ่อนๆ และค่อยๆ เริ่มให้ลูกสุนัขหย่านม ในลูกสุนัขแรกเกิด ตาของมันจะยังคงมองไม่เห็น และหูก็ยังคงไม่ได้ยิน จนกระทั่งอายุได้ประมาน 10-14 วัน และใช้เวลาอีก 7 วัน ในการปรับสายตาให้เรียบร้อย และหูก็เริ่มรับเสียงได้ เมื่อท่อฟังช่องหูเริ่มเปิดตอนลูกสุนัขอายุประมาณ 13-17 วัน
การนอนหลับพักผ่อน ในลุกสุนัขสามารถนอนหลับได้ทั้งวัน ลูกสุนัขจะนอนแล้วตื่นขึ้นมาดูดนมแม่ช่วงสัปดาห์แรก หลังจากนั้นมันก็เริ่มมีกิจกรรมสำรวจสิ่งแวดล้อมในที่อยู่ของมันจนกระทั่งอายุ 12-14 สัปดาห์
ลูกสุนัขต้องการความอบอุ่น ลูกสุนัขขณะอยู่ในท้องแม่ของมันมีอุณหภูมิ 38.5 องศาเซสเซียส อุณหภูมินี้จะลดลงก่อนมันจะตกลูก ลูกสุนัขออกจากท้องแม่ใหม่ๆ จะหนาวสั่นง่าย ซึ่งถ้าเราไม่ตอยดูแลก็อาจจะมีการติดเชื้อเกิดขึ้นได้ อุณหภูมิในร่างกายของลูกสุนัขจะปรับตัวขึ้นลงตามสิ่งแวดล้อม หลังเกิดได้ 6-7 วัน ลูกสุนัขจะรู้จักวิธีการควบคุมระบบทำความร้อน แต่ก็ยังไม่ดีนัก จนกว่าจะอายุได้ 4 สัปดาห์ ในช่วง 2สัปดาห์แรก ถึงแม้ว่ามันจะนอนอยู่กับแม่ของมันและ ถ้าอยู่กับแม่ของมัน เราอาจต้องใช้ความร้อนเสริมไปนานกว่า 2 สัปดาห์ อุณหภูมิที่เหมาะสมของมันควรอยู่ที่ 30 องศาเซสเซียส หรือลดลงได้อีก 3 องศาเซสเซียส ถ้าอุณหภูมิต่ำควรหาไฟหรือถุงน้ำร้อนวางให้ลูกสุนัขนอนทับแต่ต้องระมัดระวังอย่าให้ลูกสุนัขรับความร้อนโดยตรง เพราะอาจทำให้ผิวหนังเป็นอันตรายได้

การสังเกตลูกสุนัขที่ไม่แข็งแรง ลูกสุนัขที่แข็งแรงจะมีขนที่มันเงางาม และเวลาเราอุ้มมันขึ้นมาจะกระดุ๊กกระดิ๊ก ขณะที่ลูกนุนัขที่ไม่แข็งแรงและขาแขนจะไม่แข็งแรง ลูกสุนัขที่แข็งแรงจะทำเสียงร้องเบาๆ และจะโหยหวนถ้าหิว ลูกสุนัขที่ไม่แข็งแรงจะคลานไปมาและส่งเสียงหมดแรงแบบเบาๆ และก็จะกลับไปนอนหมดสติที่ที่นอนของมัน

การให้อาหารและการหย่านม ลูกสุนัขจะกินนมแม่ไปจนราว 3-5 สัปดาห์ ในระยะนี้เราเริ่มให้นมอย่างอื่นแก่ลูกสุนัข เอาใส่จานให้เขาเลียได้แล้ว วิธีการหย่านมในลูกสุนัขก็คือ เอาอาหารเด็กมาผสมกับนมและค่อยจับใส่ปากลูกสุนัข เมื่อเริ่มทำสักวันสองวัน โดยใช้มือเราแล้วค่อยๆ เปลี่ยนมาใส่จาน วันละ 2 ครั้ง และเริ่มต้นให้เนื้อเสริมด้วยแคลเซียมเม็ดหรือกระดูกอ่อน อาหารลูกสุนัขแบบกระป๋องจะช่วยได้ดีในสถานการณ์เช่นนี้ เพราะอาหารกระป๋องลูกสุนัขสามารถกินได้ง่ายโดยให้แต่น้อยแต่่บ่อยครั้ง เมื่อน้ำนมแม่เริ่มหมดไปจะต้องให้อาหารลูกสุนัขด้วยตัวของเราเองเพิ่มขึ้นๆ ลูกสุนัขจะต้องกินอาหารบ่อยเช่นเดียวกับเด็กเล็กๆ เพื่อความเจริญเติบโตที่รวดเร็ว ถ้าแม่สุนัขยังมีน้ำนมเพียงพอเราก็ไม่ต้องเสริม ให้ มาเริ่มราวสัปดาห์ที่ 5 ก็ได้ ในระยะเวลา 7-12 สัปดาห์ ควรให้อาหารกระป๋องสำหรับสุนัข และนมอย่างน้อยที่สุดวันละ 4 ครั้ง พอลูกสุนัขอายุได้ 12 สัปดาห์ ลูกสุนัขจะกินน้อยลงเอง ก็ไม่จำเป็นต้องให้นม ให้อาหารสุนัขวันละครั้ง 3-4 จนสุนัขอายุถึง 6 เดือน หลังจากนั้นจะกินอาหารสองครั้งหรือหนึ่งครั้งก็แล้วแต่กรณี

ลักษณะนิสัยของสุนัข ไทยหลังอาน

1. มีความซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อเจ้าของมากกว่าสุนัขพันธุ์อื่นๆ หลายชนิด
2. มีความสุภาพ และฉลาดกว่าสุนัขพื้นบ้านทั่วๆ ไป เชื่อฟังเจ้าของ สามารถฝึกสอนได้และประจบเก่ง
3. ว่องไ ว กระฉับกระเฉง อดทน แข็งแรง ร่าเริง กล้าหาญ ความจำดี มีความรู้สึกไวต่อกลิ่นและเสียงต่างๆ ประสาทสัมผัสดี
4. มีสัญชาติญาณใ นการล่าสัตว์ปรากฎให้เห็น คือมีความดุร้ายพอสมควร
5. มีความสุขุม เป็นกันเองกับผู้คุ้นเคย แต่ไม่ไว้ใจ และระแวดระัวังคนแปลกหน้า หรือตื่นตระหนกเมื่อได้ยินเสียงต่างๆ
6. กินอยู่ง่าย ไม่ยุ่งยาก แต่รักความสะอาด ดูแลความสะอาดตัวเองได้ เช่น การเลียขนตัวเอง การขับถ่ายจะไม่ขับถ่ายใกล้ที่อยู่ของตัวเอง
7. เป็นตัวของตัวเอง ชอบอยู่อย่างอิสระ ไม่ชอบการบังคับ

ลักษณะอานของ ไทยหลังอาน

ลักษณะของอาน

อานของสุนัขเกิดจาก 2 ลักษณะ คือ เกิดจากขนที่ย้อนกลับไม่มีขวัญ และเกิดจากขวัญ ขวัญจะวนเป็นรูปก้นหอย จากไหล่ทั้ง 2 ข้าง แล้วจึงมาบรรจบกันที่หัวไหล่เป็นดวงกลมใหญ่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-5 ซม. จากนั้นจึงเรียวลงไปตามแนวกระดูกสันหลัง จรดไหล่ของขาคู่หลังหรือโคนหางเช่นเดียวกับอานม้า หลังอานมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แสดงว่าสุนัขไทยหลังอานมีอยู่ทั่วไป และน่าจะมีมาก่อนสมัยพระเจ้าทรงธรรมด้วยซ้ำ ซึ่งได้มีชื่อเรียกในสมัยก่อนว่า สุนัขใส่หลังอาน หรือสุนัขหลังมีอาน ต่อมาในปัจจุบัน เรียกว่า สุนัขหลังอาน หรือเรียกกันง่าย ๆ ว่า หมาหลังอาน โดยทั่วไปขนของอานจะมีสีเดียวกับขนของสุนัข และจะมีขวัญตั้งแต่ 2-5 ขวัญ สำหรับอานของสุนัขหลังอานนี้อานจะเล็กหรือใหญ่ ขึ้นอยู่กับชนิดของอานที่ใช้เรียกชื่อกัน ซึ่งแบ่งชนิดของอานได้ดังต่อไปนี้

1.อานเข็ม อานนี้ไม่มีขวัญ เป็นอานธรรมดาทั่วไป เกิดจากขนที่ย้อนกลับไปทางหัวเท่านั้น โดยขนนั้นจะยกตัวเป็นแผ่นเล็กมีขนาด 2-3 ซม. ที่สันหลัง แผ่นอานนี้จะเริ่มที่หัวไหล่ขาหน้า เรียบเล็กไปจรดโคนหาง

2.อานแผ่นหรืออานม้า เป็นอานธรรมดาทั่วไปและไม่มีขวัญเช่นกัน ลักษณะเช่นเดียวกับอานเข็ม คือขนที่หลังจะยกตัวขึ้นเป็นแผ่นขนาด 4-5 ซม. เต็มแผ่นหลังเหมือนอานม้าสุนัขที่มีอานเต็มแผ่นหลังนี้โดยมากอานจะมีขนาดใหญ่และหาได้ยาก เป็นที่นิยมเลี้ยง

3.อานเทพพนมหรืออานพรม อานชนิดนี้ไม่มีขวัญหรือไม่ได้เกิดจากขวัญ และขนบนหลังจะไม่ชี้ย้อนหลังไปทางหัว เพียงแต่ขนจะยกตัวขึ้นมาประสานกันเป็นแนวบนสันหลัง เหมือนกับการพนมมือไหว้พระ มักพบในสุนัขที่มีหลังอานที่มีขนยาว และเป็นลักษณะที่นิยม

4.อานธนูหรืออานลูกศร เกิดจากขวัญบริเวณหัวไหล่ของขาคู่หน้า ขดเป็นวงก้นหอย2 ขวัญบริเวณหัวไหล่ของขาคู่หน้า ขดเป็นวงก้นหอย 2 วง มาบรรจบกันที่สันหลัง แล้วเรียวเล็กปลายแหลมไปจดโคนหางหรือบั้นท้าย และยกเป็นแนวสันหลังสูงเห็นได้ชัดเจน อานเช่นนี้พบได้ในสุนัขหลังอานทั่วไปบางตำราถือว่าเป็นลักษณะแท้จริง ของสุนัขไทยหลังอาน และมักนิยมเลี้ยงไว้ผสมพันธุ์เอาลูก เพราะถึงแม้จะมีอานเล็ก แต่เวลาให้ลูกมักจะได้ลูกอานใหญ่ หรืออาน 4 ขวัญ ซึ่งเป็นอานพิณหรืออานใบโพธิ์

5.อานพิณ เกิดขวัญตั้งแต่ 3-4 ขวัญ โดยที่ตำแหน่งของขวัญจะอยู่ตรงหัวไหล่ของขาคู่หน้า 1-2 ขวัญมาบรรจบกัน แล้วเรียวไปถึงบริเวณหลัง ซึ่งบริเวณกลางหลงนี้ก็มักจะมีขัยอีก 2 ขวัญ แต่อยู่คนละฝั่งของสันหลังมาบรรจบกันป็นแผ่นกว้างที่กึ่งกลางหลังทำ ให้กลางสันหลังเป็นขนที่ชี้ย้อนกลังเป็นแผ่นใหญ่เต็มแผ่นหลัง จากนั้นก็จะเรียวเล็กปลายแหลมไปจดโคนหางมองแล้วดูเหมือนรูปพิณ

6.อานใบโพธิ์ ประกอบด้วยขวัญอย่างน้อยจำนวน 4-6 ขวัญเรียงเป็นระเบียบเหมือนกับอานพิณ แต่จะต่างกันตงที่ตำแหน่งของขวัญและบริเวณกึ่งกลางหลังเป็นแผ่นกว้างเต็มหลังจากกึ่งกลางสันหลัง และส่วนที่เรียวเล็กปลายแหลมนั้นถ้าเป็นอานพิณส่วนนี้จะเรียวยาวไปจดหางแต่อาน โพธิ์ส่วนนี้จะสั้นและยาวไม่ถึงโคนหาง มองดูแล้วมีลักษณะคล้ายใบโพธิ์อานแบบนี้หาได้ยาก ไม่ค่อยพบได้บ่อยนัก

7.อานไวโอลิน อานชนิดนี้เกิดจากขวัญจำนวนมากที่อยู่ห่างกันเป็นคู่ ๆ โดยคู่แรกจะอยู่ที่หัวไหล่ของขาคู่หน้า คู่ที่สองอาจเป็นขวัญคู่หรือขวัญเดี่ยว จะอยู่ห่างจากขวัญแรก ค่อนไปทางหางมากบ้างน้อยบ้างไม่แน่นอนตายตัวโดยจะยู่คนละข้างของแนวสันหลัง ตำแหน่งจะตรงกันหรือเกือบตรงกันจากนั้นจะเล็กเรียวไปจรดโคนหาง มีรูปร่างคล้ายไวโอลิน ที่นิยมมากคือชนิด 4 ขวัญ และขวัญอยู่ในตำแหน่งที่สมดุลเหมาะสม ดูแล้วสวยงาม จะหาดูได้ยาก ยิ่งถ้ามี5-6 ขวัญแบบนี้หาได้ยาก นาน ๆ จึงจะได้เห็นสักที

8.อานโบว์ลิ่ง อานชนิดนี้เกิดจากขวัญ 4-5 ขวัญ ที่บริเวณหัวไหล่หน้าอาจมีเพียง 1 ขวัญหรือไม่มีก็ได้ บริเวณสันหลังอาจมี 2 ขวัญ อยู่ตรงข้ามกันไม่ห่างมากนัก ส่วนที่หัวไหล่โคนขาจะมีอีกหนึ่งคู่ อยู่ตรงข้ามเช่นกัน แต่กว้างกว่าขวัญคู่แรก หรือขวัญบริเวณตอนกลางหลัง ลักษณะขวัญเช่นนี้มอดูแล้วจะมีลักษณะคล้ายรูปโบว์ลิ่ง

9.อานหูกระต่าย อานนี้มีลักษณะเป็นรูปวงรี อยู่บริเวณกลางหลัง ทางส่วนด้านบนตรงหัวไหล่ของขาคู่หน้าจะเป็นอานรูปหูกระต่าย 2 หู แยกออกจากกันดูคล้ายกับตัวกระต่ายนั่งหันหลัง อานแบบนี้หาดูได้ยากอีกแบบหนึ่ง

ชนิดและสีขน

ชนิดของขน

แม้ว่าสุนัขพันธุ์ไทยหลังอานจะมีเพียงพันธุ์เดียวเท่านั้น แต่ก็มีการแบ่งชนิดของขนออกเป็น 4 ชนิด คือ

1. สุนัขไทยหลังอานชนิดขนยาว เดิมทีสุนัขไทยมีขนยาว แต่ต้องเป็นขนที่ไม่ยาวเกิน 2 ซม. ถ้ายาวเกินกว่านี้ โดยมากจะเป็นสุนัขไทยหลังอานที่มีการผสมพันธุ์กับพันธุ์ต่างประเทศ มีข้อดีอยู่บ้างคือ ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคผิวหนัง ยุงไม่กัด แต่มีข้อเสียที่ต้องคอยดูแลเรื่องความสะอาด มีเห็บ, หมัด อาศัยดูดกินเลือด ทำให้เสียเวลาในการดูแลมาก และค่าใช้จ่ายในการดูแลสูง

2. สุนัขไทยหลังอานชนิดขนสั้น ได้มีการนำเอาสุนัขไทยหลังอานขนยาวมาผสมพันธุ์กับพันธุ์หลังอานธรรมดา ได้ลักษณะใหม่ที่มีขนสั้นแต่ไม่เกรียนติดผนัง เคยได้รับความนิยมเลี้ยงกันอยู่พักหนึ่ง ปัจจุบันยังพอนิยมอยู่บ้าง เพราะขนที่สั้นดูแลรักษาความสะอาดง่าย สามารถมองเห็นตัวหมุด เห็บได้ดี ทนต่อยุงกัดได้ ไม่เป็นแผลพุพอง ทำให้ใช้เวลาในการดูแลน้อย ค่าใช้จ่ายในการดูแลไม่มาก เลี้ยงปล่อยไว้ในบ้านไม่ต้องให้อยู่ในมุ้งลวด ที่สำคัญคือมองเห็นอานได้ชัดเจน

3. สุนัขไทยหลังอานชนิดขนเกรียน เกิดจากการปรับปรุงสายพันธุ์ต่อๆ มา จนขนสั้นเกือบติดหนัง เป็นที่นิยมเลี้ยงกันมากในปัจจุบันยิ่งราคาสูง แต่มีข้อเสียคือเปรียบเหมือนคนไม่สวมเสื้อผ้า ทุกครั้งที่ถูกยุงกัดจะเป็นตุ่มมีโอกาสเป็นโรคผิวหนัง ยากต่อการรักษา ต้องนอนมุ้งลวด รวมทั้งมองเห็นอานไม่ค่อยชัด

4.สุนัขหลังอานชนิดขนกำมะหยี่ สุนัขหลังอานที่มีขนสั้นแน่นเรียบเกรียนติดหนังที่เรียกว่า ขนกำมะหยี่ นี้ปัจจุบันเป็นที่นิยมเลี้ยงกันมากและมีราคาแพงกว่าชนิดอื่น ๆ มองเห็นอานได้ชัดกว่าชนิดขนเกรียน แต่มีข้อเสียที่ทุกครั้งยุงกัดจะเป็นตุ่ม เป็นโรคผิวหนังได้ง่าย ค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง ต้องนอนในมุ้งลวด


สีของขน
สีของสุนัขหลังอานเท่าที่พบมีสีน้ำตาล สีน้ำตาลแดง สีน้ำตาลดำ สีน้ำตาลอ่อน สีสวาด สีดำ สีขาว สีกลีบบัว เป็นต้น

1.สีแดง สุนัขพันธุ์หลังอานสีแดงเป็นพันธุ์เก่าแก่ ต้นสายมาจาก จังหวัดตราด จันทบุรี และระยอง(นิยม สีออกน้ำตาล สีลูกวัว สีนวล รวมเป็นสีแดงหมด เช่นสุนัขสายจังหวัดจันทบุรี ตราด ออกสีน้ำตาลอ่อน ขาบเข้ม เขาจะเรียกว่า หมาแดง ทั้งสิ้น) สุนัขหลังอานสีแดงเป็นสีที่มีขนสวยงาม ปัจจุบันสุนัขที่จัดว่าเป็นพันธุ์โบราณ คงมีเหลืออยู่เป็นจำนวนมากกว่าสีอื่น ๆ คงจะเป็นด้วยสีแดงเป็นแม่สีที่แรง และอยู่ได้คงสภาพ แจกลูกสืบเชื้อสายให้ตัวอื่นได้ง่าย เป็นสุนัขที่จัดว่าค่อนข้างอดทนและบึกบึน ปัญหาเรื่องขนสีมีน้อย

2.สีสวาดหรือสีเทา เป็นสุนัขระหว่างสีดำกับสีแดงเข้ากัน แดงอ่อน ๆ กับดำ ถึงจะหลุดออกมาเป็นสีเทา เป็นสุนัขหลังอานที่หลวงปริพนธ์ พจนพิสุทธิ์ ได้ผสมขึ้นมาเป็นรั้งแรก กล่าวได้ว่าสุนัขไทยสีเทา (สวาด) ปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นลูก หลาน เหลน ของสุนัขที่ชื่อว่าเจ้าเทาของคุณหลวงเกือบทั้งสิ้น เดิมทีเดียวยังเป็นสุนัขหลังอานขนยาวไม่สั้นเกรียนอย่างในปัจจุบัน มี ทั้งเทาดำ เทาขี้เถ้า เทาเงินยวง ในปัจจุบันนำมาผสมกันกับสุนัขทางสายตราด และจันทบุรี จะได้เป็นขนกำมะหยี่และเป็นกำมะหยี่ที่เงาแต่อานจะไม่ใหญ่ โดยมากมักเป็นอานลูกศร หรืออานพันขนาดเล็ก ถ้ามีอานใหญ่ก็นับว่าชั้นหนึ่งแต่จะได้น้อยมาก
สุนัขสีสวาดขนกำมะหยี่มีอานราคาแพงพุ่งสูงสุดในเรือนแสน สยบราคาสุนัขนอกราคาตกต่ำไปอย่างสิ้นเชิง ราคาผสมพ่อพันธุ์สวาดตัวเอก สูงถึง 5 เท่าของราคาผสมพ่อพันธุ์อัลเซเชียล แต่บางทีลูกที่ออกมาไม่ค่อยดี เพราะสายพันธุ์ที่เป็นอยู่ถือว่ายังไม่นิ่งถาวรยังคงแฝงส่วนบกพร่องของฟู่ ย่า ตา ยาย ติดอยู่ ครั้นผสมพันธุ์ยังมีเลือดเสียแฝงอยู่ จุดปมด้อยยิ่งปรากฏให้เห็นเด่นชัด สุนัขสวาดยังคงใช้เวลาในการผสมพันธุ์ต่อกีก4-5 ปี จึงจะได้สายเลือดถาวรที่แท้จริง

3.สีดำ เป็นสีโบราณที่มีมานานที่สุด จัดว่าเป็นพ่อสีหลักของสุนัขสีต่าง ๆ อีกมากมาย สุนัขสีดำที่ดำสนิทจริง ๆ นั้นสวยงามสวยงามมาก ธรรมชาติพิเศษของมันจะให้ต่อน้ำมันขับออกมาที่ขนดูเงางามกว่าสีอื่น ๆ ผิวหนังเนื้อในที่ดำนั้นนั้นเป็นพื้นทชสีที่ไม่เปลี่ยนยีนหรือลบสีเดิมได้ง่าย บางตัวเล็บ จมูก นม ตาก็ดำสนิทด้วย แต่จัดว่าเป็นสุนัขที่อาภัพ เพราะคนไทยไม่ค่อยนิยมและเป็นที่รังเกียจของคนที่ถือโชคลาง

4.สีขาว เป็นสีที่ดูแล้วสวยงามสะอาด ดูเด่นสวยงามมาก สุนัขหลังอานโดยเฉพาะที่ขนเกรียนนั้นปัจจุบัน หาได้ยากมาก ส่วนใหญ่ไม่ขาวปลอดสนิท มักจะมีแซมน้ำตาลอมแดง เหลืองนวล หรือแซมชมพู กล่าวกันว่าสุนัขสีขาวที่ถูกลักษณะจริง ๆ ต้องมีพื้นหนังเป็นสีดำหรือเทาหนังช้าง ทำให้ช่วยขับส่งความขาวของขนให้สว่างมากขึ้น และต้องมีจมูกดำ ตาแดง เล็บขาวด้วย

5.สีเขียว คนโบราณมักเรียกว่าสีน้ำตาลอ่อน ขนาด70-80 เปอร์เซ็นต์ แซมขนดำ 20-30 เปอร์เซ็นต์ ว่าเป็นสีเขียว สุนัขสีเขียวจัดเป็ฯต้นสายสำคัยสีหนึ่งที่ทำให้ได้สีสวาดในปัจจบันหาได้ยากขึ้น

6.สีนากหรือสีโกโก้ เป็นผลจากสีแดงผสมกับสีดำ จัดเป็นสีที่สวยดีอีกแบบหนึ่ง และลึกซึ้งกว่าพันธุ์สีแดง สุนัขหลังอานสีนากอ่อนค่อนข้างจะหายาก โดยเฉพาะพวกขนเกรียนกำมะหยี่ สีนากทั้งตัวส่วนใหญ่จะพบได้ค่อนข้างน้อยส่วนใหญ่จะด่างอก ขา และหาง

7.สีกลีบบัว เกิดจากสุนัขพันธุ์สวาดหรือสีเทาที่สายเลือดยังไม่นิ่งผสมกัยสีแดงจะออกมาเป็นสีกลีบบัว ประกอบกับยังมีตัวแปรอื่น ๆ ค่อนข้างมาก ผสมกันแล้วบางครั้งก็ออกมาเป็นสีกลีบบัวโรย บัวชมพู บัวอ่อน นักเล่นสุนัขมักเรียกหมาหลงสีเหล่านี้ว่า กลีบบัวทั้งหมด

8.สีลายเสือ สุนัขลายเสือมีลักษณะคล้าย ๆ กันเกือบทุกภาค คือจะมีลายพาดขวางตัว บางตัวด้านหลังจะเป็นลายพาดจรดกันอย่างก้างปลาเป็นสุนัขที่ค่อนข้างตัวเล็ก แคบ นาน ๆ จะพบตัวที่กะโหลกโต ส่วนใหญ่มีอกด่าง ขาด่าง และหางดอก ยังคงมีปรากฏอยู่ทุกภาค แต่ไม่ค่อยนิยมกัน

ลักษณะของสุนัข ไทยหลังอาน

ลักษณะโดยทั่วไป

สุนัขหลังอานมีรูปร่างใกล้เคียงกับสุนัขพันธุ์ไทยพื้นบ้านทั่วไป จุดเด่นที่สะดุดตามากที่สุดก็คือมีอานอยู่บนหลัง มีท่าทางว่องไว กระฉับกระเฉง ดูร่าเริง ฉลาด ซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อเจ้าของ และยังมีสัญชาติญาณในการล่าสัตว์ปรากฎให้เห็น คือ มีความดุร้ายพอสมควร ระแวดระวังคนแปลกหน้า หรือตื่นตระหนกเมื่อได้ยินเสียงต่างๆ แต่ขณะที่สุนัขหลังอานยืนเพ่งดูคน หรือสิ่งแปลกปลอม จะมีลักษณะสง่างาม หน้าจะเชิด หูจะตั้ง หันไปทางทิศที่มาของเสียง หางจะทอดไปข้างหน้า มีลักษณะโค้งเหมือนดาบ จัดอยู่ในประเภทสวยงาม เพราะมีลักษณะผิดไปจากสุนัขอื่นๆ ตรงที่มีอาน นอกจากนั้นยังเลี้ยงไว้เ้ฝ้าบ้าน และเป็นเพื่อนได้ดีอีกด้วย

ลักษณะมาตรฐาน
ลักษณะมาตรฐานของสุนัขพันธุ์ไทยหลังอาน ตามที่สมาคมผู้นิยมเลี้ยงสุนัขแห่งประเทศไทยได้ขอจดทะเบียนไว้กับสหพันธุ์สุนัขแห่งเอเชีย และสมาคมสุนัขโลกมีดังนี้

ส่วนหัว: ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังต่อไปนี้ หัว, หู, ตา, จมูก, ปาก และฟัน ลักษณะของหัวจะเป็นรูปลิ่ม หน้าผากกว้าง กรามใหญ่ ปากมนไม่แหลม มุมปากลึก ริมปากปิดสนิทพอดีกับกราม บริเวณปากจะมีสีดำหรือที่เรียกว่าปากมอม ในสุนัขหลังอานสีน้ำตาลส่วนใหญ่ปากจะมอม สีอื่นๆ อาจจะปากมอมหรือไม่มอมก็ได้ ฟันขาวสะอาดเป็นระเบียบ ฟันบนขบชิดแนบสนิทกับฟันล่าง ฟันบนควรมี 20 ซี่ ฟันล่างมี 22 ซี่ เขี้ยวแหลมมี 4 ซี่ ขบกันสนิท ตาค่อนข้างเรียวเล็ก แหลม รับพอดีกับหน้าผาก สีของดวงตากลมกลืนกับสีของลำตัว และแววตาเป็นประกายน่าเกรงขาม เวลาจับจ้องคนแปลกหน้าจะเห็นความไม่ไว้วางใจปรากฎในแววตา ทำให้เกิดความน่ากลัว จมูกใหญ่เป็นสีดำสนิท สันจมูกกว้าง ลิ้นต้องมีปานสีดำ หน้าผาก และดั้งจมูงยื่นตรงขนานกันและกัน หูทั้งสองข้างเป็นรูปสามเหลี่ยมปลายแหลม หรือหูรูปกรวย มีขนาดพอดี ไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป ไม่หลุบหรือตูบไปข้างหน้า หูไม่ชิดหรือห่างเกินไป ระหว่างหูทั้งสองมีลักษณะเป็นเส้นตรง ไม่นูน หรือแอ่นตรงกลาง และหูต้องตั้งตรงรับพอดีกับส่วนหัว

คอ: ต้องตั้งตรงและแข็งแรง ไม่ยาวและหนาจนเกินไป มีขนาดพอดีกับลำตัวและส่วนหัว คอส่วนล่างโค้งรับกับอก และลำตัว เหนียงคอต้องไม่ยานเหมือนเหนียงวัว คอต้องเิชิดทำให้สุนัขดูสง่างาม

ลำตัว: ควรมีลักษณะสมส่วน กล่าวคือ ลำตัวต้องมีกล้ามเนื้อคล้ายรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดของลำตัวเมื่อวัดความยาวและส่วนสูงของลำตัวแล้วจะต้องไม่ยาวกว่าส่วนสูงเกิน 1 นิ้ว หรือที่นักเลงเลี้ยงสุนัขเรียกว่า 10 ต่อ 9 โดยความยาวของลำตัววัดจากส่วนอกด้านหน้าถึงสะโพกด้านท้าย ส่วนความสูงวัดจากหัวไหล่ด้านหน้าถึงปลายเท้าด้านหน้า ไหล่ต้องผึ่งผาย ลำตัวควรจะเพรียวลม เวลาเดิน หรือวิ่งสันหลังจะตรงเสมอกันไม่แอ่นเอียงลาดจากโหนกไหล่ลงสู่ส่วนท้าย

อก: เมื่อมองจากด้านข้างในขณะที่สุนัขยืน จะเห็นว่าอกไม่ใหญ่มากนักแต่อกจะลึก ความลึกของอกมีประมาณ 50 ส่วนของความสูงทั้งหมด กล่าวคือ อกจะลึกมากถึงระดับข้อศอกของขาหน้า ทำให้ปอดและหัวใจใหญ่เวลาวิ่งจะเหนื่อยช้า

ท้องและเอว: ท้องกว้างโค้งและคอดกิ่วไปถึงบริเวณเอว ส่วนเอวจะเล็กและคอดทำให้กระโดดได้สูงและไกล วิ่งได้เร็ว

ขา เท้า และเล็บ: ขาหน้าควรเหยียดตรง และขนานกัน ขาไม่โก่งงอ หรือคดปลายและไม่แบะออกข้าง ข้อศอกกระชับแนบกับลำตัว ช่องว่างระหว่างขาหน้าทั้งสองกว่าง ขาหลังมีกล้ามเนื้อขึ้นเป็นมัดมองเห็นได้ชัดเจน โดยขาหลังสั้นกว่าขาหน้า เวลายืนขาหลังจะเฉียงไปข้างหลังเล็กน้อย และกางออกจากกันเป็นฐานที่มั่นคง ขาไม่ควรตึงเป็นเส้นตรง ควรมีข้อเข่าและมีน่องที่ย่อลงเล็กน้อย ทำให้เกิดมีแรงส่งในการวิ่ง ก้าวได้ยาว และทำให้ส่วนท้ายย่อลง ช่องว่างระหว่างขาคู่หน้าและขาคู่หลังควรจะสัมพันธ์ หรือได้สัดส่วนกับความสูงของลำตัว ถ้าตัวยาวบั้นท้ายจะแกว่งและขาจะสั้นไม่ได้สัดส่วน ดังนั้นลักษณะที่ดีในขณะเดิน คือ หัวตั้งเชิด ขาไม่แบะ ในส่วนของเท้าและเล็บ เท้าหน้ามี 5 นิ้ว เท้าหลังมี 4 นิ้ว ต้องไม่มีนิ้วติ่ง ถ้ามติ่งต้องตัดออก อุ้งเท้าควรหนาและใหญ่ ค่อนข้างกลม นิ้วจิกงุ้ม ดูแน่นไม่แผ่ออก ดูกลมเหมือนเท้าสิงห์เวลาเดินหรือยืน นิ้วเท้าจะกางออกจากกันเล็กน้อย เพราะระหว่างนิ้วเท้าจะมีหนังที่ยืดออกได้ เล็กเท้าควรมีสีดำหรือกลมกลืนกับสีของขน และควรเป็นสีเดียวกันทั้งหมดทุกเล็ก

หาง: หางที่ดีขณะที่ยืนหางจะต้องตั้งชี้ขึ้น และโค้งเรียวเหมือนดาบ ตั้งตรงกับแนวสันหลัง ตรงปลายหางอาจเป็นสีดำ กระดูกหางมีระหว่าง 16-20 ข้อ ควรจะมีหางที่ยาวเลยข้อศอกของขาหลังเล็กน้อย ดูแล้วสมตัว ถ้าหางงอขดม้วนติดหลัง หรือหางงอจนปลายหางจรดหลัง หรือหางไม่ชี้โค้ง หรือบิดเบี้ยว บิดงอ ถือว่าไม่สวย และใช้ไม่ได้เมื่อเดิน หรือวิ่งหางไม่ควรแกว่งมากเกินไป

หนังและขน: หนังควรจะหนาดีกว่าหนังบาง จะทำให้ทนทานต่อการขีดข่วนได้ดี ทดสอบได้โดยใช้มือกำหนังทางด้านต้นคอ หรือที่หลังขึ้นมา ถ้ากำได้เต็มอุ้งมือและย่นตามมือแสดงว่ามีหนังหนา ถ้าหนังไม่หนาจะไม่ค่อยอดทน ขนของสุนัขไทยหลังอานจะสั้นเกรียน เรียบและแน่นหนาเป็นระเบียบ ผิวหนังอ่อนนิ่ม มีทั้งขนที่สั้นแต่ไม่เกรียนติดหนัง และขนสั้นแน่นเรียบติดหนัง เรียกว่าขนกำมะหยี่ ซึ่งขนกำมะหยี่นี้จะมีราคาแพงกว่า อย่างไรก็ตามลักษณะขนเมื่อดูแล้วจะต้องเรียบสั้น เป็นเงางามยาวขนาดขนม้าก็เรียกว่าเพียงอด ถ้าสั้นมากเป็นกำมะหยี่จะเป็นโรคหนังได้ง่าย

สีของขน: สุนัขไทยหลังอานมีอยู่หลายสี ไม่จำกัดลงไปว่าสีใดสำคัญกว่าสีใดสีหนึ่ง ไม่จำกัดลงไปว่าสีใดเป็นพันธุ์แท้เพียงสีเดียว ขึ้นอยู่เพียงแต่ว่าสีใดหาได้ยากง่ายกว่ากันแล้วแต่ค่านิยม แต่ที่สำคัญต้องเป้นสีเดียวตลอดตัว และมีอานใหญ่ สีที่ถูกต้องคือสีน้ำตาลแดง แต่ขนสีที่หาได้ยากคือสีสวาด ถ้ามีอานใหญ่ก็นับว่าเป็นชั้นหนึ่ง ปัจจุบันนิยมสีอื่นเพิ่มขึ้น เท่าที่พบก็มี สีดำ สีกลีบบัว สีขาว สีน้ำตาลอ่อน สีน้ำตาลดำ ที่สำคัญคือควรเ็นสีเดียวกันตลอดทั้งตัว ถ้าอกสีขาวจัดว่าเป็นลักษณะที่ไม่ดี

อาน: อานนี้เกิดจากขวัญที่สันหลัง โดยอานเริ่มตั้งแต่ที่ริมกระดูกสันหลังใต้ไหล่ทั้งสองลงไปเล็กน้อย ขนชี้กลับไปทางหัวรวมกันเป็นดวงกลมใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลางราว 2-5 ซม. หรือใหญ่กว่านั้น แล้วเรียวเล็กลงเรื่อยๆ ดุจปลายแซ่จนเกือบจรดถึงโหนกกระดูกขาหลัง ขนที่เป็นขวัญ และที่เรียวลงนี้เป็นขนกลับย้อนจากขนธรรมดาของสุนัข รวมกันยกขึ้นเป็นแนวเป็นสันสูง เห็ได้ทันทีว่าผิดกับสุนัขธรรมดา บางตัวขนหลังมีขวัญมากกว่า 4-5 ขวัญก็มี ขวัญยิ่งมาก ยิ่งทำให้เส้นขนกลับบนหลังใหญ่ขึ้น แต่คงเรียวเล็กเป็นปลายแซ่ตามหลังไปทางหางอ่างสองขวัญสำหรับอานก็ีมีหลายรูปแบบแล้วแต่จะเรียกกัน เช่น อานธนู หรืออานลูกศร อานแผ่น อานกีต้า และอานใบโพธิ์ หรืออานม้า

ขนาด: ตัวผู้เต็มที่หนักประมาณ 25-28 กก. สูงวัดจากปลายเท้าถึงหัวไหล่ 24-26 นิ้ว ตัวเมียหนักประมาณ 22-25 กก. สูง 22-24 นิ้ว

อุปนิสัย: สุนัขไทยหลังอานนี้มีความเฉลียวฉลาดและความจำดีเป็นเลิศ มีไหวพริบดี ทั้งยังมีความซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อเจ้านายเป็นอย่างยิ่ง แม้จะเฆี่ยนตี ทรมานให้อดอยาก ก็มักจะกระดิกหางเข้ามาหมอบแทบเท้าเสมอ ไม่ถึือโกรธอาฆาต และไม่คลายความจงรักภักดีต่อเจ้าของ เหมาะที่จะใช้ในการเฝ้าทรัพย์สิน บ้านช่อง เพราะไม่ค่อยไว้ใจคนแปลกหน้า มีสัญชาติญาณในการล่า และมีความสามารถในการยังชีพสูง ไม่ค่อยชอบอยู่ในบังคับ กฎเกณฑ์ หรือถูกบังคับ นอกจากฝึกหัดให้เคยชินแต่เล็ก

ไทยหลังอาน (Thai Ridgeback)

ไทยหลังอาน (Thai Ridgeback) เป็นสุนัขพันธุ์พื้นเมืองเก่าแก่ของประเทศไทย มีขนาดกลาง ขนสั้น หูตั้งเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายจมูกสีดำและจะงอยปากแหลมยาว หางเรียวยาวเป็นรูปดาบ ลักษณะเด่นคือมีอานซึ่งเกิดจากขนอยู่บนแนวหลัง ถิ่นกำเนิดของสุนัขพันธุ์ไทยหลังอานอยู่ในภาคตะวันออก แถบจังหวัดจันทบุรีและตราด คนพื้นเมืองใช้สุนัขพันธุ์นี้ล่าสัตว์และติดตามเกวียนเพื่อคอยระวังภัย ระบบการคมนาคมที่ยังไม่ดีในสมัยก่อนทำให้ไทยหลังอานสามารถคงลักษณะดั้งเดิมอยู่ได้นาน


ถิ่นกำเนิดสุนัขไทยหลังอาน

สุนัขไทยหลังอานถือกำเนิดขึ้นมาบนโลกนี้ได้อย่างไร มีการวิเคราะห์และศึกษาจากผู้รู้คิดว่าสุนัขไทยหลังอานน่าจะมาจากสุนัขในกลุ่ม Wolf และ Jackal สุนัขไทยหลังอานเป็นสุนัขพันธุ์พื้นเมืองที่อยู่ในย่านเอเชียตะวันออกในเขตร้อน ซี่ง สุนัขพื้นเมืองในเขตนี้จะดูมีลักษณะคล้ายๆ กัน เช่น สุนัขในประเทศลาว เวียดนาม กัมพูชา พม่า มาเลเซีย บางแถบของประเทศจีน สุนัขในแถบนี้จะมีกระโหลกศีรษะเป็นสามเหลี่ยมรูปลิ่ม มีกรามใหญ่ที่แข็งแรง มีหูทั้งสองข้างตั้งชัน มีเส้นหลังตรง มีหางตั้งยกขึ้นเหมือนดาบหรือเคียว

แต่สุนัขไทยหลังอานจะมีลักษณะพิเศษเฉพาะคือมีขนที่เส้นหลังย้อนกลับที่เส้นกลางหลัง ที่สุนัขสายพันธุ์อื่นๆ ของประเทศต่างๆ ไม่มี และนี่จึงเป็นที่มาของสุนัขไทยหลังอาน

จากงานวิจัยของร.ศ. สุรวิช วรรณไกรโรจน์ อาจารย์ประจำคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้พบรอยเขียนภาพตามผนังถ้ำในยุคหินใหม่อายุราว 2000 ปี ที่จังหวัดนครราชสีมาและอุทัยธานี เป็นรูปสุนัขหูตั้งหางดาบ สีพื้นยืนคู่กับพรานธนูและลายเสือ แต่ไม่พบว่ามีการบันทึกเรื่องราวของสุนัขไทยหลังอานก่อนรัชสมัยรัชกาลที่ 9 เพราะสมุดข่อยยุคต้นรัตนโกสินทร์ที่กล่าวถึงสุนัขมงคลก็ไม่ได้กล่าวถึงสุนัขหลังอานหรือสุนัขที่มีขนย้อนกลับบนแผ่นหลังแต่ประการใด ทั้งนี้สมุดข่อยโบราณซึ่งถูกอ้างว่ามีอายุ 300 กว่าปีมาซึ่งมีใจความว่า “สุนัขตัวมันใหญ่ มันสูงเกินสองศอก มีสีต่างๆ ไม่ซ้ำกัน มันมีขนที่หลังกลับ มันร้ายมันภักดีต่อผู้เลี้ยงมัน มันหากินขุดรูหาสัตว์เล็กๆ มันชอบตามผู้เลี้ยงไปป่าหากิน มันได้สัตว์ มันจะนำมาให้เจ้าของ ถึงต้นยางมีน้ามัน มันมีกำลังกล้าหาญไม่กลัวใคร ธาตุสีทั้งหลาย รัชตะชาด มันมีโคนหาง มันมีหางเป็นดาบชาวป่า ถ้าผู้ใดมีไว้ในครอบครองจะได้รับความภักดีจากมัน”นั้นได้ถูกนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญภาษาโบราณของหอสมุดแห่งชาติอ่านในปี พ.ศ. 2539 แล้วไม่พบข้อความที่กล่าวอ้างแต่ประการใด ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษางานวิจัยของนักประวัติศาสตร์ชาวซิมบับเวแล้วให้ข้อมูลทางพันธุศาสตร์ตั้งสมมติฐานว่าสุนัขทีมีลักษณะหลังอานซึ่งเป็นบรรพบุรุษของสุนัขพันธุ์ไทยหลังอานน่าจะถือกำเนิดขึ้นจากการกลายพันธุ์จากสุนัขพันธุ์ปกติซึ่งไม่มีอานเมื่อไม่น้อยกว่า 2500 ปีมาแล้วในอาณาจักรฟูนัน แล้วสุนัขพันธุ์ดังกล่าวจึงได้ถูกเผยแพร่ไปยังอินเดียและโรดีเชียในเวลาต่อมา จนเป็นต้นกำเนิดของสุนัขหลังอานพันธุ์ Ari ของชนเผ่า Hottentot และสุนัขหลังอานพันธุ์ผสม Rhodesian ridgeback

อย่างไรก็ตามสุนัขไทยหลังอานถูกจัดให้เป็น”สุนัขประจำชาติไทย” โดยเป็นสุนัขที่สามารถช่วยปกป้องเตือนภัย ดูแลทรัพย์สิน และช่วยยังชีพในการออกป่าล่าสัตว์ ของคนไทยมาแต่โบราณกาล เราจะสามารถพิสูจน์ได้ว่า สุนัขไทยหลังอานของเราเคยอยู่คู่กับคนไทยเรามาตั้งแต่นมนาน ได้โดย ถ้าเราไปตามที่ชุมชนดั้งเดิมที่ยังมีการรักษาวัฒนธรรมไทยมาแต่ปู่ย่า ตายาย หรือ ตามพื้นที่นอกปริมณฑล เมื่อชาวบ้านเห็นสุนัขไทยหลังอาน พวกเขาจะเรียกชื่อสุนัขไทยหลังอาน กันอีกชื่อหนึ่งว่า “หมาพราน” เราจะเห็นได้ว่าสุนัขไทยหลังอานเราจะมีความสามารถพิเศษเฉพาะมากมาย ที่สุนัขสายพันธุ์อื่นไม่มีเหมือนหรือเปรียบเทียบได้เลยกับสุนัขไทยหลังอานของเรา ไม่ว่าจะเป็น “สายพันธุ์แท้ดั้งเดิม” ที่มีการพัฒนาด้วยตัวของมันเองมาแต่โบราณกาล มาจนถึงกระทั่งทุกวันนี้ ซี่งพึ่งมีคนหันมาให้ความสนใจในสุนัขไทยหลังอานและนำมาพัฒนาพันธุ์เมื่อไม่นานมานี้ มาช่วยกันอนุรักษ์และพัฒนาพันธุ์สุนัขประจำชาติไทยกันเถอะครับ

2009-05-30

ฟันสุนัข

การตรวจช่องปากและฟันของสุนัข ฟันน้ำนม และ ฟันแท้

ในตอนนี้จะกล่าวถึงความสำคัญของการตรวจสุขภาพของช่องปากและฟันสุนัขอย่างละเอียดว่า ทำเพื่ออะไร มีความสำคัญอย่างไร และควรทำเมื่ออายุเท่าไร รวมถึงการเจริญพัฒนาของฟันสุนัข การงอกของฟันสุนัข ฟันแท้ ฟันน้ำนม โครงสร้างของฟัน หลายท่านอาจมีความรู้บ้างแต่อาจจะเข้าในโดยไม่ถ่องแท้ก็เป็นได้ เราสามารถคำนวณอายุสุนัขจากการดูฟันน้ำนมและฟันแท้ของสุนัขได้อย่างคร่าวๆ และจะทราบถึงว่าเมื่อฟันแท้ขึ้นครบแล้วแต่ยังมีฟันน้ำนมหลงเหลืออยู่จำเป็นต้องถอนออกหรือไม่


การตรวจช่องปากและฟันสุนัข (เพื่ออะไร , ทำได้อย่างไรและเมื่ออายุเท่าไร)

การตรวจช่องปากสุนัขอย่างละเอียดถี่ถ้วน มีความจำเป็นอย่างมากเนื่องจากจะสามารถบ่งบอกให้รู้ถึงสุขภาพโดยรวมของสุนัขว่าเป็นอย่างไร โดยเฉพาะปัญหาในช่องปากและฟัน แน่นอนย่อมเป็นการเสี่ยงอย่างมากขณะทำการตรวจต่อตัวของสัตวแพทย์เอง ผู้ช่วย หรือแม้แต่ตัวเจ้าของเอง เพราะบางครั้งอาจเสี่ยงต่อการโดนสุนัขกัด สุนัขบางตัวสัตวแพทย์อาจแนะนำให้มัดปากก่อนหรือใส่ปลอกรัดปาก หรือใส่ตระกร้อ หรือบางกรณีอาจจำเป็นต้องให้ยาซึมหรือยาสลบเพื่อป้องกันการกัดในขณะที่สัตวแพทย์ทำการตรวจ

การวางยาซึมหรือยาสลบสุนัขในปัจจุบันนี้สามารถกล่าวได้ว่ามีความปลอดภัยเป็นอย่างมาก เจ้าของสุนัขไม่ต้องกลัวหรือกังวล สัตวแพทย์จะใช้ดุลยพินิจของตัวเองร่วมกับการตัดสินใจของเจ้าของ การตรวจช่องปากโดยละเอียดถี่ถ้วนนี้จะทำให้ทราบถึงสภาวะการเจ็บป่วยของสุนัขโดยรวมๆ ว่าเป็นอย่างไร มีปัญหาใดบ้างที่จำเป็นต้องป้องกันและแก้ไขเพื่อความปลอดภัยของสุนัขก่อนที่จะเกิดปัญหาร้ายแรงตามมา

ในช่องปากสุนัขจะมีเยื่อเมือกปกคลุมในส่วนของเหงือก ริมฝีปากด้านใน และด้านในของกระพุ้งแก้ม เยื่อเมือกนี้จะบ่งบอกให้รู้ว่าสุนัขอยู่ในสภาพขาดน้ำหรือไม่ ถ้าเยื่อเมือกมีสีชมพูและชุ่มชื้นก็แสดงว่าสุนัขมีสุขภาพดี แต่ถ้าเยื่อแห้งก็จะบ่งบอกว่าขาดน้ำ สาเหตุอาจเกิดจากการเสียน้ำจากกรณีปัสสาวะมากเกินไป ท้องเสีย หรือท้องมานก็ได้ ถ้าเยื่อเมือกซีดก็จะบ่งบอกว่าสุนัขมีปริมาณเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติหรือโลหิตจาง หรือสุนัขกำลังช็อค หรือถ้าเยื่อเมือกมีสีเหลืองก็จะบ่งบอกว่าเป็นดีซ่าน ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการวินิจฉัยโรคให้ตรงประเด็นยิ่งขึ้น ทำให้สัตวแพทย์วินิจฉัยได้ว่าสุนัขของท่านปกติหรือไม่ หรือน่าจะป่วยด้วยโรคหรือด้วยสาเหตุใดได้บ้าง เป็นแนวทางในการตรวจวินิจฉัยโรคเป็นลำดับๆ เพื่อหาทางรักษาสุนัขของท่านได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที

เยื่อเมือกในช่องปากที่ผิดปกตินอกจากจะขาดความชุ่มชื้น ซีด เหลือง และยังอาจพบว่ามีลักษณะเป็นแผลหลุม ซึ่งสามารถพบได้กรณีของการมียูเรียในกระแสเลือดมากเกินไป เนื่องจากสภาพความผิดปกติจากการทำงานของไต หรือเยื่อเมือกมีจุดเลือดออกเนื่องจากขาดเกล็ดเลือด ทำให้มีเลือดออกตามหลอดเลือดขนาดเล็กๆ ที่มาเลี้ยงบริเวณเยื่อเมือกของช่องปาก หรืออาจพบลักษณะตุ่มใสๆ ซึ่งอาจเกิดจากโรคทางระบบภูมิคุ้มกันของสุนัขก็ได้

การตรวจช่องปากสุนัขยังทำให้ทราบถึงสภาวะของโรคในช่องปากโดยเฉพาะ เช่น เหงือกอักเสบ สิ่งแปลกปลอมในปาก เนื้องอก ท่อของต่อมน้ำลายอุดตันหรือฉีกขาด หินปูน หินน้ำลาย ฝีที่ลุกลามจากรากฟันทำให้โพรงฟันอักเสบ ลิ้นอักเสบ ฟันน้ำนมที่ยังไม่หลุดเมื่อถึงอายุ 7 เดือน หรืออาจพบปัญหาฟันสึก ฟันแตก ฟันหักหรืออื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งจะนำไปสู่การวินิจฉัยโรคอย่างรวดเร็วและการรักษาอย่างถูกต้อง
การตรวจช่องปากและฟันของสุนัขที่มีสุขภาพปกติควรตรวจเมื่อสุนัขมีอายุได้ดังนี้

อายุ
  • ลูกสุนัข - 2 เดือน ควรตรวจดูว่าสบของฟันมีความผิดปกติหรือไม่ ฟันน้ำนมครบทุกซี่หรือไม่หรือมีการงอกของฟันผิดปกติหรือไม่
  • 4-5 เดือน ควรตรวจดูว่าเริ่มมีการหลุดของฟันน้ำนม และมีการแทนที่ของฟันแท้หรือยัง การสบของฟันดีหรือไม่
  • 6-7 เดือน ควรตรวจดูว่าฟันน้ำนมหลุดหรือยัง การงอกของฟันแท้มีทิศทางและตำแหน่งถูกต้องหรือไม่ ฟันขึ้นครบหรือไม่ มีฟันเกินฟันซ้อนหรือไม่
  • 8 เดือนขึ้นไป ควรตรวจดูว่ามีหินปูน หินน้ำลาย ฟันแตก ฟันหัก ฟันบิ่น รากฟันอักเสบ รากฟันเป็นฝี โพรงฟันเป็นฝี หรือการอักเสบของขากรรไกร
การตรวจช่องปากอย่างละเอียดถี่ถ้วนเท่านั้นที่จะสามารถพบปัญหาเหล่านี้ และเป็นหน้าที่ของเจ้าของสุนัขที่จะพาสุนัขมาตรวจกับสัตวแพทย์ แล้วท่านล่ะเคยพาสุนัขไปตรวจสุขภาพช่องปากและฟันบ้างหรือยัง


การงอกของฟันน้ำนม ฟันแท้ และการเจริญพัฒนาของฟัน

ฟันของสุนัขมี 2 ชุด คือ ฟันน้ำนมและฟันแท้ ซึ่งฟันและซี่จะมีส่วนที่พ้นเหงือกออกมา ( Crown ) และส่วนที่ฝังอยู่ใต้เหงือกในขากรรไกร เรียกว่า รากฟัน ( Root ) โดยแสดงรายละเอียดดังนี้
  • ส่วนของรากฟันที่พ้นเหงือก ( Crown ) คือ ส่วนที่เรามองเห็นได้ ปกติจะมีสีขาว
  • เคลือบฟัน ( enamel ) คือ ส่วนที่ปกคลุมส่วนของฟันที่พ้นเหงือกออกมาลักษณะแข็ง ผิวเรียบ เป็นมัน
  • คอฟัน ( neck ) คือ ส่วนสั้นๆ แคบๆ ของฟันที่โผล่พ้นเหงือก ( Crown ) ที่อยู่ชิดติดกับเหงือก
  • เนื้อฟัน ( dentin ) คือ ส่วนประกอบหลักที่เป็นฟัน มีความแข็งแรงคล้ายกระดูก ส่วนที่โผล่เหงือกออกมา ( Crown ) จะถูกปคลุมด้วยเคลือบฟัน ( enamel )
  • รากฟัน ( root of tooth ) คือ ส่วนของฟันที่ฝังอยู่อยู่ในส่วนของเหงือก
  • โพรงฟัน ( pulp ) เป็นที่อยู่ของเนื้อเยื่ออ่อนของฟัน ซึ่งจะมีเฉพาะเส้นประสาทที่ทำหน้าที่รับความรู้สึก ร้อน เย็น แรงกด และในโพรงฟันจะมีเส้นเลือดมาเลี้ยงตลอดความยาวของคลองรากฟัน( root canal )
การเจริญพัฒนาของฟันจะเริ่มตั้งแต่ยังเป็นตัวอ่อนอยู่ในท้อง และจะสมบูรณ์เป็นฟันแท้เมื่ออายุครบ 6 – 7 เดือน ในขณะที่เป็นตัวอ่อนอยู่ในท้องของแม่ เซลล์ที่เป็นต้นกำเนิดของฟันจะมีการจัดเรียงตัวและเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเซลล์เป็นตุ่มเล็กๆ เป็นรูปร่างของฟัน ฟันจะเริ่มโผล่พ้นเหงือกก่อนที่รากฟันจะมีการพัฒนาอย่างสมบูรณ์ หลังจากฟันน้ำนมมีการโผล่พ้นเหงือกหรือฟันงอกจนเป็นฟันน้ำนมอย่างสมบูรณ์ได้ไม่นานรากของฟันน้ำนมจะมากเสื่อมและถูกดูดซึมทำงานด้วยกลไกของร่างกาย ขณะเดียวกันตุ่มหรือหน่อของฟันแท้ก็จะเริ่มมีการเจริญพัฒนางอกขึ้นมาแทนที่ฟันน้ำนมหลังจากฟันน้ำนมหลุดออกไป

ฟันน้ำนมนี้จะคงอยู่ จนกระทั่งขนาดของขากรรไกรมีขนาดเพียงพอที่จะรองรับให้ฟันแท้งอกขึ้นมา ฟันแท้จะขึ้นครบทุกซี่เมื่ออายุได้ 6-7 เดือน ขึ้นอยู่กับขนาดของพันธุ์สุนัขว่าเป็นสุนัขพันธุ์เล็กหรือพันธุ์ใหญ่

ฟันน้ำนม

ฟันน้ำนมปกติจะพบได้เฉพาะในลูกสุนัขเท่านั้น ถ้าลูกสุนัขอายุเกิน 6-7 เดือนไปแล้วยังมีฟันน้ำนมหลงเหลืออยู่ถือเป็นเรื่องผิดปกติอย่างรุนแรง จำเป็นต้องแก้ไขด้วยการถอนอย่างถูกวิธี

ฟันน้ำนมนี้จะถูกแทนที่ด้วยฟันแท้ โดยเริ่มตั้งแต่อายุ 2-3 เดือนในลักษณะของตุ่มหรือหน่อของฟันแท้ใต้เหงือก ในขณะเดียวกันกับที่รากฟันน้ำนมถูกทำลายและการดูดซึมด้วยกลไกของร่างกายสุนัข

ลูกสุนัขที่คลอดใหม่จะไม่มีฟัน ฟันน้ำนมในลูกสุนัขจะเริ่มงอกเมื่ออายุได้ 2-4 สัปดาห์ โดยฟันเขี้ยว (Canine tooth ) จะโผล่พ้นเหงือกขึ้นมาก่อน และจะขึ้นครบทุกซี่เมื่ออายุได้ประมาณ 8 สัปดาห์

ฟันน้ำนมจะมี 28 ซี่ ดังนี้

ชนิดของฟัน จำนวนคู่ จำนวนซี่
ฟันตัด ( Incisor : I )ฟันบน3 คู่
ฟันล่าง3 คู่
รวม12 ซี่
ฟันเขี้ยว ( Canine : C ) ฟันบน1 คู่
ฟันล่าง1 คู่
รวม4 ซี่
ฟันกรามน้อยหรือฟันก่อนฟันกราม ( Premolars : PM ) ฟันบน 3 คู่
ฟันล่าง 3 คู่
รวม12 ซี่
รวมทั้งหมด28 ซี่

ฟันน้ำนมจะมีการพัฒนาที่ดีมากมีความยาวของรากฟันสัมพันธ์กับส่วนของฟันที่พ้นเหงือก( Crown ) กล่าวคือถ้าส่วนของฟันที่พ้นเหงือก ( Crown ) ยาว รากฟันซี่นั้นก็จะยาวด้วย ฟันน้ำนมของสุนัขจะคงอยู่ในปากสุนัขจนกระทั่งถึงเวลาที่ขากรรไกรมีขนาดเพียงพอที่จะทำให้ฟันแท้โผล่งอกพ้นเหงือกขึ้นมาได้ รากของฟันน้ำนมจะเริ่มถูกทำลายและดูดซึมอย่างรวดเร็ว หลังจากที่ฟันน้ำนมมีการงอกขึ้นอย่างสมบูรณ์ และจะถูกแทนที่ด้วยฟันแท้ในตำแหน่งเดียวกัน เพราะเหตุว่าตำแหน่งของฟันน้ำนมจะเป็นที่อยู่ของฟันแท้นี่เอง จึงมีความสำคัญมากต่อการงอกของฟันแท้ ดังนั้นเมื่อลูกสุนัขอายุได้ 8 สัปดาห์ (2 เดือน) ควรได้รับการตรวจฟันว่าการสบของฟันมีปัญหาหรือไม่ หรือมีความผิดปกติแต่กำเนิดของทิศทางการงอกของฟันหรือตำแหน่งของฟันหรือไม่ ในกรณีเกิดมีปัญหาต่อฟันน้ำนมของสุนัข เช่น การชอกช้ำจากการกระทบกระแทกหรือการขึ้นผิดตำแหน่งหรือมีการติดเชื้อในฟันน้ำนมซี่ไหนก็ตาม ถ้ามีการพิจารณาแก้ไขโดยการถอนทิ้ง ควรกระทำด้วยความระมัดระวังอย่างมาก โดยต้องไม่กระทบกระเทือนหรือมีผลเสียต่อหน่อหรือตุ่มของฟันแท้ที่อยู่ใต้เหงือก เพราะจะมีผลต่อการงอกการเจริญพัฒนาของฟันแท้ อาจทำให้ผิดตำแหน่ง ทิศทาง ผิดรูปร่างของฟันแท้ได้

ฟันแท้

ฟันแท้ในสุนัขจะมี 42 ซี่ การงอกของฟันแต่ละซี่แต่ละชนิดจะปรากฎเมื่ออายุดังต่อไปนี้

ชนิดของฟัน อายุ
ฟันตัด ( Incisor : I ) 2 – 5 เดือน
ฟันเขี้ยว ( Canine : C ) 5 – 6 เดือน
ฟันกรามน้อยหรือฟันก่อนฟันกราม ( Premolars : PM ) 4 – 6 เดือน
ฟันกราม ( Molar : M ) 5 – 7 เดือน

จำนวนฟันแท้ 42 ซี่ แยกเป็นแต่ละชนิดดังนี้

ชนิดของฟัน จำนวนคู่จำนวนซี่
ฟันตัด ( Incisor : I ) ฟันบน3 คู่
ฟันล่าง3 คู่
รวม12 ซี่
ฟันเขี้ยว ( Canine : C ) ฟันบน1 คู่
ฟันล่าง1 คู่
รวม4 ซี่
ฟันกรามน้อยหรือฟันก่อนฟันกราม ( Premolars : PM ) ฟันบน4 คู่
ฟันล่าง4 คู่
รวม16 ซี่
ฟันกราม ( Molars : M )ฟันบน2 คู่
ฟันล่าง3 คู่
รวม10 ซี่
รวมทั้งหมด42 ซี่


ที่มา : ชมรมสร้างสรรค์สุนัขพันธุ์ไทย

โรคขี้เรื้อนขุมขนในสุนัข (Canine Demodicosis)


สาเหตุ


เกิดจากตัวไรที่อยู่ตามรูขุมขนในสุนัข มีชื่อเรียกว่า Demodectic mite หรือ ( D. canis)


สายพันธุ์ที่พบบ่อยและปัจจัยโน้มนำ

ในลูกสุนัขอายุตั้งแต่ 3-18 เดือน หรือในสุนัขที่โตเต็มวัย โดยเฉพาะสุนัขพันธุ์ขนาดกลางและขนาดใหญ่ที่เป็นพันธุ์แท้ เช่น เชาเชา ไซบีเรียน ฮัสกี้ ชิสุ แต่ในสุนัขที่มีอายุมากพบว่าสาเหตุมักร่วมกับการมีความบกพร่องของระบบภูมิการคุ้มกันในร่างกาย หรือในรายที่มีภาวะการป่วยเรื้อรัง เช่น เบาหวาน โรคความผิดปกติต่อมหมวกไต หรือมะเร็ง จะทำให้เกิดภาวะการติดเชื้อแบคทีเรียในร่างกาย โดยบางครั้งเป็นหย่อมๆ อักเสบตามผิวหนัง หากเป็นมากจะแพร่กระจายไปทั่วตัว


การติดต่อ

ไม่ติดต่อโดยการสัมผัส แต่ถ้าสุนัขตัวนั้นมีภาวะของภูมิคุ้มกันต่ำจะทำให้มีโอกาสติดต่อง่ายขึ้น พบว่ามีการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ระหว่างสายเลือด จึงไม่แนะนำในการทำพันธุ์


อาการและความรุนแรงของโรค

ไม่แน่นอน บางตัวกระจายทั่วตัว บางตัวกระจายเฉพาะที่ เช่น รอบตา ที่หน้า อุ้งเท้า โดยจะพบการอักเสบที่รุนแรง ขนร่วง มีคราบสะเก็ดหนองแห้งหรือเปียกเกรอะกรัง และเกิดภาวะผิวหนังอักเสบรุนแรง


การตรวจวินิจฉัยโรค

สัตวแพทย์ต้องทำการขูดบริเวณที่ขนร่วงและตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ จะพบตัว Demodec มีรูปร่างคล้ายหัวไชเท้าจำนวนมากใน slide


การรักษาโรค

โดยทั่วไปนิยมการฉีดยาฆ่าตัวไรโดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง อาทิตย์ละ 1 ครั้ง ติดต่อกันนาน 8 ครั้ง
หากไม่ดีขึ้นนิยมที่จะเปลี่ยนเป็นยากินในรูปยาน้ำทุกวันติดต่อกันนาน 2 เดือน หรือจนกว่าจะตรวจไม่พบตัวขี้เรื้อนที่ผิวหนังแล้ว
การใช้ยาฆ่าตัวไร ชโลมตามผิวหนังหลังการอาบน้ำด้วยแชมพูยา โดยอาบอาทิตย์ละ 1 ครั้ง
บางตัวที่เป็นมาก อาจมีความจำเป็นที่จะต้องให้ยาปฎิชีวนะ ยาบำรุงผิวหนังเพื่อช่วยลดการอักเสบ ร่วมด้วยยาลดคัน ห้ามใช้ยาในกลุ่มสเตียร์รอยด์ ไม่ว่าในกรณีใดๆ


การพยากรณ์โรค

พบว่าในสุนัขที่มีอายุน้อยมีโอกาสหายขาดง่ายกว่าในสุนัขที่อายุมาก มักพบการกลับมาเป็นใหม่ได้หากร่างกายไม่สมบูรณ์ จึงมีความจำเป็นที่เจ้าของสุนัขควรจะต้องเอาใจใส่ดูแลเป็นกรณีพิเศษก่อนที่จะลุกลามไปทั่วตัว

ข้อบัญญัติ 7 ประการ คู่มือการประกวดสุนัขบางแก้วพิษณุโลก

การตัดสินการประกวดสุนัขบางแก้วในการประกวดสุนัขบางแก้ว เจ้าของสุนัขหลายท่านมีความเห็นคัดค้านการตัดสินของกรรมการ และกรรมการตัดสินการประกวดแต่ละสนามก็ตัดสินไม่เหมือนกัน ในเรื่องเจ้าของสุนัขและกรรมการมีความแตกต่างกันเป็นเรื่องธรรมดา เพราะว่าเจ้าของสุนัขก็บอกว่าสุนัขของตัวเองสวย ส่วนกรรมการก็มีความเห็นเป็นกลางบอกว่าสุนัขตัวอื่นสวยกว่า ดังนั้นเพื่อให้ผู้เลี้ยงสุนัขได้ทราบถึงหลักเกณฑ์การตัดสินการประกวดและกรรมการที่ตัดสินได้ยืดหลักการตัดสิน จึงมีข้อแนะนำเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อวงการเลี้ยงสุนัขบางแก้ว ดังนี้

ข้อควรรู้หรือบัญญัติ 7 ประการ ก่อนตัดสินการประกวดสุนัขบางแก้ว

1. มาตรฐานพันธุ์ เมื่อสมาคมหรือชมรมประกาศมาตรฐานพันธุ์สุนัขบางแก้วออกมา ให้ยืดถือมาตรฐานพันธุ์นั้นเป็นเกณฑ์ในการตัดสิน ที่ผ่านมาก็ต้องยืดมาตรฐานพันธุ์ที่สำนังานปศุสัตว์จังหวัดพิษณุโลกได้ประกาศไว้ เมื่อปี 2542 ซึ่งเป็นมาตรฐานพันธุ์ของสุนัขบางแก้วสีรวม คือ สีขาว-น้ำตาล, ขาว-ดำ และสีอื่นๆ ดังนั้นการตัดสินกรรมการจึงต้องใช้มาตรฐานพันธุ์เป็นคู่มือหรือคัมภีร์ บางครั้งมีสุนัขเข้าประกวดเพียง 1 - 2 ตัว ก็สามารถตัดสินได้

2. สีของสุนัขบางแก้ว ในขณะนี้ในท้องตลาดจะพบว่านิยมเลี้ยงกันอยู่ 3 สี คือ ขาว-น้ำตาล, ขาว-ดำ, และบางแก้ว 3 สี คือ ขาว-น้ำตาล-ดำ หรือ บางตัวจะเป็นสีดำออกเทาๆ ในขณะที่สุนัขบางแก้วได้พัฒนาขึ้นมาเป็นลำดับดังนี้
2.1 ขาว-น้ำตาล ไ ด้รับการพัฒนาสายเลือดมาก่อนสีอื่น เป็นที่ยอมรับของผู้เลี้ยงโดยทั่วๆ ไป และมีผู้เลี้ยงมากที่สุดในขณะนี้ โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกและใกล้เคียง
2.2 ขาว-ดำ ในขณะนี้พบในท้องตลาดและผู้เลี้ยงเข้าประกวดลดลง เป็นสุนัขที่มีรูปร่างสวยงาม โดยเฉพาะจะพบว่าขนของสุนัขขาว-ดำจะยาวฟู และมักจะพบเสมอว่าสีดำจุดกระเล็กๆ ในบริเวณพื้นสีขาว และพบมากที่ขาหน้าทั้งสองข้าง ถ้าหากผู้เลี้ยงได้พัฒนาต่อไป เชื่อว่าจุดกระสีดำจะหมดไป สุนัขบางแก้วขาว-ดำ ที่โด่งดังมากที่สุดเป็นพ่อพันธุ์ชื่อ “กี้” ของหมู่บ้านชุมแสงสงคราม หมู่ที่ 2 ได้รับรางวัลที่ 1 เมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว เป็นที่นิยมของผู้เลี้ยงถึงขนาดลูกหลานของกี้ออกมามีผู้แย่งซื้อกันมาก
2.3 ขาว-เทา บางครั้งเรียกว่าบางแก้ว 3 สี เมื่อสิบกว่าปีที่แล้วจังหวัดพิษณุโลกได้ตัดสินประกวดสุนัขบางแก้วออกมาตัวหนึ่งเป็นสีขาว-เทา เพศผู้ ขนาดเล็กได้ืที่ 3 จำชื่อเจ้าของไม่ได้ ต่อมามีผู้ซื้อมาพัฒนาพันธุ์ในเมืองพิษณุโลกพัฒนาออกมาในสายของ “โอเล่” เนื่องจากมีสีขาว-เทา เพศผู้เพียงตัวเดียว พัฒนาอย่างไรก็ไม่ขึ้น คือ คงความเป็นสีขาว-เทา สองสีอยู่ไม่ได้ จึงได้มีการนำเอาสุนัขบางแก้วขาว-น้ำตาลมาผสมกับสีขาว-ดำ จึงได้สุนัขออกมาสามสี และพบว่าบางตัวจะมีสีเทาแก่จนเป็นสีดำไป จึงน่าเรียกว่าเป็นสุนัขบางแก้วสามสีจะดีกว่า หากพัฒนาเช่นนี้จะไม่ได้สายเลือดนิ่ง คือ จะกำหนดบริเวณของสีหรือขนาดของสี (marking) ไม่ได้แน่นอน สุนัขสีนี้ที่กรุงเทพฯ เป็นที่นิยมเลี้ยงมาก อาจจะเคยประกวดได้ที่ 1 และปั่นราคากันแถมโฆษณาขวนเชื่อว่าเป็นต้นตระกูลของสุนัขบางแก้วเสียอีก ถ้าเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จะทำให้ผู้เลี้ยงเกิดความเบื่อหน่ายดังเช่นสุนัขไทยหลังอาน เพราะมีความมักง่ายไปปั่นราคาสุนัขหลังอานขนกำมะหยี่ ต่อมาก็ไปไม่รอดไม่พบเห็นขนกำมะหยี่ของผู้เลี้ยงเลย เพราะว่าเป็นขนเกรียนสั้นมากไม่เหมาะสมกับอากาศร้อนบ้านเราที่มีแมลง และยุงมากจนเกิดโรคผิวหนังตามมา แต่ผู้ผสมพันธุ์หารู้ไม่ว่าการเอาของมีน้อยมาปั่นราคาขาย เป็นการเอายีนส์ด้อยออกมาโชว์ย่อมไ่ม่เกิดผลดี ดังนั้นหากจะคงสายพันธุ์นี้ไว้ได้ จะต้องปรับปรุงพันธุ์ให้สายเลืิอดนิ่ง ถ่ายทอดกรรมพันธุ์ได้คงที่และัมั่งคงสู่ลูกหลาน

3. รูปทรง สุนัขบางแก้วเป็นสุนัขที่จัดอยู่ในประเภทรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส หมายความว่า เมื่อยืนตรง มองด้านข้างแล้วนึกในใจว่า ถ้าไม่มีคอและหางที่เหลือคือ ลำตัวแผ่นหลัง, ขาหน้า, ขาหลัง และความห่างของขาหน้าและขาหลังดูแล้วจะเท่ากันหมด จึงเรียกว่าสี่เหลี่ยมจัตุรัสดังนั้นผู้นำสุนัขเข้าประกวดไม่น่าจะเอารูปแบบสุนัขพันธุ์อื่นที่พันธุ์ของเข้าเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้ามาเป็นตัวอย่างในท่ายืน คือ เอาขาเหยีอดออกไปข้างหน้าข้างหลัง จะทำให้สุนัขบางแก้วดูแล้วไม่เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ดังนั้นผู้นำสุนัขบางแก้วเข้าประกวดไม่จำเป็นต้องจัดท่าให้กรรมการดู ควรให้ยืนท่าปกติ หันด้านข้างให้กรรมการดูเท่านั้นก็พอ

4. ขน สุนัขบางแก้วเป็นสุนัขขนยาวเมื่อเทียบกับสุนัขไทยทั่วไป เพราะว่าสุนัขบางแก้วพัฒนามาจากบ้านบางแก้ว เป็นป่าน้ำขัง มีคลองบางแก้วอยู่ จึงมียุงและแมลงมาก ขนยาวจึงเป็นการป้องกันยุงกัดได้ นอกจากขนยาวแล้วมีขนขึ้นหนาทึบ ทำให้สุนัขบางแก้วชอบอาบน้ำ ลงเล่นน้ำ เพราะว่าขนทึบหนาทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น จึงเป็นสุนัขขี้ร้อน เมื่อโตเ็ต็มที่จะพบว่ามีขนยาวขึ้นบนไหล่อีกชั้นหนึ่ง ตัวผู้ขนคอยาวดูคล้ายหน้าสิงโต และขนยาวออกผหลังขาหน้าดูคล้ายขาสิงห์ ที่กล่าวมานี้จะพบได้ทุกตัว ถ้าหากสุนัขบางแก้วมีอายุมากขึ้น

5. หาง ต้องเข้าใจว่าสุนัขบางแก้วตามปกติแล้ว พัฒนามาจากสุนัขจิ้งจอก ดังนั้นจึงต้องมีหางเป็นพวงเหมือนสุนัขจิ้งจอก และหางต้องไม่ยาว บางตัวเวลาวิ่งหางอาจจะตั้งเหมือนกระรอกก็ได้ ข้อสำคัญหางต้องเป็นพวง ถ้าโค้งไปบนหลังต้องตรงเส้นสันหลัง หางต้องไม่ไพล่ไปด้านใดด้านหนึ่ง

6. หู เรื่องหูนี้ผู้เลี้ยงสุนัขบางแก้วรุ่นใหม่ๆ จะตัดสินผิดหมด บางคนบอกไม่ใช่สุนัขบางแก้วไปเลยก็มี ในประวัติสุนัขบางแก้วนั้น สุนัขบางแก้วน่าจะมาจาก 3 สายพันธุ์ คือ สุนัขจิ้งจอก สุนัขป่า (หมาแดง) และสุนัขไทย ดังนั้น สุนัขบางแก้วที่ได้รับการส่งเสริมพัฒนารุ่นแรกๆ จะพบว่ามีหูเล็กเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายแหลม ปลายหูเบนออกจากกัน แต่ปัจจุบันจะพบว่าใบหูใหญ่ขึ้นมากกว่าเดิม และใบหูตั้งตรงเหมือนสุนัขอัลเซเชี่ยน ดังนั้นผู้เลี้ยงรุ่นใหม่ จึงพบแต่สุนัขบางแก้วหูตั้งตรง พอพบสุนัขบางแก้วหูเล็กปลายหูเบนออกไปด้านข้าง บอกว่าไม่ใช่สุนัขบางแก้ว จึงขอให้เข้าใจว่าสุนัขบางแก้วมี 2 แบบ แบบเก่ากับแบบใหม่ ดังที่กล่าวมาแล้ว

7. อายุ ในการประกวดสุนัขบางแก้วนั้น ถ้าเราคิดว่าการเป็นสัดครั้งแรกอยู่ที่ 8 เดือนขึ้นไป จึงเรียกว่าการเป็นสาวเริ่มแรกแล้ว แต่การเจริญเติบโตเต็มที่ต้อง 12 เดือนขึ้นไป ซึ่งจะสอดคล้องกับเพศผู้ ตัวผู้ก็จะเริ่มผสมพันธุ์ก็ต้อง 12 เดือนขึ้นไป จึงอยากจะสรุปได้ว่า ถ้ามีประกวดสุนัขบางแก้วอายุตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป จะทำให้ได้สุนัขที่สวยงามและรูปร่างที่คงที่ ซึ่งต่างจากอายุต่ำลงมา เช่น ประกวดรุ่นไม่เกิน 3 เดือน หรือ 6 เดือน การเจริญเติบโตยังต้องมีอยู่และมีการเปลี่ยนแปลงได้ แต่มีการประกวดรุ่นเล็ก เพื่อเป็นการฝึกหัดสุนัขที่เข้าประกวด ฝึกหัดการดู และคัดเลือกสุนัขเล็ก ดังนั้น สุนัขรุ่นเล็กที่ชนะเลิศแล้ว เมื่อเลี้ยงโตขึ้นไปเป็นหนุ่ม-สาวแล้ว ไม่จำเป็นที่ต้องสวยเหมือนตอนเล็กๆ ก็ได้

การตัดสินการประกวด มีขั้นตอนดังนี้

1. การตรวจสุขภาพ ต้องสมบูรณ์โดยการดึงขนดูว่าหลุดออกมาติดมือกรรมการหรือไม่ ตรวจดูความผิดปกติที่เป็นลักษณะกรรมพันธุ์ เช่น ลูกอัณฑะเม็ดเดียว นิ้วเกิน ฟันบนและล่างประกบกันไม่สนิท เป็นปากนกแก้วหรือฟันล่างยื่น ลักษณะที่พบเช่นนี้ให้คัดสุนัขออกไปก่อน ลักษณะที่ไม่พึงปรารถนา เช่น ดูแล้วมีจุดตรงหัวคิ้ว เรียกว่า “หมาสี่ตา” หรือแบบสุนัขสวมแว่น ก็ต้องคัดออกไป

2. การดูด้านข้าง ให้กรรมการยืนดูห่างออกมาเพื่อจะดูรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส ถ้าไม่ได้สี่เหลี่ยมจัตุรัสให้คัดออกไปเลย ดูหลังแอ่นหรือไม่หลังควรจะตรงดูดั้งจมูกที่จะต่อกับหัวคิ้วต้องแอ่นหรือหักลงเล็กน้อย ไม่ควรจะตรง ดูสีของขนที่มีขาวกับน้ำตาล หรือขาว-ดำ จะสมดุลกันสีขาวไม่ควรจะมากเกิน 50% ดูขนยาวที่ขาว่าเป็นขาสิ่งห์หรือไม่ เป็นต้น

3. การดูหน้าตรง การสังเกตใบหน้าของสุนัขบางแก้ว จะเป็นรูปทรงปากแหลม ต่อมาดูความสมดุลของสีตามใบหน้า ทั้งซีกซ้ายและขวาต้องเท่ากัน ดูสีดำของขอบปากเรียกว่า ปากมอม ต้องสีดำไม่ถึงใบหู ดูใบหูได้สมดุลกันทั้งสองข้าง จมูกและขอบริมฝีปากต้องไม่ด่าง จมูกต้องดำตลอด ถ้ามีขนสีขาวปนต้องคัดทิ้ง สีของลูกตาต้องเป็นสีเหลืองทั้ง 2 ข้าง และสังเกตดูจะเป็นรูปหน้าสิงห์หรือหน้าเสือ

4. การดูด้านหลัง จะดูหางเป็นพวง ปลายหางโค้งไปตรงแกนหลัง ต้องไม่ไพล่ไปข้างใดข้างหนึ่ง ขนที่ก้นย้อยต้องยาวออกมา ถ้าเป็นเพศเมียอวัยวะเพศต้องสมบูรณ์ไม่ด่าง

5. การดูท้อง ต้องให้สุนัขยืน 2 ขาหลัง กรรมการควรจะดูหัวนมบอดหรือไม่ ขนาดสม่ำเสมอหรือไม่ หัวนมซ้าย-ขาว ต้องตรงกัน และได้ระเบียบหัวนมแต่ละข้างจะต้องมีจำนวนเท่ากัน อย่างต่ำต้องมี 3 คู่ ถ้ามี 4 หรือ 5 คู่ยิ่งดี เพราะว่าความสามารถการให้ลุกของสุนัขเพศเมียต้องเท่ากับจำนวนเต้านม เช่น มีเต้านม 3 คู่ ก็สามารถมีลูกได้ 6 ตัว ถ้ามี 4 คู่ก็สามารถได้ลูก 8 ตัว ดังนั้นการมีเต้านมมากจึงได้เปรียบ

6. การวิ่งวงกลม สังเกตจังหวะการวิ่งความเหนื่อยหอบมากน้อยแค่ไหน จากการเตรียมตัวฝึกซ้อมมาประกวดดูขาหน้าข้อเท้าขาหน้าข้ออ่อนหรือไม่ ที่เรียกว่าวิ่งตีนเป็ดหรือไม่ ดูหางถ้าเป็นสุนัขบางแก้ววิ่งแล้วหางต้องตั้งตรงแบบหางกระรอกจะสวยงาม หรือหางเป็นพวงไปข้างหน้า หรือเวลาวิ่งเร็วจะลู่ไปด้านหลังอย่างมีระเบียบ ดูหลังแอ่นหรือไม่ แล้วกรรมการควรจะจัดอันดับการวิ่งให้ตัวที่สวยๆ และรองลงมาเรื่อยจนถึงตัวสุดท้ายที่ต้องคัดออกให้หยุดวิ่งก็ได้

7. การวิ่งตรง ควรให้วิ่งทีละตัว สังเกตการวิ่งตัวตรงหรือไม่ ดูจากให้วิ่งเข้าหากรรมการและวิ่งออกไปคือ ดูด้านหน้าและด้านหลัง ดูด้านหน้าให้สุนัขวิ่งเข้าหากรรมการ ขาหน้าขวาหรือซ้ายวิ่งเจ็บหรือไม่ ข้ออ่อนหรือไม่ ขาซ้ายและขวาวิ่งเข้าด้านในหรือไม่ หน้าอกลึกกว่างหรือไม่ การดูด้านหลังขาหลังข้างใดข้างหนึ่งเจ็บหรือไม่ ว่าหัวเข่า “หลีกหนาม” หรือไม่ ดูหางตั้งตรงหรือไม่ ถ้าหากกรรมการยังตัดสินคัดตัวใดตัวหนึ่งไม่ได้ ให้นำมาวิ่งเปรียบเทียบเป็นคู่ๆ จะทำให้ตัดสินได้ว่าตัวไหนดีกว่า

ที่มา: หนังสือสุนัขบางแก้ว OTOP มีชีวิตเมืองสองแคว

ลักษณะนิสัยของสุนัข ไทยบางแก้ว

นิสัยของสุนัขบางแก้วนั้น จะมีนิสัยที่ร่าเริง ซุกซน อยากรู้อยากเห็น ดุ หวงของ หวงเจ้านาย ขี้อิจฉา ขี้อ้อน ประจบเก่ง เจ้าเล่ห์ อันนี้เป็นนิสัยพื้นฐานของสุนัขบางแก้ว ซึ่งในสุนัขบางแก้วเราสามารถที่จะพบเจอได้เสมอๆ ฉะนั้นก่อนที่คุณจะตัดสินใจเลี้ยงสุนัขบางแก้ว ขอให้คุณศึกษานิสัยของสุนัขพันธุ์นี้ให้ดีเสียก่อน เพราะนิสัยของสุนัขจะเปลี่ยนไปตามช่วงอายุ การเลี้ยงดู และสายพันธุ์(การสืบทอดทางพันธุ์กรรม) การที่จะเลี้ยงสุนัขบางแก้วให้ได้ดีๆตัวหนึ่งนั้น จะต้องประกอบด้วย ผู้เลี้ยงที่ดีและสุนัขนั้นมีสายเลือดที่ดี ต้องมีทั้งสองส่วนประกอบกัน

เมื่อเราคิดไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้วว่าเราต้องการจะเลี้ยงสุนัขบางแก้ว เราต้องเริ่มศึกษาถึงนิสัยและพฤติกรรมของเขาในแต่ละช่วงอายุ ต้องหาความรู้เรื่องวิธีเลี้ยงและต้องเลี้ยงอย่างถูกวิธี ประการสำคัญก็คือ ความรัก ความรู้สึกดีๆกับสุนัขพันธุ์บางแก้ว เท่านี้คุณก็จะเป็นผู้เลี้ยงสุนัขบางแก้วที่มีคุณภาพคนหนึ่ง
นิสัยของสุนัขบางแก้วนั้น จะพื้นฐานนิสัยที่ไม่แตกต่างกันมากนัก คือ เป็นสุนัขที่หวาดระแวงและอาจนำมาซึ่งความดุ หวงของเล่น หวงของกิน หวงถิ่นที่อยู่ ขี้อิจฉา เจ้าเล่ห์ ขี้ประจบ เป็นนักทำลายของ ฯลฯ ในสุนัขบางแก้วตัวหนึ่งนั้นจะมีทั้งด้านที่ดีและด้านที่ไม่ดี ดังนั้นหากเราเลี้ยงให้ถูกวิธี รู้จักวิธีการป้องกันไม่ให้เขาแสดงนิสัยที่ไม่ดี เขาก็เป็นสุนัขที่ไม่มีปัญหา และเป็นสุนัขที่น่ารักมากๆสำหรับเราและครอบครัว

สาเหตุที่สุนัขบางแก้วดุ
สุนัขบางแก้วดุจริงหรือ? ท่านลองถามคำถามนี้กับผู้เลี้ยงสุนัขบางแก้วหลายๆท่าน แล้วท่านจะทราบว่า สุนัขบางแก้วไม่ได้ดุอย่างที่ท่านคิด สุนัขบางแก้วน่ารัก มีเสน่ห์ แต่สำหรับบางท่านผู้ซึ่งมีประสบการณ์ที่ไม่ดี กับสุนัขบางแก้วก็จะบอกว่ามัน ดุมากเลี้ยงไม่ได้ แต่ลองมาเปรียบเทียบอัตราส่วนระหว่างผู้ที่มีความรู้สึกดีๆกับสุนัขบางแก้วกับผู้ที่มีความรู้สึกไม่ดีต่อสุนัขบางแก้ว ผู้ที่มีความรู้สึกดีๆกับสุนัขพันธุ์บางแก้วจะมีมากกว่า

ลักษณะของสุนัข ไทยบางแก้ว

ชมรมผู้อนุรักษ์และพัฒนาสุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว จ.พิษณุโลก เป็นหน่วยงานแรก ๆ ที่ได้ประชุม ตกลงร่างมาตรฐานหมาบางแก้วขึ้นมา (ในปี พ.ศ. 2534 และได้ถือเป็นแบบอย่างมาเท่าทุกวันนี้)

หมาบางแก้วจะเดินหรือวิ่งเหยาะ ๆ ท่วงท่าสวยงาม ปกติจะวิ่งซอยเท้าถี่ ๆ สง่างาม บางตัวเวลาเดินเห็นแผงขนบนสันหลังยกขึ้นดูสง่างามเฉกเช่นม้าย่างเท้าสวนสนาม ขึ้นชื่อมากเรื่องความดุ มีความซื่อสัตย์ต่อเจ้าของ รักและหวงเจ้าของ ไม่ชอบคนแปลกหน้า มีความสามารถในการดมกลิ่นเป็นเลิศ จำเสียงได้แม่นยำ กินอาหารง่าย มีความกล้าหาญ กล้าที่จะสู้กับสุนัขที่ตัวโตกว่า มีประสาทตื่นตัวอยู่เสมอแม้นอนหลับ เป็นสุนัขที่ชอบเล่นน้ำ เมื่อหมอบข้อศอกจะแนบกันพื้นและเท้าหลังจะแบออกทั้งสองข้าง ก่อนจะกินน้ำในอ่าง ชอบเอาเท้าหน้าข้างหนึ่งข้างใดจุ่มลงไปในอ่างก่อน เวลาขู่จะเหยียดขาหน้าพุ่มไปข้างหน้า แล้วผงกหัวและแผงขนหลังตั้งขึ้นพร้อมกับส่งเสียงขู่ ชอบกินเนื้อสัตว์และปลา เนื่องจากหมู่บ้านบางแก้ว อาชีพหลักของชาวบ้านแถบนั้นคือจับปลา ค้าปลาน้ำจืด และเลี้ยงสุนัขไว้บนแพ อาหารที่ได้จึงหลีกไม่พ้นปลา แต่อาหารอื่นก็กินได้เช่นกัน

หัวกะโหลก: กะโหลกใหญ่ ปากยาวแหลม คอยาวกว่าหมาไทยทั่วไป กะโหลกศีรษะและปากรับกันเป็นรูปสามเหลี่ยม หูเล็กสั้นตั้งป้องไปข้างหน้า ปลายหูเบนออกข้างเล็กน้อย โคนหูทั้งสองอยู่ห่างกันมากกว่าหมาไทยหลังอาน จึงใช้เป็นจุดเด่นในการสังเกตว่าเป็นหมาบางแก้ว ตาเล็กกลมรี พื้นสีตาเป็นสีเหลืองทองคล้ำ ม่านตาตรงกลางสีดำ มีแววของความไม่เชื่อใจใครง่าย ๆ ขณะโกรธหรือขู่จะขึ้นแววฟ้าใส แววที่เรียกว่า “ตาเขียว” จมูกสีดำ ฟันซี่เล็กขาวคม มีเขี้ยวข้าบน 2 ล่าง 2 ลิ้นเป็นสีชมพู ส่วนมากไม่มีปากดำเหมือนหมาไทยหลังอาน

หู: มี 2 ลักษณะ คือ ถ้าหากใบหูใหญ่ปลายหูกลมมน ภายในหูมีขนปกคลุมปิดรูหูเป็นลักษณะของหูสุนัขจิ้งจอก แต่ถ้าหูเล็กสั้นมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ตั้งป้องตรงไปข้างหน้า ปลายหูเบนออกไปทางด้านข้างเล็กน้อย จะเป็นลักษณะของหูหมาไน ซึ่งเป็นที่นิยมกันมาก หูของหมาบางแก้วส่วนมากที่ขอบใบหูจะมีลักษณะเป็นสันเล็ก ๆ มีขนอ่อนปกคลุมอยู่ภายในหู และที่กกหูด้านนอกจะมีขนปุยนุ่มปกคลุมมากบ้างน้อยบ้าง

ตา: มีลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยมคล้ายตาเสือ ที่ทำเป็นเซื่องซึม แต่เมื่อเจอะเจอคนแปลกหน้าจะมีแววดุและเขียวปั๊ด

ปาก: ปากแหลมเรียวกว่าสุนัขไทยทั่ว ๆ ถ้าหากมองจากหน้าหน้าจะสังเกตเห็นว่าหัวกะโหลกลงมายังปากจะแคบสอบลงไปเรื่อย ๆ คล้ายกับสามเหลี่ยม ถ้าหากสีของลำตัวด่างแดงสนิมกับขาวหรือดำขาวบริเวณปากจะมีสีขาวผ่านตลอดใต้คางที่ปลายปาก ซึ่งคล้ายคลึงกับลักษณะของสุนัขจิ้งจอกและหมาไน ซึ่งคนไทยโบราณเรียกว่า ปากคาบแก้ว ถ้าเป็นสีปลอดมักจะไม่มี ฟันแข็งแรง เขี้ยวเล็ก แหลมคม

คอ: ใหญ่ หนา และแข็งแรงมาก เมื่อโตเป็นหมาหนุ่มสาวจะต้องใช้โซ่และปลอกคอที่มีขนาดใหญ่และแข็งแรง เพราะเวลากระโดดหรือกระชากจะได้ไม่ขาดง่าย

หาง: โคนหางใหญ่ โค้งงอไปข้างหน้า ถ้าปลายคางจรดกลางหลังไม่ไพล่ไปข้างใดข้างหนึ่งของลำตัวจะสวยงามมาก ขนที่หางจะยาวตั้งเป็นพุ่มกระจายเป็นพวงโค้งไปข้างหน้า ปลายหางจรดหลัง หางที่ขอดเป็น วงกลมหรือหางที่มีลักษณะอื่นๆ มิได้หมายความว่าไม่ถูกต้องตามลักษณะของหมาบางแก้ว ทั้งนี้เนื่องจากลักษณะของหางที่โค้งงอไปบนหลังนั้นเป็นลักษณะเด่นทางพันธุกรรมของหมาไทย ส่วนหางที่มีลักษณะเป็นพุ่มพวงนั้นเป็นลักษณะเด่นทางพันธุกรรมของหมาไนและหมาจิ้งจอก ด้วยเหตุผลดังกล่าวหมาพันธุ์ บางแก้วส่วนมากจังมีหางโค้งเป็นครึ่งวงกลมหรือวงกลม แต่เป็นพวงสวยงาม
ซึ่งพอสรุปลักษณะเด่นของหากได้ 3 แบบ คือ
  1. หางตั้งโค้งไปข้างหน้า บางตัวหางจะเหยียดตรงวางทาบไปบนหลัง
  2. หางพุ่งไปด้านหลังแล้วโค้งตั้งขึ้นเหมือนหางดาบ ถ้าหางยาวจะโค้งมาจรดหลัง ถ้ายาวมากจะเบี่ยงลงข้าง ถ้าหางเป็นพวงใหญ่มีน้ำหนักมาก หางจะไพล่ห้อยลงข้างตัว ซึ่งส่วนใหญ่หมาบางแก้วจะมีหางลักษณะนี้
  3. หางเป็นพวงลาดแบบแทงดิน ยาวห้อยลงอย่างหางม้า เวลาดีใจ เมื่อเดินทางหรือวิ่งจะ แกว่งหางไปมา เวลายืนหากมั่นใจว่าปลอดภัยจะยกหางสูงขึ้นเลยระดับตัวเล็กน้อย เรียกว่าหางจิ้งจอก
ขน: เนื่องจากหมาบางแก้วเป็นลูกผสมที่มี 3 สายเลือด คือ หมาใน หมาจิ้งจอก และหมาไทยพื้นบ้าน ลักษณะสีขนจึงมีสีดังต่อไปนี้คือ สีน้ำตาลแก่สีขาวปลอด สีดำปลอด สีด่างขาวน้ำตาล สีด่างขาว-ดำ และ สีนาค ซึ่งปัจจุบันนี้คงจะสูญพันธุ์ไปแล้ว หมาบางแก้วยังมีลักษณะเด่นอยู่อย่างหนึ่งคือจะมีจุดแต้มตามลำตัว และที่ขา ถ้าสุนัขสีดำ-ขาว จุดแต้มก็จะมีสีน้ำตาลแดง

ขนตามลำตัว: มีลักษณะเป็นขนสองชั้น ชั้นแรกเป็นขนตามลำตัว เป็นขนที่สั้นและอ่อนนุ่มและหนากว่าขนชั้นที่ 2 ขนชั้นที่ 2 เป็นขนเส้นยาว ๆ เริ่มต้นจากท้ายทอย ผ่านต้นคอแผ่กระจายลงไปถึงหนอกหลัง กลางหลัง และโคนหาง บริเวณนี้มีลักษณะคล้ายอานม้า ขนที่บริเวณอกค่อนข้างหนาคล้ายแผงคอ ขนที่สีข้างค่อนข้างยาว สำหรับลูกสุนัขที่มีอายุประมาณ 1-2 เดือน มักจะมีขนหนาปุกปุยและเส้นละเอียดอ่อนนุ่มมือ

ขาหลัง: จะขนานกัน เอนลาดไปข้างหลังเล็กน้อย บริเวณแก้วก้นหรือต้นขาส่วนใหญ่จะมีขนยาวปุกปุยคล้ายปุยนุ่นปกคลุมบริเวณแก้มก้นและแถบใต้โคนหาง เวลาเคลื่อนไหวจะรับกับหางที่ปัดไปปัดมา

ขา: ขาหน้าเหยียดตรงขนานกัน แต่ค่อนข้างใหญ่กว่าขาหลัง และใหญ่กว่าหมาไทยทั่วๆ ไป บริเวณโคนขาส่วนที่ติดกับลำตัวจะมีขนเส้นยาว ๆ ซึ่งชาวบ้านนิยมเรียกว่า “ขาสิงห์”

นิ้ว: ชิดติดกันที่นิ้วของหมาที่อายุน้อยจะมีขนยาวปกคลุมคล้ายนิ้วเท้าของสุนัขจิ้งจอก ซึ่งต่างกับหมาไทยทั่ว ๆ ไปที่อายุยังน้อย ๆ อยู่นั้น ขนที่นิ้วเท้าจะไม่ยาว จะเริ่มยาวเมื่อมีอายุมากขึ้น เวลาเดินมักจะโหย่งเท้า

ท้อง: ลักษณะท้องจะไม่คอดกิ่วเหมือนหมาไทยทั่วๆ ไป ลำตัวค่อนข้างจะกลมและหนากว่าหมาไทย แต่อกไม่ลึกเท่ากับหมาไทยทั่ว ๆ ไป

หลัง: ค่อนข้างจะแบน

ขนาด: ตัวผู้สูงประมาณ 45-53 เซนติเมตร (19-21 นิ้ว) ตัวเมียสูงประมาณ 43-48 เซนติเมตร (17-19 นิ้ว)               ตัวผู้หนักประมาณ 14-16 กิโลกรัม ตัวเมียหนักประมาณ 13-15 กิโลกรัม

สี: มีหลายสี เช่น สีด่างขาว-ดำ, สีขาว-น้ำตาล, สีขาว-เทา

ลักษณะทั่วไป: เป็นสุนัขขนาดกลาง รูปทรงตั้งแต่ช่วงขาหน้าถึงขาหลังเป็นสามเหลี่ยมจัตุรัส อกกว้างและลึกได้ระดับกับข้อศอก ไหล่กว้าง ท้องไม่คอดกิ่ว ปากแหลม หูเล็ก หางพวง ขนมี 2 ชั้น รักเจ้าของ ฉลาด ปราดเปรียว กล้าหาญ ค่อนข้างดุ สามารถฝึกใช้งานได้ ชอบเล่นน้ำมาก และเกลือกโคนตม

ลักษณะหน้า: สามารถแบ่งได้เป็น 3 แบบคือ

1. ลักษณะหน้าเสือ
ลักษณะใบหน้าดูคล้ายเสือ มีกะโหลกศีรษะใหญ่ หน้าผากกว้าง หูเล็กแบะออกเล็กน้อย แววตา เซื่องซึม และดูดุร้าย เป็นลักษณะของหมาพันธุ์บางแก้วที่ใหญ่ที่สุด บางตัวที่เคยเห็นมาแล้วมีขนาดเท่ากับ สุนักพันธุ์อัลเซเชี่ยนของต่างประเทศ มีขนที่คอเป็นแผง แต่ไม่รอบคอ ไม่มีเคราใต้คาง รูปร่างอาจใหญ่ หรือขนาดกลางก็ได้ มีหางเป็นพวงและมีเป็นพวง ทั้งหางงอและหางม้วน ขนมีทั้งฟูและไม่ฟู มีแผงคอแต่ไม่รอบคอ ลักษณะหน้าเสือถือว่าเป็นเอกลักษณะของหมาบางแก้วอย่างแท้จริง

2. ลักษณะหน้าสิงห์โต
ถ้าหากได้เลือดสุนัขจิ้งจอกมากจะมีลักษณะหน้าแหลม ขนบริเวณแก้มจะพองออกมาเป็นแผงหรือกระบังหน้าคล้ายคลึงกับหน้าสิงห์โต ลักษณะจะมีแผงใหญ่รอบคอ และมีเคราใต้คางยาวลามไปจรดแผงคอตอนล่าง กะโหลกศีรษะเล็ก หูเล็กตั้งตรงรับกับใบหน้าอย่างสวยงาม เมื่อเรามองจากด้านหน้าจะมีลักษณะคล้ายสิงห์โต ปากไม่ใหญ่และไม่เล็กจนเกินไป ช่วงตัวตอนหน้าใหญ่ ช่วงท้ายเล็ก ยามปกติแววตาและ ท่าทางจะเซื่องซึม แต่เมื่อเห็นศัตรูหรือคนแปลกหน้า แววตาและท่าทางจะเปลี่ยนเป็นดุร้ายและคล่องแคล่วว่องไวทันที ลักษณะเท้ายาวอูม ขนยาวหุ้มปลายเท้านิดหน่อย มองดูคล้ายเท้าหมี ขนมีทั้งยาวฟู สั้นฟู หางยาวเป็นพวงและไม่เป็นพวง มีทั้งหางม้วนสูงและม้วนต่ำ ลักษณะนี้นับว่าเป็นพันธุ์ดั้งเดิม ถ้ามีแผงคอใหญ่ หูสั้นและหางพวง และมีสีที่ประน้อยมากแล้ว ก็นับว่ามีสายเลือดที่ยังเข้มข้น น่าเก็บเอาไว้ทำพันธุ์ แต่ก็หายากมาก หลายปีจึงจะมีออกมาสักครั้ง มีการซื้อขายกันในราคาที่แพงพอดู

3. ลักษณะหน้าจิ้งจอก
มีใบหน้าแหลม หูใหญ่กว่าทั้งสองชนิดแรก ใบหูไม่ตรงโย้ออกด้านข้าง มองดูเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ขนอ่อนยาวเรียบ ขนหางเป็นพวง รูปร่างมีทั้งใหญ่ กลาง และเล็ก นิสัยไม่ค่อยดุร้ายเหมือนสองพวกแรก ซึ่งถือว่าหน้าจิ้งจอกเป็นข้อด้อยกว่า 2 พวกแรก
อย่างไรก็ตาม ลักษณะเด่นของหน้าหมาบางแก้วคือที่ปลายปากจะมีสีขาวรอบปาก และสีขาวจากปลายปากมากลางแสกหน้าถึงกะโหลกศีรษะที่เรียกกันว่า “หน้าแบ่ง” หรือ “หน้าแด่น” “ปากคาบแก้ว”
ข้อบกพร่อง: ใบหูพลิ้ว ไม่มีขนแผลรอบคอ ขาหน้าเล็ก ไม่มีแข้งสิงห์ ไม่มีขนคลุมนิ้ว เท้า หูใหญ่ หางขอด ขนหลุดร่วง ฟังบนยื่นกว่าฟันล่างหรือฟันล่างยื่นกว่าฟันบน ปากใหญ่ ตาใหญ่ หูไม่ตั้ง หางไม่เป็นพวง ขนสั้น อัณฑะเม็ดเดียว ฟันหัก 3 ซี่ขึ้นไป โดยไม่ใช่เพราะอุบัติเหตุ หางขาด ปากหู่ ตากลม เส้นหลังแอ่น

ที่มา: http://202.29.80.68/bangkaew/?m=view&cate=3

บางแก้ว (Bangkaew)


สุนัขไทยบางแก้ว เป็น 1 ใน 3 สายพันธุ์ นอกจากนี้บางแก้วยังเป็นสุนัขไทยพันธุ์เดียวในประเทศไทยที่มีขนยาวสองชั้นหางเป็นพวง มีขน ขาหน้าคล้ายขนขาแข้งสิงห์ แผงรอบคอคล้ายสิงโตมีความเฉลียว ฉลาด ไอคิวสูง ซึ่งผู้เขียนคิดว่าคล้ายๆ กับไซบีเรียน ฮัสกี้ แต่เป็น ไซบีเรียน ฮัสกี้ของประเทศไทย


ประวัติความเป็นมาสุนัข ไทยบางแก้ว

ประวัติความเป็นมา ของ สุนัขไทยพันธุ์ บางแก้ว จากข้อมูล ที่ได้สอบถามจากประชาชนตลอดจนผู้เฒ่าผู้แก่ที่บ้านบางแก้ว ต.บางแก้ว บ้านชุมแสงสงคราม ต.ชุมแสงสงคราม อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก พอจะสรุปได้ว่า แหล่งกำเนิดของ สุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว นั้นอยู่ที่ วัดบางแก้ว ต.บางแก้ว อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำยม สภาพภูมิประเทศทั่ว ๆ ไปนั้นยังคงเป็น ป่าพง ป่าระกำ ป่าไผ่ และต้นไม้ชนิดต่าง ๆ ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นเหมาะสำหรับเป็นที่อยู่อาศัย ของสัตว์ป่าชนิดต่าง ๆ ชุกชุม เช่นช้างป่าเป็นโขลง ๆ หมูป่า ไก่ป่า สุนัขจิ้งจอก และหมาใน

หลวงพ่อมาก เมธาวี เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 3 ของวัดบางแก้ว ที่วัดของท่านเลี้ยง สุนัขไว้ไม่ต่ำกว่า 20-30 ตัวซึ่งส่วนใหญ่เป็นสุนัขที่ดุขึ้นชื่อลือชา และชาวบ้านทราบกันดีว่า ใครที่เข้ามาในวัดแต่ละครั้งจะต้องตะโกนให้เสียงแต่ไกล ๆ เพื่อให้พระอาจารย์มาก เมธาวี ท่านช่วยดูหมาเอาไว้ก่อน มิฉะนั้นจะถูกมันไล่กัด ด้วยกิติศักดิ์ในความดุของ สุนัขที่วัดบางแก้วนี้เองจึงมีผู้คนนิยมมาขอลูกสุนัขไปเลี้ยงไว้ เฝ้าบ้าน เฝ้าเรือน เฝ้าเรือ เฝ้าแพ เฝ้าวัว เฝ้าควาย พื้นที่ ๆ สุนัขไทยพันธุ์บางแก้วได้ขยายพันธุ์ไปมากที่สุดก็คือ ต.บางแก้ว ต.ชุมแสงสงคราม อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก แต่ในปัจจุบันได้ขยายวงกว้างออกไป หลายจังหวัด
เหตุผลที่สันนิษฐานว่า สุนัขไทยพันธุ์บางแก้วเป็นสุนัขลูกผสมสามสายเลือด พื้นที่ในเขต ต.บางแก้ว ต.ชุมแสงสงคราม อ.บางระกำ ในอดีตนั้นเป็นป่าดงพงพีที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วย สัตว์ป่านานาชนิดรวม ทั้งสุนัขจิ้งจอก และหมาในอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก โอกาสที่สุนัขจิ้กจอกและหมาในตัวผู้จะมาแอบลักลอบเข้ามาผสมพันธุ์กับสุนัขไทยตัวเมียที่เลี้ยงไว้ในวัดบางแก้วนั้นมีความเป็นไปได้สูงมากทีเดียวเพราะสุนัขป่าทั้งหลายนี้เป็นสุนัขที่กล้าหาญชาญชัย ว่องไว ใจปราดเปรียว แข็งแรง เมื่อมีการผสมข้ามพันธุ์กันตามธรรมชาติ สุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว มีลักษณะดีเด่นปรากฏโฉมออกมาคือ มีขนยาว ขนมีลักษณะเป็นขนสองชั้นคล้ายอานม้า หางเป็นพวงสวยงาม มีขนแผงคอคล้ายแผงคอสิงโต ดุ เฉลียวฉลาด มีไอคิวสูง ไม่แพ้สุนัขพันธุ์ต่างประเทศ

ปู่เทือง คงเจริญ เป็นบุคคลสำคัญที่ร่วมอนุรักษ์ พัฒนา สุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว ปู่เทือง คงเจริญ เป็นลูกศิษย์ของ หลวงปู่มาก เมธาวี ท่านมีบารมีมาก สามารถสะกดรอยตามเท้าสัตว์ได้ สมัยก่อนเดินทางด้วยม้า แล้วมีโจรมาขโมยม้าของหลวงปู่ หลวงปู่มาก ก็ใช้คาถาสะกดรอยตามเท้าสัตว์ จากนั้นไม่กี่วัน ก็ได้ม้ากลับคืนมา หลวงปู่มาก เป็นพระที่มีเมตตาต่อสัตว์ ท่านเลี้ยงสัตว์เป็นจำนวนมาก รวมถึง หมาบางแก้ว ที่เป็นหมาที่มีคุณค่า หลังจากนั้น ปู่เทือง ก็ได้นำหมาบางแก้วมาเลี้ยงไว้ที่หมู่บ้านชุมแสงสงคราม จ.พิษณุโลก และมีการพัฒนาพันธุ์และเผยแพร่ ปู่เทือง คงเจริญเป็นผู้บุกเบิก

รายละเอียดที่ได้จัดทำในส่วนของ บางแก้ว




2009-05-26

4 โรคประจำสุนัขพันธุ์ ปอมเมอเรเนียน

สุนัขแต่ละพันธุ์มีโรคประจำที่แตกต่างกันออกไป เช่น พันธุ์โกลเดน รีทรีฟเวอร์ ก็มีปัญหาโรคข้อสะโพกเสื่อม คอกเกอร์ สเปเนียล ก็พบปัญหาเรื่องโรคหูอักเสบ พูเดิ้ลก็มีปัญหาโรคหัวใจโต ดัลเมเชี่ยนก็เจอโรคหูหนวก ดัชชุนก็มีปัญหาโรคหมอนรองกระดูก ฯลฯ

ปอมเมอเรเนียนก็มีปัญหาเหมือนกัน โดยมี 4 โรคที่ปอมเมอเรเนียนพึงสังวรไว้ คือ

1.โรคลูกสะบ้าเคลื่อน โรคนี้พบได้บ่อยสุด คือ มีอากรเจ็บเข่าจนต้องยกขาไม่ลง ถ้าไม่เป็นมาก ก็รักษาด้วยการกินยา แต่ถ้าเป็นมากต้องพึ่งหมอผ่าตัด

วิธีป้องกัน
  • อย่าปล่อยให้เจ้าปอมของเราอ้วนเกินไป
  • อย่าปล่อยให้เจ้าปอมเมอเรเนียนโดดลงจากที่สูง
  • ไม่ควรปล่อยให้ สุนัขพันธุ์ปอมเมอเรเนียนที่มีปัญหาลูกสะบ้าขยายพันธุ์
  • อย่าเลี้ยงสุนัขในพื้นลื่นๆ เช่น พื้นหินขัด,หินอ่อน หรือแกรนิต
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โรคลูกสะบ้าเคลื่อน

2. โรคหลอดลมตีบ เป็นอีกโรคมักพบบ่อยๆในปอมเมอเรเนียน อาการที่พบ คือ ไอแห้งๆ เสียงดังมาก ซึ่งพบบ่อยเวลาที่ตื่นเต้นหรืออากาสเย็น

วิธีป้องกัน
  • อย่าปล่อยให้มันอ้วนเกินไป
  • พยายามอย่าเลี้ยงปอมเมอเรเนียนในวันที่ ๆ อากาศร้อนและชื้นเกินไป
  • ใช้สายจูงชนิดสายรัดอก แทนที่จะใช้สายจูงกับปลอกคอหรือโซ่คอ 
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โรคหลอดคอตีบ

3. ปัญหาโรคขนร่วง ปัญหาโรคขนร่วงที่พยบ่อยในปอมเมอเรเนียน ก็คือโรค Black Skin หรือ BSD ซึ่งทำให้ผิวหนังไม่มีขนและมีจี้ดำ เกิดจากหลายสาเหตุรวมกัน เช่น โรคไทรอยด์ต่ำ,ZEMA,ไรขี้เรื้อนและเชื้อรา เรียกว่ามีหลายสาเหตุด้วยกัน

วิธีป้องกัน
  • ควรรีบพาสุนัขที่มีปัญหาโรคผิวแห้งไปพบสัตว์แพทย์ เพื่อรีบแก้ปัญหาโดยเร็ว
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โรคขนร่วง

4. โรคหนังตาม้วนเข้า โรคนี้สามารถพบในสุนัขพันธุ์ปอมเมอเรเนียน แต่ไม่พบบ่อยเหมือนสุนัขพันธุ์เชาว์-เชาว์ หรือชาร์ไป่

วิธีแก้ไข
  • ผ่าตัดแก้ไขหนังตาม้วนเข้า

ลักษณะนิสัยของสุนัข ปอมเมอเรเนียน

ปอมเมอเรเนียนเป็นสุนัขที่คล่องแคล่วและเฉลียวฉลาดมาก กล้าหาญและซื่อสัตย์ต่อเพื่อนของมัน ปอมเมอเรเนียนอาจจะมีการตอบสนองที่ไม่ค่อยดีกับเด็กๆ และเนื่องจากที่มันมีขนาดเล็กมันอาจถูกข่มเหงโดยเด็กๆ

ปอมเมอเรเนียนสามารถถูกฝึกให้เป็นสุนัขเฝ้าเวรยามโดยการเตื่อนให้รู้ถึงผู้บุกรุกด้วยเสียงเห่าที่ดังและแหลม โชคไม่ดีที่สุนัขเหล่านี้ขาดการฝึกจึงกลายเป็นที่เลื่องลือเรื่องการเห่าอย่างไม่มีเหตุผลและต่อเนื่อง ด้วยเหตุผลนี้สุนัขเหล่านี้จึงสามารถเป็นเพื่อนที่สร้างความเครียดให้แก่ผู้ที่ไม่ชินกันธรรมชาติของเสียงของมัน

ปอมเมอเรเนียนสามารถปรับตัวอย่างง่ายดายให้เข้ากับชีวิตในเมืองและเป็นสุนัขที่ดีเยี่ยมสำหรับชนบทด้วยสัญชาตญาณนักล่าที่ดีที่มันได้รับมาจากบรรพบุรุษของมัน

ลักษณะของสุนัข ปอมเมอเรเนียน

ลักษณะทั่วไป: ปอมเมอเรเนียนเป็นสุนัขขนาดเล็ก ลำตัวสั้นกระทัดรัด น้ำหนักประมาณ 4-6 ปอนด์ มีการแสดงออกถึงความเฉลียวฉลาด ร่าเริงและตื่นตัวอยู่เสมอ ซื่อสัตย์ รักเจ้าของ ขี้ประจบ แต่เป็นสุนัขค่อนข้างตกใจง่าย เห่ามาก ยิ่งตัวเล็กยิ่งเห่าเก่ง

สัดส่วน: น้ำหนักของปอมฯ โดยเฉลี่ยแล้วจะหนักประมาณ 3-7 ปอนด์ (ประมาณ 1.25-3 กก.) แต่ขนาดที่ดีสำหรับการประกวดนั้นควรหนักประมาณ 4-6 ปอนด์ (1.7-2.5 กก.) ถ้าสุนัขหนักมากกว่าหรือน้อยกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ถือว่าผิดมาตรฐาน รูปร่างของสุนัขมีความสำคัญกว่าขนาดของสุนัข ช่วงตั้งแต่หน้าอกจนถึงสะโพกจะสั้นกว่าหรือเท่ากับส่วนสูงตั้งแต่ช่วงไหล่จนถึงพื้น กระดูกมีขนาดปานกลาง

ศีรษะ: ขนาดของหัวต้องได้สัดส่วนกับลำตัว ช่วงปาก (MUZZLE) สั้นตรง หน้าดูคล้ายกับสุนัขจิ้งจอก (FOXY EXPRESSION) หัวกะโหลกปิด ช่วงบนของหัวกะโหลกจะกลมเล็กน้อยแต่ไม่โหนกนูน ถ้ามองจากด้านหน้าและด้านข้างแล้วจะต้องเห็นหูที่มีขนาดเล็กอยู่ในตำแหน่งที่สูง (HIGH EARSET) และตั้งตรง รูปร่างปากจะมีลักษณะคล้ายรูปลิ่ม(WEDGE SHAPE) เส้นที่ลากจากจมูกไปถึงจุดหัก (STOP) จะต้องอยู่ตรงกลางระหว่างตาทั้งสองข้างและหูทั้งสองข้าง ตามีสีดำสนิท สดใส ขนาดปานกลาง คล้ายเมล็ดอัลมอนด์ (ALMOND SHAPE) สีของจมูกและขอบตาต้องดำสนิท ยกเว้นปอมฯ สีน้ำตาล BEAVER และ BLUE ฟันต้องกัดสบกันพอดี (SCISSORSBITE)

นิสัยและอารมณ์: สุนัขปอมเมอเรเนียนเป็นสุนัขที่เปิดเผย แสดงออกถึงความเฉลียวฉลาด

คอ เส้นหลังและลำตัว: คอค่อนข้างสั้น ตั้งอยู่บนไหล่ ทำให้ช่วงคอตั้งสูง แลดูสง่างาม ช่วงหลังสั้น มีระดับของเส้นหลัง หางมีตำแหน่งที่สูง (HIGH TAILSET) วางราบตรงอยู่บนหลัง

ลำตัวส่วนหน้า: ไหล่จะต้องมีการเอียงลาดลงเพียงพอ เพื่อให้สามารถชูคอและหัวได้สูงและสง่างาม ความยาวของช่วงไหล่และขาตอนบนต้องเท่ากัน ขาหน้าต้องตรงและขนานกัน ความยาวตั้งแต่ไหล่จนถึงข้อศอกต้องมีความยาวเท่ากับข้อศอกถึงพื้น ขาต้องตรงและแข็งแรง ไม่เอียงเข้าหรือเอียงออก

ลำตัวส่วนหลัง: ได้สัดส่วนกับลำตัวส่วนหน้า ตำแหน่งของหางจะต้องอยู่เหนือสะโพกค่อนมาทางด้านหน้าต้นขา ต้องมีกล้ามเนื้อแข็งแรงปานกลาง และมีส่วนหน้าของขาหลัง (STIFLES) มีมุม (ANGULATION) ที่โค้งงอพอสมควรรับกับส่วนน่อง (HOCK) ต้องตั้งฉากกับพื้น ถ้ามองจากด้านหลังขาทั้ง 2 ข้างต้องตรงและขนานกัน เท้ามีลักษณะโค้งมนกระชับ ไม่เอียง สุนัขต้องยืนอยู่ปลายเท้า (TOES) นิ้วติ่ง (DEWCLAWS) ถ้ามีควรตัดออก

การเคลื่อนไหว: การเดินหรือการเคลื่อนไหวต้องเป็นไปอย่างอิสระราบเรียบ นุ่มนวล แลดูแข็งแรง เวลาเดินขาหน้าต้องเหยียดตรงไม่งอพับขึ้น ข้อศอกไม่กางออก ส่วนขาหลังต้องไม่ถ่างออก ขาหลังจะเคลื่อนไปข้างหน้าในจังหวะเดียวกันกับขาหน้าที่เคลื่อนที่ไป

ขน: สุนัขปอมฯ มีขน 2 ชั้น คือ ขนชั้นใน (UNDERCOAT) ต้องนุ่มและแน่น ขนชั้นนอก(OUTTERCOAT) ต้องยาวตรงเป็นประกายและหยาบ ขนชั้นในที่หนาแน่นจะช่วยพยุงขนชั้นนอกให้ฟูไม่ลู่ เหยียดตรง ขนจะต้องหนาแน่นตั้งแต่ช่วงคอ หน้าอก ช่วงไหล่ด้านหน้า ขนช่วงหัวและขาจะแน่นแต่สั้นกว่าขนช่วงลำตัว ขนหางยาว หยาบและเหยียดตรง การตัดแต่งเล็มขนให้ดูสวยงามและดูเรียบร้อยไม่ถือเป็นข้อผิด

สี: สีที่ได้รับการยอมรับและรับรอง ควรได้รับการพิจารณาการตัดสินอย่างเท่าเทียมกัน สีที่ได้รับการยอมรับได้แก่
  1. สีใดๆ ก็ได้ที่ขึ้นเป็นสีเดียวกันทั้งตัว หรืออาจจะมีสีที่อ่อนหรือแก่กว่าแซมอยู่ด้วย (SELT-COLOR)
  2. สีแซมกัน 2 สี (PARTI-COLOR) หมายถึงปอมฯ ที่มีสีขาวและมีสีอื่นแซมเป็นพื้นๆ กระจายเท่าๆ กันทั่วตัว และควรมีแถบสีขาวบนหัวด้วย
  3. สีดำและน้ำตาล (BLACK AND TAN) หมายถึงปอมฯ มีสีดำที่มีสีน้ำตาลอยู่เหนือตาทั้ง 2 ข้างและปาก ลำคอ หน้าอก ใต้หาง ขาและเท้าทั้ง 4 ข้าง สีน้ำตาลนี้ยิ่งเข้มยิ่งดี
  4. BRINDLE ได้แก่ปอมฯ ที่มีพื้น คือ สีทอง แดงหรือส้ม และมีสีดำแซมอยู่ทั่วทั้งตัว
จุดบกพร่อง:
  1. กะโหลกกลม โหนกนูน ฟันล่างยื่น (UNDERSHOT MOUTH) หรือฟันบนยื่นจนเกินไป (OVERSHOT MOUTH)
  2. ข้อเท้าราบกับพื้นมากเกินไป
  3. ขาหลังที่หัวเข่าชิดกัน ปลายเท้าชี้ออก (COWHOCKS) หรือขาหลังที่บกพร่อง
  4. ขนที่นิ่ม เหยียดตรงและแยกออกจนเห็นผิวหนังข้างใน (OPEN COAT)
รายละเอียดที่ได้จัดทำในส่วนของ ปอมเมอเรเนียน

ปอมเมอเรเนียน (Pomerania)

ลักษณะของสุนัข ปอมเมอเรเนียน

ลักษณะนิสัยของสุนัข ปอมเมอเรเนียน

4 โรคประจำสุนัขพันธุ์ ปอมเมอเรเนียน

ปอมเมอเรเนียน (Pomerania)

ปอมเมอเรเนียนเป็นสุนัขพันธุ์เล็ก มีขนนุ่มปุกปุย มีหัวเป็นรูปลิ่ม หูตั้งชี้ขึ้น บรรพบุรุษปอมเมอเรนียนย้อนกลับไปถึงยุคก่อนคริสตกาล พบภาพวาดในแผ่นหินและรูปหล่อสัมฤทธิ์ตามโลงศพที่พบในอียิปต์ พบโครงกระดูกสุนัขพันธุ์เล็กคล้ายพันธุ์ปอมเมอเรเนียน ในอุโมงค์ที่บรรจุศพสมัยโบราณของชาวอียิปต์

เชื่อกันว่า ปอมเมอเรเนียนได้รับการพัฒนาให้เป็นปอมเมอเรเนียนในปัจจุบันครั้งแรกที่เมืองปอมเมอเรเนีย ประเทศเยอรมัน ตั้งอยู่ในยุโดรเหนือแถบทะเลบอลติก ดินแดนกว้างใหญ่จากตะวันตกของเกาะรูเกนถึงแม่น้ำวิทูลา ที่แห่งนี้มีการเลี้ยงสุนัขอย่างแพร่หลาย ทั้งเพื่อให้เป็นสัตว์และเพื่อให้เป็นสุนัขอารักขา ปอมเมอเรเนียนมีต้นกำเนิดจากพันธุ์สปิทซ์ในสมัยโบราณ บางคนเชื่อว่าสุนัขปอมเมอเรเนียนพัฒนาจากสุนัขพันธุ์ซามอยด์ ซึ่งมีต้นกำเนิดอยู่ที่ตอนเหนือของประเทศรัสเซียแถบไซบีเรีย บางคนเชื่อว่าพัฒนามาจากสุนัขป่า ซึ่งอาศัยอยู่ตามถ้ำในประเทศเยอรมัน และถูกนำมาใช้เป็นสุนัขเลี้ยงแกะในทวีปยุโรปตอนกลางและตอนล่าง นำมาพัฒนาในยุโรปเพื่อช่วยในการเลี้ยงแกะ ซึ่งบรรพบุรุษของปอมฯ น่าจะมีน้ำหนักมากถึง 30 ปอนด์ บางคนเชื่อว่าสุนัขปอมฯ มีต้นกำเนิดมาจากประเทศกรีซ โดยอ้างหลักฐานจากภาพวาดสมัยโบราณหลายภาพที่มีอายุ 400 ปีก่อนคริสตกาล หรือเกือบประมาณ 2500 ปีมาแล้ว มีภาพของสุนัขขนาดเล็กที่มีรูปร่างลักษณะเหมือนสุนัขปอมฯ ในปัจจุบัน คือ Stop ที่เด่นชัด ช่วงปากแหลม หูสั้น ลักษณะการเดินและการแสดงออกเหมือนกับที่พบได้ในปัจจุบันทุกประการ ยกเว้นแต่ตำแหน่งของหางที่อยู่ต่ำเกินไปเท่านั้น แสดงว่าสุนัขพันธุ์นี้มีขนาดเล็กมากตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว ไม่ใช่เพิ่งพัฒนาให้มีขนาดเล็กลงเมื่อ 40-50 ปีที่ผ่านมาตามที่มีคนในประเทศอังกฤษอ้างเสมอ ประมาณปี 1800 สมเด็จพระราชินีวิคตอเรีย ทรงมีความชื่นชอบในสุนัขพันธุ์ปอมเมอเรเนียนและส่งสุนัขของพระองค์ลงประกวด ทำให้เกิดความนิยมปอมเมอเรเนียนอย่างแพร่หลายในประเทศอังกฤษ และเพราะความที่พระองค์โปรดปรานสุนัขที่มีขนาดเล็ก ผู้เพาะพันธุ์หลายคนเริ่มที่จะคัดสุนัขที่มีขนาดเล็ก ปัจจุบันปอมฯ ที่เราเห็นอยู่มีขนาดที่เล็กลงจากปอมฯ ที่เป็นต้นตำรับ 4-5 ปอนด์
ความฉลาดและความสามารถของปอมฯ ทำให้สุนัขพันธุ์นี้เป็นพระเอกในคณะละครสัตว์อย่างต่อเนื่อง ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในเยอรมัน นิยมเลี้ยงกันเป็นฝูง บางแห่งทำเป็นสุนัขลากเลื่อนก็มี ปอมฯ เข้าสู่อังกฤษช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 และได้รับความนิยมอย่างสูง เช่น มีการตั้งชมรมคือ English Pomeranian Club ในปี 1891 ภายหลังสมเด็จพระราชินีวิคตอเรียทรงออกงานพร้อมสุนัขพันธุ์นี้บ่อยครั้ง ทำให้สุนัขพันธุ์นี้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว ส่วนในประเทศอเมริกามีการปรากฎตัวครั้งแรกของปอมเมอเรเนียนที่งานกระกวดสุนัขแห่งหนึ่งประมาณปี 1892 ไม่กี่ปีหลังจากนั้นมีการสั่งนำเข้าอีกเกือบ 200 ตัว มาตรฐานของปอมฯ โดยทั่วไป รูปรางจะเหมือนสุนัขจิ้งจอก มีขนาดกลาง ตาเป็นวงรีสีดำ หูเล็กตั้งตรง ลำตัวสั้นขนาดกระทัดรัด หางเป็นพวงแผ่อยู่บนส่วนหลัง

รายละเอียดที่ได้จัดทำในส่วนของ ปอมเมอเรเนียน

ปอมเมอเรเนียน (Pomerania)

ลักษณะของสุนัข ปอมเมอเรเนียน

ลักษณะนิสัยของสุนัข ปอมเมอเรเนียน

4 โรคประจำสุนัขพันธุ์ ปอมเมอเรเนียน

โรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อยีสต์ (Malasseziosis)

สาเหตุ

เกิดจากยีสต์ที่มีชื่อว่า Malassezia pachydermatis พบในสัตว์ที่มีผิวหนังเปียกชื้น อับชื้น ผิวหนังมันเกือบตลอดเวลา และเชื้อนี้เป็นเชื้อที่ฉวยโอกาส มักเกิดแทรกซ้อนในสัตว์ที่เป็นโรคผิวหนังแบบอื่นๆได้ง่าย


สายพันธุ์ที่พบบ่อยและปัจจัยโน้มนำ

มักพบในสุนัขมากกว่าในแมว สายพันธุ์ที่มักพบได้บ่อยๆ ได้แก่ ไวท์เทอเรีย พุดเดิ้ล บาสเซสฮาวนด์ คอกเกอร์ ดัชชุน


อาการและความรุนแรงของโรค

สัตว์จะมีอาการคัน ผิวหนังเป็นผื่นแดง ขนร่วง มีสะเก็ดรังแค มีคราบเหนียวๆ เยิ้มๆ ที่ผิวหนัง มักพบที่บริเวณ รอบริมฝีปาก ลำคอ อุ้งเท้า ขาหนีบ ใบหู ในรูหู และ ขี้หูมีสีเหลืองเหนียวๆ และในรายที่เป็นเรื้อรัง จะพบผิวหนังบริเวณนั้นเปลี่ยนสี เนื่องจากมีเม็ดสีไปสะสมมากขึ้น



การตรวจวินิจฉัยโรค

วิธีการวินิจฉัยที่ง่าย และได้ผลที่ค่อนข้างถูกต้อง รวดเร็ว คือ การย้อมตรวจเซลล์ โดยเซลล์ที่นำไปย้อมนั้นอาจได้มาจากการขูดตรวจ หรือใช้สก๊อตเทปแปะที่บริเวณรอยโรค จากนั้นนำมาย้อมเซลล์แล้วตรวจโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ ส่วนวิธีอื่นๆ ได้แก่ การเพาะเชื้อ และ การนำชิ้นเนื้อที่ได้จากรอยโรคที่ผิวหนังไปตรวจทางพยาธิวิทยา ซึ่งวิธีเหล่านี้จะค่อนข้างยุ่งยาก และใช้ เวลาค่อนข้างนาน แต่จะมีแม่นยำในการวินิจฉัยค่อนข้างมาก


การรักษาโรค

การรักษามี 2 วิธี คือ วิธีการรักษาเฉพาะที่ และการรักษาทางยา การรักษาเฉพาะที่ วิธีที่นิยมใช้ คือ การใช้แชมพูฆ่าเชื้อยีสต์ในการอาบน้ำ โดยใช้ฟอก 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ สำหรับการรักษาทางยานั้นจะใช้ยาฆ่าเชื้อยีสต์ อย่างน้อย 3-8 อาทิตย์ และถ้าใช้ร่วมกันทั้ง 2 วิธีจะทำให้การรักษาได้ผลดียิ่งขึ้น

ที่มา: สัตว์แพทย์ 4 โพลีคลินิก

โรคขนร่วง

เจ้าของสุนัขหลายท่านคงพบปัญหาเกี่ยวกับสุนัขขนร่วง โดยอาจพบร่วงบริเวณเฉพาะแห่ง บนหนังส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือกระจัดกระจายทั่วไปตามส่วนต่างๆของร่างกายบางครั้ง อาจพบว่าผิวหนังบริเวณที่ขนร่วง มีอาการเป็นผื่นแดงๆ มีหนองคลุม

ทั้งนี้ถ้าเกิดการติดเชื้อหลายชนิด ปัญหาดังกล่าวสร้างความหนักใจให้เจ้าของสุนัข และวิธีการแก้ไขค่อนข้างยาก เนื่องจากปัญหาขนร่วงของสุนัขมีหลายสาเหตุ ในที่นี้จะกล่าวถึงสาเหตุที่มาของการขนร่วงของสุนัขอย่างกว้างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดดารป้องกัน ให้ปัญหาต่างๆลดลงหรือหมดสิ้นไป


ขนร่วงเนื่องจากการผลัดขน 

สุนัขทุกตัวต้องการผลัดขนเมื่ออายุได้ประมาณ 4 เดือน ผู้เลี้ยงสุนัขจะสังเกตเห็นได้ว่าลูก สุนัขอายุน้อยมักมีขนปุกปุย อ่อนนุ่ม ขนเหล่านี้จะค่อยๆร่วงหลุดไปทีละน้อยเมื่อสุนัขย่างเข้าเดือนที่ 4 ในขณะเดียวกันก็จะพบว่ามีขนใหม่ที่มีลักษณะแข็งเป็นมันกว่างอกแซมขึ้นมาแทนที่ เจ้าของสุนัขบางท่านอาจผิดหวังที่สุนัขของท่านที่ซื้อมาตอนเล็กๆ น่ารักขนพองฟู อ่อนนุ่มแต่ต่อมาหลังจากผลัดขนแล้วพบว่าไม่สวยน่ารักอย่างที่คาดไว้

ขนร่วงเนื่องจากสุขภาพทั่วไปของร่างกาย 

แม่สุนัขที่กำลังให้นมเลี้ยงลูก หรือหลังอย่านมลูกใหม่ๆ มักพบว่ามีอาการขนร่วงอาจร่วงทั้งตัว ทั้งนี้ในระหว่างให้นมลูกสภาพสมดุลของธาตุอาหารต่างๆ ในร่างกายของแม่สุนัขเสียไป สุขภาพโดยทั่วไปเสื่อมโทรมแต่ขนจะกลับงอกเข้าสู่สภาพเดิมในเวลาต่อมา อย่างไรก็ตามอาจพบว่าสุนัขบางตัวมีอาการติดเชื้อที่ผิวหนัง และมีอาการโรคผิวหนังติดเชื้อตามมาก็ได้

สุนัขที่ร่างกายได้รับอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

เช่นป่วยเป็นโรคเรื้อรังบางชนิด กินอาหารได้น้อย หรือคุณภาพอาหารที่ใช้เลี้ยงสุนัขไม่เหมาะสม ก็อาจทำไห้ขนร่วงได้โดยเฉพาะพยาธิในลำไส้ คอยแย่งอาหาร และรบกวนการย่อยดูดซึมอาหารที่กินเข้าไป ก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้สุนัขขนร่วงได้ สุนัขที่มีพยาธิปากขอจะทำอันตรายต่อสุนัขโดย ทำให้เกิดแผลที่ลำไส้เลือดไหลไม่หยุด สุนัขเสียเลือดมากโลหิตจางสุขภาพเสื่อมโทรมและอาจถึงตายได้


ขนร่างเนื่องจากเชื้อรา

มีเชื้อราหลายชนิดที่ทำให้เกิดอาการขนร่วงในสุนัขโดยธรรมชาติแล้ว เชื้อราจะเจริญเติบโตที่ผิวหนังชั้นนอกและขน เชื้อราจะไม่เข้าไปในเซลและไม่กระจายลึกลงไปใต้ผิงหนังเพราะชื้อราไม่สามารถดำรงอยู่ได้ ในระหว่างที่เชื้อรากำลังเจริญเติบโตขยายจำนวนจะปล่อยสารพิษออกมาทำให้ขนและโพรงที่รูขนอักเสบทำให้เส้นขนหลุดขาด 

ดังนั้นอาการขนร่วงเนื่องจากเชื้อราจึงมีลักษณะขนร่วงเป็นวงตรงกลาง ไม่มีขนเหลือมีแต่โคนสั้นๆ ผิงหนังมีสีแดง และอาจมีหนองคลุม เชื้อราที่พบบ่อบเป็นเชื้อราจำพวก Trichophyton mentageophys. Microsprum canis และ -Microsporum gypseum. เชื้อราหลายชนิดติดต่อถึงคนได้


ขนร่วงเนื่องจากติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง

มีเชื้อแบคทีเรียบางชนิดทำให้เกิดการอักเสบ มีหนองที่ผิวหนัง ทำให้ขนร่วงมีหนองคลุมหรือเป็นตุ่มหนองในขั้น หรือใต้ผิวหนัง ในปัจจุบันพบเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus intemedius เป็นตัวแทนที่มีบทบาทสำคัญที่สุด หลังจากนั้นอาจพบเชื้อแบททีเรียพวกอื่นเข้าร่วมภายหลัง
การอักเสบของหนองแบ่งได้ 3 แบบคือ
  1. อักเสบมีหนองที่ผิวหนังชั้นนอก มักจะพบการติดเชื้อภายหลัง หลังจากที่เกิดบาดแผลที่ผิวหนังอาจสืบ เ นื่องจากการกระทบกระแทกหรือการแปรงขนผิดวิธี นอกจากนี้ผิวหนังของร่างกายบางส่วน มีลักษณะยับย่น เช่นผิงหนังส่วนหน้าของ สุนัขพันธุ์หน้าสั้นจะมีโอกาสเกิดผิวหนังอักเสบติดเชื้อได้ง่าย
  2. อักเสบมีหนองที่ผิวหนังชั้นกลาง อาจเกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อม พื้นที่อยู่อาศัยไม่สะอาดรากขนมีการอักเสบ หรือผิวหนัง อักเสบเนื่องจากเชื้อขี้เรื้อนแล้วมีการติดเชื้อแบททีเรียตามเข้ามา
  3. อักเสบเป็นหนองที่ผิวหนังชั้นในหรือใต้ผิวหนัง มักเกิดจากความผิดปกติชนิดอื่นก่อนแล้วมีการติดเชื้อแบททีเรียตามเข้าไป โรคที่เป็นตัวนำ หรือตัวพาให้เชื้อเข้าไปนั้นได้แก่ ขี้เรื้อนดีโมเดกซ์แบบเป็นกระจายทั่วไป ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันโรค การติดเชื้อราบางชนิด และโรคที่ทำไห้เกิดความผิดปกติของผิวหนังอื่นๆ

ขนร่วงจากผิวหนังเกิดอาการแพ้

เช่นแพ้หมัด แพ้เห็บ ที่เป็นปรสิตอาศัยอยู่ตามผิวหนังและขนสุนัข นอกจากจะคอยดูดเลือดรบกวนสัตว์เลี้ยงแล้วปรสิตดังกล่าวยังปล่อยสารเป็นพิษทำไห้ผิวหนังสุนัขเกิดอาการแพ้ ระคายเคืองเป็นผื่นคัน สุนัขจะเกา และขนร่วงบางครั้งอาจเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียอื่นเข้าร่วม บริเวณอักเสบขยายตัวทำให้รักษายากเพราะมีการติดเชื้อหลายชนิด

นอกจากพิษจากเห็บ หมัดทำให้สุนัขขนร่วงแล้ว สุนัขอาจแพ้สิ่งต่างๆที่อยู่ตามกรง คอก หรือบริเวณที่สัตว์อาศัย นอกจากนั้นวัสดุที่นำมาเป็นที่รองให้สัตว์นอนจำพวกเศษผ้า เศษพรม นุ่นขนสัตว์ต่างๆ อาจทำให้สุนัขบางตัวเกิดอาการแพ้


ขนร่วงเนื่องจากเชื้อขี้เรื้อน

ขี้เรื้อนในสุนัขเกิดจากสิ่งมีชีวิตจำพวกไร ซึ่งมีขนาดเกไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีไรหลายชนิดทำให้เกิดโรคผิวหนังคัน ขนร่วงในสุนัขบางชนิดอาศัยอยู่ที่ผิวหนัง หรือในชั้นใต้ผิวหนังไม่ลึกนักและปล่อยสิ่งขับถ่าย ทำให้ผิวหนังระคายเคือง ผิวหนังจะเกิดอาการแพ้ เนื่องจากน้ำลายของไรที่ขับออกมา ไรพวก Sarcoptes ไม่สามารถเจริญเติบโตบนผิวหนังมนุษย์ได้ แต่จะสามารถอาศัยอยู่ชั่วคราว ส่วนขี้เรื้อนจำพวก Demodex จะสามารถอาศัยอยู่ในโพรงรูขน ทำให้การใช้ยาทาไม่ค่อยได้ผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากการติดเชื้อแบบแพร่กระจายทั่วร่างกาย ทั้งนี้เพราะสุนัขที่ติดเชื้อในลักษณะดังกล่าว มักเกี่ยวข้องกับสภาพภูมิคุ้มกันโรคไม่เพียงพอ ซึ่งถ่ายทอดทางพันธุกรรม ดังนั้นสุนัขดังกล่าวจึงไม่ควรใช้ทำพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์
โดยทั่วไปสุนัขที่เกิดจากแม่ที่เป็นขี้เรื้อนชนิด Dedomax จะติดเชื้อตั้งแต่ 2 - 3 วันแรกที่เกิดแต่ตัวเชื้อขี้เรื้อนยังไม่เพิ่มจำนวน เพราะร่างกายลูกสุนัขยังมีความต้านทานโรคอยู่ ต่อเมื่อความต้านทานโรคลดลงเชื้อจะขยายจำนวน ทำให้เกิดโรคซึ่งพบเมื่อลูกสุนัขอายุระหว่าง 3 -10 เดือน เนื่องจากอาการขนร่วงในสุนัข มีสาเหตุมากมายหลายประการ ดังนั้นการรักษา อาการขนร่วงจึงต้องอาศัยการวินิจฉัยอย่างรอบคอบ นอกจากนี้ยังจำเป็นจะต้องใช้วิธีตรวจโรคในห้องปฏิบัติการ อย่างไรก็ ตามทีเจ้าของสุนัข ได้เข้าใจถึงสาเหตุของโรคก็เป็นการช่วยให้ข้อมูลแก่สัตว์แพทย์ ผู้รักษาได้ละเอียดขึ้นรวมทั้งวิธีปฏิบัติ ต่อสัตว์ที่ขนร่วงได้ถูกต้องและหายเร็วขึ้น นอกจากนี้การได้รู้และเข้าใจถึงสาเหตุที่มาของการเกิดโรคจะช่วยให้เจ้าของดูแลป้องกันการเกิดปัญหาดังกล่าวได้.

ที่มา: http://www.pantown.com/content.php?id=10317&name=content1